Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55398
Title: โขนพระราชทาน: การสืบทอดและการสร้างสรรค์บทโขนแก่ผู้ชมร่วมสมัย
Other Titles: THE ROYAL KHON PERFORMANCE: CONTINUITY AND CREATION OF BOT KHON FOR CONTEMPORARY AUDIENCE
Authors: ณัฐกานต์ พลพิทักษ์
Advisors: ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Cholada.R@Chula.ac.th,cholada.r@chula.ac.th
Subjects: โขน
บทละคร
Khon (Dance drama)
Drama
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษากลวิธีการสืบทอดและการสร้างสรรค์บทการแสดงโขนพระราชทาน และศึกษาบทบาทของบทการแสดงโขนพระราชทานที่มีต่อการแสดงโขนของไทย ผลการศึกษาพบว่า บทการแสดงโขนพระราชทานมีลักษณะเป็นบทการแสดงโขนฉาก คือ มีการแบ่งฉากการแสดงตามเนื้อเรื่อง มีการใช้บทการแสดงที่ประกอบด้วยบทร้อง บทเจรจา บทพากย์ การกำกับเพลงร้อง และการกำกับเพลงหน้าพาทย์ และมีการบรรจุเพลงแบบละเอียด โดยกำกับเพลงร้องและเพลงหน้าพาทย์ในทุกจุดของบทการแสดง เมื่อวิเคราะห์บทการแสดงของโขนพระราชทานแล้ว สามารถแบ่งได้เป็นส่วนของเนื้อเรื่องและการปรุงบทการแสดง ในด้านเนื้อเรื่อง พบว่าเนื้อเรื่องในบทการแสดงโขนพระราชทานทั้ง 7 ชุด เป็นเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ที่นิยมใช้แสดงโขนมาตั้งแต่อดีต และบทการแสดงโขนพระราชทานมีลักษณะการสืบทอดเนื้อเรื่องจากบทการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ทั้งบทพากย์ในประชุมคำพากย์รามเกียรติ์ บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 และบทคอนเสิดเรื่องรามเกียรติ์พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ส่วนด้านการปรุงบทการแสดง พบว่าบทการแสดงโขนพระราชทานใช้บทการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ในยุคก่อนหน้าหลายฉบับเป็นวัตถุดิบในการปรุงบท ประกอบด้วย บทพากย์ในประชุมคำพากย์รามเกียรติ์ บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 บทคอนเสิดเรื่องรามเกียรติ์พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ รามเกียรติ์บทร้องและบทพากย์พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 บทการแสดงโขนของกรมศิลปากรฉบับต่างๆ และบทการแสดงโขนพระราชทานชุดเดียวกันที่เคยใช้แสดงในปีก่อนหน้า การปรุงบทมี 3 ลักษณะ คือ การสืบทอด การดัดแปลง และการสร้างสรรค์ กลวิธีที่ใช้ในการปรุงบทขึ้นอยู่กับประเภทของบทการแสดงต้นแบบ และจุดประสงค์ที่จะนำบทการแสดงดังกล่าวไปใช้ในบทการแสดงโขนพระราชทาน บทการแสดงโขนพระราชทานในช่วงแรกมีลักษณะการสืบทอดที่ค่อนข้างเข้มข้น การดัดแปลงหรือสร้างสรรค์บทการแสดงเกิดขึ้นน้อยมาก โดยเฉพาะในบทการแสดงโขนพระราชทานชุดพรหมาศ พ.ศ.2552 และชุดนางลอย พ.ศ.2553 แต่หลังจากชุดศึกมัยราพณ์ พ.ศ.2554 เป็นต้นมา บทการแสดงโขนพระราชทานเริ่มมีลักษณะการดัดแปลงและการสร้างสรรค์ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ แสดงถึงพัฒนาการของบทการแสดงโขนพระราชทานได้เป็นอย่างดี การวิเคราะห์บทการแสดงโขนพระราชทานแสดงให้เห็นถึงลักษณะเด่น 4 ประการของบทการแสดงโขนพระราชทาน คือ ความรวดเร็ว เอกภาพ อรรถรส รวมถึงฉากและเทคนิคการแสดงพิเศษ ลักษณะเด่นทั้ง 4 ประการดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดรูปแบบเฉพาะของการแสดงโขนขึ้นในวงการโขนของไทย รูปแบบเฉพาะดังกล่าวทำให้การแสดงโขนพระราชทานได้รับความนิยมจากผู้ชม และทำให้เรื่องรามเกียรติ์และการแสดงโขนของไทยสามารถดำรงอยู่ในสังคมร่วมสมัยได้
Other Abstract: This dissertation aims to study the continuity and creation in the script of the Royal Khon Performance and to study the function of the script of the Royal Khon Performance to Thai Khon performing culture. The result reveals that the Royal Khon Performance can be catagorised as Khon Chag; scenes are divided according to the story line. The script consists of lyrics, dialogues, narrations, melodies for the lyrics, and tunes; the tune and the melody for each part are precisely and strictly directed. The analysis is divided into two parts: content and creation. The content of all seven episodes of the Royal Khon Performance shows the continuity from the other versions of Khon performance based on Rammakien which are the narrations in the Compilation of Rammakien Narrations, King Rama I’s Rammakien Royal Drama Play, King Rama II’s Rammakien Royal Drama Play, and the script of Prince Narisara Nuwattiwong’s Rammakien Concert. Creation-wise, it is found that the Royal Khon Performance uses the scripts of other versions of Khon performance based on Rammakien which are Compilation of Rammakien Narrations, King Rama I’s Rammakien Royal Drama Play, King Rama II’s Rammakien Royal Drama Play, Prince Narisara Nuwattiwong’s Rammakien Concert, King Rama VI’s Lyrics and Narrations of Rammakien, Fine Arts Department’s Khon scripts, and Queen Sirikit’s Khon Performance which was performed a year before, as sources. There were three ways of creating the Khon script: 1) continuity 2) adaptation and 3) creation. The use of each depends on the characteristics of the original version and the purpose of using the part in the Royal Khon Performance. The scripts of the Royal Khon Performance from 2009-2010 show intense continuity from their sources, especially Khon Phrommas Performance in 2009 and Khon Nang Loi Performance in 2010. After Khon Maiyarap Performance in 2011, the creation of the scripts starts to increase, marking the development of the Royal Khon Performance. The analysis shows that there are four key characteristics in the Royal Khon Performance: 1) agility 2) unity 3) aesthetic and 4) settings and special effects. The four characteristics create uniqueness in the Khon performance culture. They also create popularity of Khon performance and bring about perpetuation of Rammakien and Khon performance in Thai society.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55398
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.705
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.705
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5680114022.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.