Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55445
Title: การเสริมสร้างสันติภาพของสหประชาชาติในกฎหมายระหว่างประเทศ: ศึกษากรณีสาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน
Other Titles: UNITED NATIONS PEACEBUILDING IN INTERNATIONAL LAW: CASE STUDY OF THE REPUBLIC OF SIERRA LEONE
Authors: กัณภัค ตัณฑสิทธิ์
Advisors: ศารทูล สันติวาสะ
วิทิต มันตาภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Saratoon.S@Chula.ac.th,santivasa@hotmail.com
Vitit.M@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ปฏิบัติการด้านสันติภาพของสหประชาชาติไม่สามารถตอบสนองต่อปัญหาความขัดแย้งที่หลากหลายในสังคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเนื่องจากการปฏิบัติการรักษาสันติภาพเกิดความล้มเหลวมากขึ้น และในกรณีที่ประสบความสำเร็จก็ไม่สามารถประกันได้ว่ารัฐจะไม่กลับไปสู่สภาพความขัดแย้งอีก ในปี ค.ศ. 2005 เลขาธิการสหประชาชาติจึงได้จึงเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมาธิการเสริมสร้างสันติภาพเพื่ออุดช่องโหว่ในการดำเนินนโยบายของสหประชาชาติในการสร้างสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอนเป็นหนึ่งในรัฐภายหลังความขัดแย้งที่ได้เข้าสู่กระบวนการเสริมสร้างสันติภาพภายใต้คณะกรรมาธิการเสริมสร้างสันติภาพของสหประชาชาติโดยมีเป้าหมายว่าปฏิบัติการเสริมสร้างสันติภาพจะสามารถทำให้เกิดสันติภาพอย่างยั่งยืนได้ในสาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน คณะกรรมาธิการเสริมสร้างสันติภาพจึงเข้าไปสร้างและฟื้นฟู ระบบและกลไกอันเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในสาธารณรัฐเซียร์ราลีโอนตามหลักการแบ่งแยกอำนาจที่เหมาะสมกับบริบทของสถานการณ์ในสาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน โดยอาศัยความร่วมมือทั้งระดับรัฐและระหว่างประเทศ เพื่อให้สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอนมีการปกครองที่อยู่บนพื้นฐานของหลักนิติรัฐ ผลลัพธ์จากการเสริมสร้างสันติภาพโดยคณะกรรมาธิการเสริมสร้างสันติภาพในสาธารณรัฐเซียร์ราลีโอนแสดงให้เห็นว่า ปฏิบัติการเสริมสร้างสันติภาพสามารถสนับสนุนให้รัฐระบุมูลเหตุความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ ตลอดจนสนับสนุนให้รัฐบาลมีความสามารถเพียงพอที่จะบริหารประเทศบนพื้นฐานของหลักนิติรัฐ และสามารถแก้ไขปัญหามูลเหตุความขัดแย้งได้ด้วยตนเอง แม้ว่ายังมีอุปสรรคและความท้าทายในประเด็นปัญหา ด้านต่างๆ เช่น ปัญหาด้านการเมือง ความรุนแรงทางเพศ และองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น แต่ความสำเร็จจากการเสริมสร้างสันติภาพของสาธารณรัฐเซียร์ราลีโอนในภาพรวมก็เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายในการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนและไม่กลับไปสู่สภาพความขัดแย้งอีก เป็นเหตุให้สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอนสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ปฏิบัติด้านการพัฒนาของสหประชาชาติต่อไป
Other Abstract: In the 1990s, United Nations (UN) Peace Operations failed to respond to various conflicts in international society. And even where there was a case of success, it could not be guaranteed that the state would not lapse into conflict again. Therefore, in 2005 the UN Secretary-General proposed the establishment of the Peacebuilding Commission to fill in the gap in the UN institutional machinery in UN policy on international peace and security. The Republic of Sierra Leone is one of the post-conflict states that have entered in to the peacebuilding process under the UN Peacebuilding Commission, with peacebuilding operations aiming to achieve sustainable peace in the Republic of Sierra Leone. The Peacebuilding Commission then built and rehabilitated the system and mechanism, essential infrastructures in the Republic of Sierra Leone according to the principle of the segregation of powers. In the context of in the Republic of Sierra Leone, much would depend also on cooperation at both the nation and international levels to provide the country with the government based on the rule of law. The results of peace-building by the Peace Commission in the Republic of Sierra Leone show that peacebuilding operations can encourage the State to identify the cause of conflict, as well as the government’s capacity to administer the country on the basis of the rule of law and also to solve conflicts by itself. Although there are obstacles and challenges on issues such as political action, sexual violence and transnational organized crime, the achievement of the peacebuilding in the Sierra Leone as a whole is proof of steps to create sustaining peace and to prevent reversion to conflict. This is why the Republic of Sierra Leone can offers a key example of UN development practice with a view to the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55445
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.466
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.466
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5685955334.pdf11.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.