Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55324
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ | - |
dc.contributor.advisor | ชญาพิมพ์ อุสาโห | - |
dc.contributor.author | สุพรรณี อัครเดชเรืองศรี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:35:29Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:35:29Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55324 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสม โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิประเมินกรอบแนวคิดจำนวน 5 คน ประเมินเครื่องมือการวิจัย จำนวน 5 คน ประเมินร่างกลยุทธ์จำนวน 20 คน และประชุมกลุ่มจำนวน 11 คน ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 91 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบประเมินร่างกลยุทธ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิค PNImodified ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนประกอบด้วย (1) การบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาประกอบด้วย นโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารงาน การจัดกระบวนการเรียนรู้ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมและเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา (2) ผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนประกอบด้วย ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสังคม ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจ ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านวิธีการเชิงระบบ 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน มีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน มีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์สูงกว่าสภาพปัจจุบันทุกด้าน 3) จุดแข็ง ได้แก่ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมและเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา จุดอ่อน ได้แก่ นโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างบริหารจัดการ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โอกาส ได้แก่ ด้านการเมืองและนโยบายของรัฐ และด้านเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ และสังคม 3) กลยุทธ์การการบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ (1) พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (2) พัฒนานโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการมุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (3) พัฒนาการมีส่วนร่วมและเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมศึกษามุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (4) พัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน | - |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to 1) study the conceptual framework of eco schools management focus on learning outcomes towards sustainable development, 2) examine the current and desirable states of eco schools management focus on learning outcomes towards sustainable development, 3) study the strengths weaknesses opportunities and treats of eco school management focusing on learning outcomes towards sustainable development, and 4) develop management strategies for eco schools focusing on learning outcomes towards sustainable development. The mixed methods were used for this research. Five experts evaluated the conceptual framework, and the research tools. Twenty experts evaluated the strategy draft and eleven experts attended the Focus group. The research populations were 91 eco schools. The key informants were the administrators and teachers. The research tools consisted of the conceptual framework evaluation form, the strategy draft evaluation form, and the questionnaires. Data were analyzed with the descriptive statistics on frequency, percentage, mean, standard deviation and PNI modified . The research results found that: 1) the conceptual framework of eco schools management focus on learning outcomes towards sustainable development consisted of (1) Eco Schools Management comprising Environmental Education Policy and Management Structure, The learning process, Natural Resources and Environment Management, Participation and networking on environmental education; (2) Learning Outcomes towards Sustainable Development consists of Learning outcomes on the environment, Learning outcomes on the social, Learning outcomes on the economic aspect, Learning outcomes on the systematic approaches; 2) The current condition had a moderate mean. The desirable condition had the high mean which appeared higher than the current condition in every aspect. 3) The strengths were the learning process and participation and networking on environmental education. The weaknesses were environmental education policy and management structure. The opportunities were politics and technologies. The threats were economy and society. 4) The Eco schools management strategies for eco schools focusing on learning outcomes towards sustainable development concept could be done by: 1) developing the learning process focusing on learning outcomes towards sustainable development; 2) developing environmental education management policy and structure focusing on learning outcomes towards sustainable development; 3) developing participation and environmental network focusing on learning outcomes towards sustainable development, 4) developing the management of natural resources and environment focusing on learning. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.509 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน | - |
dc.title.alternative | MANAGEMENT STRATEGIES FOR ECO-SCHOOLS FOCUSING ON LEARNING OUTCOMES TOWARDS SUSTAINABLE DEVELOPMENT | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Pruet.S@Chula.ac.th,Pruet.S@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Chanyapim.U@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.509 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584228527.pdf | 11.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.