Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55310
Title: การวิเคราะห์โมเดลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานในประชาคมอาเซียน: การประยุกต์ใช้โมเดลมูลค่าเพิ่มและวิธีการประมาณค่าความสามารถ
Other Titles: AN ANALYSIS OF QUALITY ASSESSMENT MODELS OF SCIENCE EDUCATIONAL PROVISION FOR BASIC EDUCATION IN THE ASEAN COMMUNITY: AN APPLICATION OF VALUE-ADDED MODEL AND ABILITY ESTIMATION METHODS
Authors: พัชรินทร์ เหสกุล
Advisors: โชติกา ภาษีผล
ประกฤติยา ทักษิโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Aimorn.J@chula.ac.th,aimornj@hotmail.com
t_prakit@hotmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์คะแนนรวมความสามารถด้านวิทยาศาสตร์โดยใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบ (IRT) 2) เพื่อเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการประมาณค่าคะแนนรวมและคะแนนย่อยความสามารถระหว่างวิธีคะแนนย่อยเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (WAS) และวิธีลำดับที่สูงของโมเดลการตอบสนองข้อสอบ (HO-IRT) 3) เพื่อวิเคราะห์โมเดลประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยการวิเคราะห์โมเดลมูลค่าเพิ่ม ที่ใช้คะแนนรวมความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ที่ต่างกัน และ 4) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ฐานข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลจากโครงการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นานาชาติ ปี พ.ศ. 2554 (TIMSS 2011) ด้านวิทยาศาสตร์ใน 4 สาขาคือ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์โลก โดยศึกษาข้อมูลใน 4 ประเทศ คือ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย มีสถานศึกษา 670 แห่ง นักเรียน 23,554 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบวิชาวิทยาศาสตร์จำนวน 14 ฉบับ แบบสอบถามสำหรับนักเรียน และแบบสอบถามสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์คะแนนความสามารถด้านวิทยาศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ ขั้นตอนที่ 2 การเปรียบเทียบวิธีประมาณค่าคะแนนรวมและคะแนนย่อยความสามารถด้วยวิธี WAS และวิธี HO-IRT ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์โมเดลประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา โดยประยุกต์ใช้โมเดลมูลค่าเพิ่ม ด้วยโมเดลเชิงเส้นตรงแบบลดหลั่น (HLM) ด้วยการวิเคราะห์ 2 ระดับ ระดับนักเรียนและระดับสถานศึกษา และขั้นตอนที่ 4 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพโมเดลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 4 โมเดล ได้แก่ โมเดล 1 เป็นโมเดลที่ประมาณค่าความสามารถด้วย IRT และไม่มีการควบคุมอิทธิพลของตัวแปร โมเดล 2 เป็นโมเดลที่ประมาณค่าความสามารถด้วย IRT และมีการควบคุมอิทธิพลของตัวแปร โมเดล 3 เป็นโมเดลที่ประมาณค่าความสามารถด้วยวิธี HO-IRT และไม่มีการควบคุมอิทธิพลของตัวแปร โมเดล 4 เป็นโมเดลที่ใช้การประมาณค่าความสามารถด้วยวิธี HO-IRT และมีการควบคุมอิทธิพลของตัวแปร ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการประมาณคะแนนรวมความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในแต่ละประเทศ พบว่า ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในช่วง -0.99 ถึง 0.00 มีลักษณะการแจกแจงของข้อมูลแบบเบ้ขวา มีประเทศสิงคโปร์เพียงประเทศเดียวที่นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในช่วง 0.01 ถึง 0.99 มีลักษณะการแจกแจงของข้อมูลแบบเบ้ซ้าย 2) ผลการเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการประมาณค่าคะแนนรวมและคะแนนย่อยความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และรายสาขา ระหว่างวิธี WAS และวิธี HO-IRT พบว่า ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนมาตรฐานวิธี HO-IRT ให้ผลการประมาณค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานจากการวัดน้อยกว่าวิธี WAS ในด้านวิทยาศาสตร์และทุกรายสาขาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ผลการวิเคราะห์โมเดลประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา พบว่า ในระดับนักเรียนมีตัวแปรที่ส่งผลทางบวกต่อความสามารถด้านวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญของทุกประเทศคือ ผลสัมฤทธิ์การเรียนที่ผ่านมา และแรงจูงใจภายในในการเรียนวิทยาศาสตร์ และตัวแปรที่ส่งผลทางลบ คือ เพศหญิง และความสนใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในระดับสถานศึกษามีตัวแปรที่ส่งผลทางลบต่อความสามารถด้านวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญของทุกประเทศคือ สถานศึกษามีครอบครัวนักเรียนเศรษฐานะด้อยโอกาส 4) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดล พบว่า โมเดล 2 และโมเดล 4 ให้ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาได้ดีกว่าโมเดล 1 และโมเดล 3 ซึ่งโมเดล 2 และโมเดล 4 เป็นโมเดลที่สามารถอธิบายความผันแปรและได้คะแนนมูลค่าเพิ่มใกล้เคียงกันและมีความสัมพันธ์กันสูงในการจัดกลุ่มคุณภาพ และการจัดระดับคุณภาพของสถานศึกษา แต่การประมาณค่าความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี HO-IRT ได้ผลการประมาณค่าความสามารถที่มีประสิทธิภาพดีกว่าวิธี IRT ดังนั้นโมเดล 4 จึงมีประสิทธิภาพดีกว่าโมเดล 2
