Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55957
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณี แกมเกตุ-
dc.contributor.authorธนิยา เยาดำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-11-17T03:22:22Z-
dc.date.available2017-11-17T03:22:22Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55957-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จ ในการใช้หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนในโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนนำร่องเศรษฐกิจพอเพียง ที่ใช้หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอน จำนวน 393 คน จาก 54 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรภายในแฝง 7 ตัวแปร คือ ตัวแปรแรงจูงใจของครูในการปฏิบัติงาน นโยบายการบริหาร ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของครูตามหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารจัดการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การนิเทศ ติดตามผลการใช้หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง และความสำเร็จในการใช้หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพิจารณาจากคุณลักษณะของผู้เรียน 7 ด้าน ประกอบด้วย ความพอประมาณในการคิดและการปฏิบัติ การใช้เหตุผลในการตัดสินใจ การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง และการต่อยอดองค์ความรู้ ความมีคุณธรรม จริยธรรม ความสามารถในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และการพึ่งตนเอง และตัวแปรภายนอกแฝง 5 ตัวแปร คือ ตัวแปรความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร เศรษฐกิจพอเพียงของครู ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหาร ลักษณะของผู้บริหาร การสนับสนุนจากโรงเรียน และการสนับสนุนจากชุมชนและหน่วยงานภายนอก วัดจากตัวแปรสังเกตได้รวม 33 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบทดสอบ ซึ่งมีความเที่ยงในการวัดตัวแปรสังเกตได้แต่ละตัวตั้งแต่ .446-.944 สำหรับแบบทดสอบมีค่าความยากง่ายระหว่าง .222-.809 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .200-.724 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ โมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จในการใช้หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยให้ค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 207.432 (p = .047) ที่องศาอิสระเท่ากับ 175 ค่า GFI เท่ากับ .971 ค่า AGFI เท่ากับ .906 และค่า RMR เท่ากับ .020 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความสำเร็จ ในการใช้หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ตัวแปรการสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง และตัวแปรที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อความสำเร็จในการใช้หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ตัวแปรลักษณะของผู้บริหาร และตัวแปรนโยบายการบริหาร โดยตัวแปรที่ให้ค่าอิทธิพลรวมสูงสุด ได้แก่ ตัวแปรการสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีขนาดอิทธิพล เท่ากับ .175 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการนิเทศ ติดตามผลการใช้หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง นโยบายการบริหาร การบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครู การสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง แรงจูงใจของครูในการปฏิบัติงาน และความสำเร็จในการใช้หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ 99.0%, 93.8%, 84.6%, 83.2%, 73.5%, 2.2% และ 3.2% ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeTo develop the casual model of success in sufficiency economy curriculum utilization of the basic school and to examine the goodness of fit of the model to the empirical data. The research sample consisted of 393 students from the 54 the basic schools which sufficient economy curriculum utilization. The research responders where school directors, teachers, students and parents. Variables consisted of 12 endogenous latent variables: the effectiveness of the internal success in sufficiency economy curriculum utilization of the basic school, factor of teacher motivation, factor of managerial policy, factor of teaching and learning management, factor of management, factor of follow-up stage, factor of sufficiency economy network and factor of student's characteristic and five exogenous latent variables: factor of teacher's knowledge and comprehension, factor of school director's knowledge and comprehension, factor of school director's characteristic, factor of school support and external unit support. These latent variables were measured by 33 observed variables. Data were collected by questionnaires and test having reliability for each variable ranging form .446-.944.The test having item difficulty from .222-.809 and having discrimination power from .200-.724. An analyzed by using descriptive statistics, Pearson's product moment correlation, LISREL model analysis. The major findings were as follows: The variable having direct effect on the success in sufficiency economy curriculum utilization of the basic school, significantly at .01 level was the factor of sufficiency economy network and variable having both direct and indirect effects, significantly at .01: factor of school director's characteristic and factor of managerial policy. Among these variables, The factor of sufficiency economy network had the highest total effect. The effect of factor sufficiency economy was .175. The casual model was valid and fit to the empirical data. The model indicated that the Chi-square goodness of fit test was 207.432 (p = .047) df = 175, GFI = .971, AGFI = .906, and RMR = .020. The model could explain the variance in the factors of follow-up stage, next was managerial policy, management, teaching and learning management, management economy network teacher motivation, and success in sufficiency economy curriculum utilization about 99.0, 93.8, 84.6, 83.2, 73.5, 2.2 and 3.2 percent respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.252-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษา -- หลักสูตรen_US
dc.subjectเศรษฐกิจพอเพียง -- ปรัชญาen_US
dc.subjectประสิทธิผลองค์การen_US
dc.subjectSufficiency economy -- Philosophyen_US
dc.subjectEducation -- Curriculaen_US
dc.subjectOrganizational effectivenessen_US
dc.titleการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จในการใช้หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a causal model of success in utilizing sufficiency economy curriculum in basic education schoolsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWannee.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.252-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thaniya_ya_front.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
thaniya_ya_ch1.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
thaniya_ya_ch2.pdf14.61 MBAdobe PDFView/Open
thaniya_ya_ch3.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open
thaniya_ya_ch4.pdf7.3 MBAdobe PDFView/Open
thaniya_ya_ch5.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
thaniya_ya_back.pdf9.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.