Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55540
Title: ผลของความเร็วการไหลของน้ำในอุโมงค์น้ำต่อคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของการว่ายท่าครอว์ลในนักกีฬาว่ายน้ำสมัครเล่น
Other Titles: EFFECTS OF WATER FLOW VELOCITY IN SWIMMING FLUME ON ELECTROMYOGRAPHY OF CRAWL STROKE SWIMMING IN AMATEUR SWIMMER
Authors: สุรชัย ตาระกา
Advisors: นงนภัส เจริญพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Nongnapas.C@Chula.ac.th,nongdnapas@yahoo.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของความเร็วการไหลของน้ำในอุโมงค์น้ำที่มีต่อคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขณะว่ายท่าครอว์ลในนักกีฬาว่ายน้ำสมัครเล่น วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาว่ายน้ำชมรมว่ายน้ำ สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำนวน 15 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี ทำการติดตั้งเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) บริเวณกล้ามเนื้อ 8 มัดทางด้านขวา ได้แก่ Anterior Deltoid, Posterior Deltoid, Pectoralis Major, Middle Trapezius, Erector Spinae, Rectus Abdominis, Biceps Femoris, และ Vastus Medialis เพื่อวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ได้แก่ การหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุด (Maximum Intensity), ระยะเวลาจากจุดเริ่มสัญญาณ EMG ไปยัง จุดสูงสุดของ EMG (Time to Peak), อัตราการเพิ่มของ EMG (Rate of EMG Development), และเวลาการเกิดสัญญาณ EMG เมื่อเทียบกับกล้ามเนื้อมัดแรกที่เกิดสัญญาณ (Pectorais Major) (Onset Latency) ขณะว่ายน้ำในอุโมงค์น้ำที่ความเร็ว 3 ระดับ คือ 0.5, 1.0 และ 1.5 m/s โดยกำหนดจุดเริ่มต้นช่วงการเคลื่อนไหวเมื่อมือขวาสัมผัสน้ำ (เริ่มต้นของช่วง Entry and Catch) และครบหนึ่งช่วงการเคลื่อนไหวโดยมือกลับมาสัมผัสน้ำอีกครั้ง เพื่อเป็นเวลาอ้างอิงสำหรับการเริ่มทำงานของกล้ามเนื้อมัดถัดมา วิเคราะห์ผลการวิจัยโดย One Way ANOVA และใช้ Tukey ในการหาคู่ที่แตกต่างกันโดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value ≤ 0.05 ผลการวิจัย: คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อแขนแสดงการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุด (Maximum Intensity) มากกว่ากล้ามเนื้อลำตัวและกล้ามเนื้อขาในทุกความเร็ว และแสดงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อว่ายน้ำด้วยความเร็วเพิ่มขึ้น ในขณะที่ระยะเวลาจากจุดเริ่มสัญญาณไปยังจุดสูงสุดไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามอัตราการเพิ่มของ EMG ของกล้ามเนื้อลำตัวและกล้ามเนื้อขาพบการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และพบการเปลี่ยนลำดับการเกิดสัญญาณ EMG โดยเฉพาะในส่วนกล้ามเนื้อลำตัวและกล้ามเนื้อขา เมื่อความเร็วของการไหลของน้ำในอุโมงค์น้ำเพิ่มขึ้น สรุปผลวิจัย: กล้ามเนื้อแขนเป็นกล้ามเนื้อหลักในการว่ายน้ำท่าครอว์ล ในทุกความเร็วของการว่ายน้ำ อย่างไรก็ตามเมื่อว่ายน้ำด้วยอัตราเร็วเพิ่มขึ้น พบว่ากล้ามเนื้อลำตัวและกล้ามเนื้อขา จะทำงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อพยุงร่างกายส่วนล่างให้สามารถแทรกผ่านน้ำให้เร็วขึ้น และประสานสัมพันธ์กับการทำงานที่เพิ่มขึ้นของกล้ามเนื้อแขน
Other Abstract: Purpose: To study the effects of water flow velocity in swimming flume on electromyography during crawl stroke swimming in amateur swimmers. Methods: Fifteen male swimmers from Singha coreporation aged between 18 – 25 years were included in this study. Put Electromyography (EMG) electrodes on the right side of eight target muscles: Anterior Deltoid, Posterior Deltoid, Pectoralis Major, Middle Trapezius, Erector Spinae, Rectus Abdominis, Biceps Femoris, and Vastus Medialis for analyzing the EMG data: Maximum Intensity, Time to Peak, Rate of EMG Development (RED), and Onset Latency while crawl swimming in three level of water flow velocity; 0.5, 1.0 and 1.5 m/s. The swimming phase starts when the right hand touches the water surface (start of entry and catch phase), and ends the one cycle while the right hand return to touch the water surface again. The one way ANOVA was used to analyze the data and used Tukey as post hoc analysis at the significant different at p-value ≤ 0.05. Results: The EMG shoulder muscles showed maximum intensity more than trunk and leg muscles in all water flow velocity. They showed the significantly increase of maximum intensity when increase the water flow velocity. The time to peak of all muscles did not show significantly change, however, the rate of EMG development of trunk and leg muscles showed significantly increase. Moreover, the onset latency of trunk and leg muscle showed significantly change of onset time. Conclusion: The shoulder muscles were the major muscles of crawl swimming in all water flow velocity. However, at higher swimming velocity, trunk and leg muscle showed significantly increase working for supporting the lower body to be in good position and coordinating with shoulder muscles.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55540
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.792
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.792
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5778329539.pdf5.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.