Other Abstract: This research aimed to 1) analyze the science ability of the students after using item response theory (IRT), 2) compare the standard error of total score and subscore, and the ability of weighted average of subscore (WAS) and higher order item response model scoring (HO-IRT), 3) analyze the quality assessment model of science educational provision for Basic Education by value-added model of different science ability, and 4) compare the efficiency of quality assessment model of science educational provision. Database from Trend International Math and Science Study 2011 (TIMSS 2011) in 4 branches of science: biology, chemistry, physics, and earth science. The study was manipulated in 4 countries of ASEAN members consisted of Indonesia, Malaysia, Singapore, and Thailand from 670 schools and 23,554 students. The research instruments were 14 science achievement tests, questionnaire for students, and questionnaire for administrators. The research was classified into 4 phases. The first phase was to analyze the science ability using IRT. The second phase was to compare the total score and subscore using WAS and HO-IRT. The third phase was to analyze the quality assessment model of science educational provision by value-added model of hierarchical linear model (HLM). The fourth phase was to compare the efficiency of quality assessment model of science educational provision. The study composed of 4 models. The first model used IRT for estimating the science ability with no variable control. The second model used IRT for estimating the science ability with variable control. The third model used HO-IRT for estimating the science ability with no variable control. And the fourth model used HO-IRT for estimating the science ability with variable control. The research findings were as follow. 1) The estimation of science ability of students in Indonesia, Malaysia and Thailand gained the ability in -0.99-0.00 with positively data distribution. Only in Singapore, the students gained the ability in 0.01-0.99 with negatively data distribution. 2) The comparison of standard error between total score and subscore using WAS and HO-IRT found that the average of standard error by HO-IRT was significantly less than WAS at the level of 0.01. 3) The analysis of quality assessment model of science educational provision found that the variable of the students positively affected the science ability of the students in all countries were the past achievement test, intrinsic motivation of science and the variables that affected the negative learning achievement were gender (female) and interesting of science. In a school, the variables affected significantly negative to science ability in all countries was a more student from disadvantaged socioeconomic status. 4) The comparison on the efficiency of quality assessment model found that Model 2 and Model 4 gained more efficiency than Model 1 and Model 3. Model 2 and model 4 were able to describe the variance and gained nearly added-value and highly relation in quality grouping and rating, but the estimation of science ability by HO-IRT gained more efficiency than IRT. This can be concluded that Model 4 affected more efficiency than model 2.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55310
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.196
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.196
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484466427.pdf10.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.