Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55736
Title: การใช้ประโยชน์เปลือกและกากมันสำปะหลังในการผลิตก๊าซชีวภาพ
Other Titles: Utilization of Cassava Peel and Pulp for Biogas Production
Authors: ยุวดี มาทอง
Advisors: ดาวัลย์ วิวรรธนะเดช
อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Dawan.W@Chula.ac.th,dawancu@gmail.com
Orathai.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์กากของเสียจากอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลัง ได้แก่กากมันสำปะหลังและเปลือกมันสำปะหลังในการผลิตก๊าซชีวภาพ โดยศึกษาศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยเทคนิคบีเอ็มพี พร้อมทั้งศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากเปลือกมัน โดยการปรับสภาพเบื้องต้น (Pretreatment) ด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ รวมทั้งศึกษาการหมักร่วม (Co-digestion) ระหว่าง เปลือกหรือกากมันสำปะหลัง กับน้ำเสียจากกระบวนการผลิต ผลการศึกษาพบว่ากรณีการผลิตก๊าซชีวภาพจากสับสเตรทเดี่ยวๆ (Single Substrate) น้ำเสียและกากมันมันสำปะหลัง มีประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพสูงใกล้เคียงกัน คือ 0.601 และ 0.589 m3/kg VS added ตามลำดับ ขณะที่การผลิตก๊าซชีวภาพจากเปลือกมันสำปะหลัง มีประสิทธิภาพเพียง 0.306 m3/kg VS added ซึ่งเมื่อนำเปลือกมันไปปรับสภาพด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 3% เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ก่อนนำไปหมักผลิตก๊าซชีวภาพ พบว่าประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจาก 0.306 m3/kg VS added เป็น 0.400 m3/kg VS added หรือเพิ่มขึ้นเพียง 31% ส่วนผลการหมักร่วมระหว่างกากมันกับน้ำเสีย เปลือกมันกับน้ำเสีย และกากมันกับเปลือกมัน พบว่าไม่ได้มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจสรุปได้ว่า ทั้งกากของเสียและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังมีศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพสูง โดยที่กากมันสามารถใช้ผลิตก๊าซชีวภาพได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านการปรับสภาพ และ/หรือ การหมักร่วม ขณะที่การใช้ประโยชน์เปลือกมันเป็นวัสดุหมักร่วมกับกากมันหรือน้ำเสียในการผลิตก๊าซชีวภาพ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการจัดการกากของเสียของโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง แม้เปลือกมันจะมีศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพต่ำกว่ากากมันและน้ำเสียจากกระบวนการผลิตก็ตาม
Other Abstract: This research aims to study potential to produce biogas from peel and pulp from cassava starch industry. Preliminary potential of biogas production from the solid wastes was investigated by BMP method. Biogas production efficiency improvement by either pretreatment with 3% sodium hydroxide (NaOH) solution or co-digestion of peel or pulp with waste water from the cassava starch production process was also comparatively studied. The study found that single substrate fermentation of either pulp or waste water produced high biogas production potential with 0.601 and 0.589 m3/kg VS added respectively. While the peel produced only 0.306 m3/kg VS added, but increased up to 0.400 m3/kg VS added or only 31% increasing after pretreatment with 3% NaOH solution for 48 h. The result of co-digestion between pulp and waste water, peel and waste water, or peel and pulp showed no significant potential increasing of the biogas production. Hence, it can be concluded that both solid wastes and waste water from the cassava starch industry have high potential for biogas production. It also showed that the cassava pulp can be utilized to produce biogas directly without pretreatment of co-digestion. While utilizing the cassava peel as a co-substrate with either pulp or waste water is one more alternative for the solid waste management even though the peel produced lower potential of biogas production than the pulp and waste water from the production process.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55736
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.30
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.30
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5887194620.pdf5.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.