Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55712
Title: ผลการใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่มีต่อความเข้าใจมโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: EFFECTS OF USING CONTEXT-BASED LEARNING APPROACH ON CONCEPTUAL UNDERSTANDING IN BIOLOGY OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS
Authors: พัชรมัย นิ่มละออ
Advisors: สกลรัชต์ แก้วดี
รสริน พลวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Watcharaporn.K@Chula.ac.th,Sakolrat.K@chula.ac.th,watcharapornkwd@gmail.com,sakolrat.k@chula.ac.th
rossarin.p@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีรูปแบบการวิจัยแบบศึกษาสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ความเข้าใจมโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนภายหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน และ(2) เปรียบเทียบความเข้าใจมโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานและกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบทั่วไป ประชากร คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 84 คน ประกอบด้วยนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน จำนวน 39 คน และกลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบทั่วไป จำนวน 45 คน การวิจัยดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความเข้าใจมโนทัศน์ชีววิทยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละความเข้าใจมโนทัศน์ชีววิทยาหลังเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ 2. นักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนความเข้าใจมโนทัศน์ชีววิทยาไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: This research was posttest two-group quasi-experimental design, aimed to (1) analyze students’ conceptual understanding in biology after learning through context-based learning approach, and (2) compare students’ conceptual understanding in biology between group learning through context-based learning approach and group that learning through conventional method. The research population was upper secondary school students of large schools in Bangkok. The samples were 84 eleventh grade students. Thirty-nine students in one classroom were randomly assigned to the experimental group and given lessons based on context-based learning approach. Fourty-five students in another classroom were randomely chosen to the compared group and given lessons based on conventional teaching method. Research duration was in the second semester of the academic year 2016. The research instruments were conceptual understanding tests. The collected data was analyzed by means of arithmetic mean, mean of percentage, standard deviation, and t-test. The research findings were summarized as follows: 1) The experimental group’s percentage mean scores of students' conceptual understanding in biology was rated at pass level. 2) Students in both experimental and control group’s mean scores of students' conceptual understanding in biology showed no significant difference.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55712
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.264
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.264
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883427127.pdf8.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.