Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/550
Title: ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสังคมศึกษา ด้วยการฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Other Titles: Effects of critical thinking oriented social studies instruction on the learning achievement and problem solving ability of mathayomsuksa one students
Authors: พลกฤช ตันติญานุกูล, 2522-
Advisors: วลัย พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Walai.P@Chula.ac.th
Subjects: สังคมศึกษา--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การแก้ปัญหา
นักเรียนมัธยมศึกษา
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสังคมศึกษาด้วยการฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณและกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยวิธีปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสังคมศึกษาด้วยการฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณและกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยวิธีปกติ ตัวอย่างประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2547 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องที่ 1 มีนักเรียน 35 คน เป็นกลุ่มทดลอง และห้องที่ 2 มีนักเรียน 36 คน เป็นกลุ่มควบคุม ผู้วิจัยดำเนินการสอนทั้งสองกลุ่มด้วยตนเอง ใช้เวลาสอนกลุ่มละ 2 คาบต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 7 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสังคมศึกษาด้วยการฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสังคมศึกษาด้วยการฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to compare social studies learning achievement of mathayomsuksa one students being taught by critical thinking oriented social studies instruction to that of students being taught by conventional instruction. 2) to compare the problem solving ability of mathayomsuksa one students being taught by critical thinking oriented social studies instruction to that of students being taught by conventional instruction. The samples were 71 of mathayomsuksa one students form Mathayomwatdusitaram School, Bangkok in the academic year 2004. There were two groups: 35 students in experimental group and 36 students in controlled group. The researcher taught each group 2 periods per week totally 7 weeks. There were two set of research instruements: the social studies learning achievement test and the problem solving ability test. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation (S) and t-test. The research results revealed that: 1. Social studies learning achievement of mathayomsuksa one students being taught by critical thinking oriented social studies instruction was higher than that of students being taught by conventional instruction at the .05 level of significance. 2. Problem solving ability of mathayomsuksa one students being taught by conventional instruction at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนสังคมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/550
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.833
ISBN: 9745310921
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.833
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ponklit.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.