Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55538
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นงนภัส เจริญพานิช | - |
dc.contributor.author | นภาพร สัญญะวงค์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:38:55Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:38:55Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55538 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกการทรงตัวแบบมีรูปแบบ (Patterned Balance Training: PT) และการฝึกการทรงตัวแบบสุ่ม (Randomized Balance Training: RT) ต่อการทรงตัวแบบอยู่นิ่ง (Static Balance) แบบเคลื่อนไหว (Dynamic Balance) และเวลาที่ใช้ในการเตะของนักกีฬาเทควันโด อายุ 8-12 ปี วิธีดำเนินการวิจัย: ผู้เข้าร่วมงานวิจัยคือ นักกีฬาเทควันโด อายุระหว่าง 8-12 ปี จำนวน 15 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม PT กลุ่มที่รับการฝึกการทรงตัวแบบมีรูปแบบ (8 คน) และกลุ่ม RT คือ กลุ่มที่รับการฝึกการทรงตัวแบบสุ่ม (7 คน) เพื่อฝึกการทรงตัวสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ทดสอบทั้งหมด 2 ครั้ง คือ ก่อนและหลังการฝึกการทรงตัว ตัวแปรที่เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การทดสอบการทรงตัวแบบอยู่นิ่ง 2 วิธี คือ การทดสอบด้วยเครื่องฝึกและประเมินการทรงตัว (Bio Sway) และวิธีทดสอบ Single Leg Stance ส่วนการทรงตัวแบบเคลื่อนไหวทดสอบด้วยวิธี One Leg Hop และการทดสอบปฏิกิริยาตอบสนองขณะเตะท่า Front Kick และ Round Kick โดยวัด Reaction Time, Movement Time และ Response Time นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลสถิติโดยใช้ Independent t-test ในการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม และ Dependent pair t-test เพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึก กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value ≤ 0.05 ผลการวิจัย: ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของดัชนีภาพรวม (BI) และดัชนีในทิศทาง Medial/Lateral (M/L) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของการทดสอบ Single Leg Stance ในขณะที่การทดสอบ One Leg Hop พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเฉพาะระยะทางการกระโดด ส่วนการทดสอบเวลาปฏิกิริยาของการเตะของทั้ง 2 ท่า พบว่าผลการทดสอบทุกตัวแปรไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่ม แต่เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึก พบว่า กลุ่ม PT มีค่า Bio Sway Index ลดลงทุกทิศทางอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่กลุ่ม RT ลดลงเฉพาะดัชนีในภาพรวม และดัชนี M/L เท่านั้น ส่วนในการทดสอบ Single Leg Stance และ One Leg Hop พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งระยะทางและระยะเบี่ยงเบน ส่วนเวลาที่ใช้ในการเตะทั้ง 2 ท่าเตะ พบว่าเฉพาะกลุ่ม RT แสดงการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในทุกตัวแปร ยกเว้น Movement Time ในท่า Front Kick ขณะที่กลุ่ม PT แสดงแนวโน้มการลดลงของเวลาทุกตัวแปร แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการวิจัย: การฝึกการทรงตัวทั้ง 2 รูปแบบ สามารถพัฒนาความสามารถของการทรงตัวทั้งแบบอยู่นิ่งและแบบเคลื่อนไหวได้ โดยพบว่าการฝึกการทรงตัวแบบมีรูปแบบสามารถพัฒนาการทรงตัวแบบอยู่นิ่งได้ชัดเจนกว่า แต่ในทางกลับกันการฝึกการทรงตัวแบบสุ่มสามารถพัฒนาการทรงตัวแบบเคลื่อนไหวได้ชัดเจนกว่า อย่างไรก็ตาม การฝึกการทรงตัวทั้ง 2 รูปแบบมีแนวโน้มในการพัฒนาเวลาที่ใช้ในการเตะทั้ง 2 ท่า โดยการฝึกการทรงตัวแบบสุ่มมีการลดลงของ Reaction Time, Movement Time และResponse Time ของการเตะทั้ง 2 ท่า อย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้น Movement Time ของท่าเตะ Front Kick | - |
dc.description.abstractalternative | Purpose: Study and compare the effects of the Patterned Balance Training (PT) and Randomized Balance Training (RT) on Static Balance, Dynamic Balance and Kicking Time in Taekwondo players age 8-12 years. Methods: Fifteen male Taekwondo players aged between 8-12 years old were simple random sampling assignment into 2 groups: PT group (n=8) and RT group (n=7). All subjects were trained three days a week for four weeks. Static Balance Test (Bio Sway Index and Single Leg Stance Test), Dynamic Balance test (One Leg Hop Test) and Kicking Time (Reaction Time, Movement Time, Response Time) in Front Kick and Round Kick were evaluated before (Pre-test) and after balance training (Post-test). The independent t-test was used for comparing between groups, and the dependent pair t-test was used for comparing Pre and Post training. The level of statistical significance was p-value ≤ 0.05. Results: After training, significant differences in Bio Sway Index in the Overall Stability Index (SI) and Medial/Lateral Index (M/L) were observed between groups. However, there was no significant difference in the Single Leg Stance Test and the One Leg Hop Test showed significant differences in only Distance variable. The comparison between groups did not show significant difference in all variables in Kicking Time Test (Reaction Time, Movement Time, and Response Time). When compared between Pre and Post Training, the results showed that PT group had a significant decrease in Bio Sway Index in all directions (SI, Anterior/Posterior: A/P, M/L). On the other hand, the RT group showed a significant decrease only in SI and M/L. Moreover, there were significant differences between two groups in the Single Leg Stance Test and One Leg Hop Test in both Distance and Displacement. The comparison within groups, the RT group showed that significant in all variables both Kicking Time test except Movement Time in Front Kick test. Whereas, the PT group showed a trend decrease of time but did not show significant difference in all variables. Conclusion: The two balance training programs can be used to develop both Static and Dynamic Balance. It can be suggested that PT group showed more appropriate improvement in Static Balance. On the other hand, RT group showed more appropriate improvement in Dynamic Balance. However, the two groups showed a trend to develop the Kicking Time. Especially, RT group showed significant decrease in all variables both Kicking Time test except Movement Time in Front Kick test. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.791 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | ผลการฝึกการทรงตัวแบบมีรูปแบบและการฝึกแบบสุ่มที่มีต่อความสามารถในการทรงตัวและเวลาที่ใช้ในการเตะของนักกีฬาเทควันโด อายุ 8-12 ปี | - |
dc.title.alternative | EFFECTS OF PATTERNED AND RANDOMIZED BALANCE TRAINING ON BALANCING PERFORMANCE AND KICKING TIME OF TAEKWONDO PLAYERS AGE 8-12 YEARS | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Nongnapas.C@Chula.ac.th,nongdnapas@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.791 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5778314039.pdf | 7.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.