Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56212
Title: การแสดงออกของรีคอมบิแนนท์โปรตีน VP1 และ VP2 จากไวรัสก่อโรคโลหิตจางในไก่ใน Escherichia coli และการผลิตแอนติบอดี
Other Titles: EXPRESSION OF RECOMBINANT PROTEINS VP1 AND VP2 FROM CHICKEN ANEMIA VIRUS IN Escherichia coli AND ANTIBODY PRODUCTION
Authors: ศรุดา หวังอนุรักษ์กุล
Advisors: วันชัย อัศวลาภสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Wanchai.A@Chula.ac.th,wanchai.a@chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคโลหิตจางในไก่เป็นโรคที่ทำให้ไก่เกิดภาวะโลหิตจางชนิดรุนแรงและส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดต่ำลงซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโลหิตจางในไก่ (Chicken Anemia Virus, CAV) โปรตีน VP1 ซึ่งเป็นโปรตีนหลักของเชื้อไวรัส CAV ด้วยคุณสมบัติในการเป็นแอนติเจนที่สูงสามารถถูกจดจำได้ดีจึงถูกนำไปใช้พัฒนาเป็นวัคซีนและชุดตรวจวินิจฉัยโรค จากการที่โปรตีน VP1 มีส่วนเป็นพิษต่อ Escherichia coli ซึ่งเป็นเซลล์เจ้าบ้าน จำนวน 60 กรดอะมิโน ที่ปลาย N-terminal จึงเป็นข้อจำกัดทำให้ผลิตโปรตีน VP1 ได้ในปริมาณน้อย นอกจากนี้ยังมีโปรตีน VP2 ซึ่งเป็นโปรตีนไม่ใช่โปรตีนโครงสร้างมีบทบาทสำคัญในการช่วยในการม้วนพับของโปรตีน VP1 ทำให้เกิดโครงสร้างอิพิโทปของไวรัสที่เหมาะสม จุดประสงค์ในงานวิจัยนี้เพื่อผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีน VP1 และ VP2 และการผลิตแอนติบอดีในหนูไมซ์ ด้วยการตัดส่วนเป็นพิษต่อเซลล์เจ้าบ้านออก จำนวน 60 กรดอะมิโน ที่ปลาย N-terminal (Δ60N_VP1) แล้วเชื่อมต่อกับดีเอ็นเอ VP2 จึงได้รูปแบบของดีเอ็นเอต่างๆ ดังนี้ Δ60N_VP1, VP2, VP2/Δ60N_VP1 และ Δ60N_VP1/VP2 ดีเอ็นเอทั้ง 4 รูปแบบได้ถูกโคลนเข้าสู่เวคเตอร์ pET28a(+) และชักนำเกิดการแสดงออกใน E.coli สายพันธุ์ Roseta-gami โดยใช้ IPTG ความเข้มข้น 0.2-0.3 มิลลิโมลาร์ ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง รีคอมบิแนนท์โปรตีนทั้งหมดได้ถูกทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธี affinity chromatography ซึ่งขนาดโปรตีนของ Δ60N_VP, VP2, VP2/Δ60N_VP1 และ Δ60N_VP1/VP2 ดังนี้คือ 45, 28, 73 และ 85 กิโลดาลตัน ตามลำดับ ด้วยคุณสมบัติในการเป็นแอนติเจนที่ดีของโปรตีน Δ60N_VP1 จึงได้นำมาใช้สำหรับตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส CAV จากซีรั่มไก่ จำนวน 152 ตัวอย่างด้วยวิธี indirect ELISA โดยพบให้ความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำ เท่ากับ 87.50%, 95.31% และ 90.79% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าภายหลังการนำโปรตีน Δ60N_VP1 ไปฉีดกระตุ้นในหนูไมซ์ พบว่าหนูไมซ์มีการตอบสนองและผลิตพอลิโคลนอลแอนติบอดีที่มีความจำเพาะต่อโปรตีน Δ60N_VP1 ได้ ดังนั้นโปรตีน Δ60N_VP1 จึงเป็นแอนติเจนที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้พัฒนาวัคซีนและแอนติบอดีต่อโปรตีน Δ60N_VP1 ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ตรวจหาเชื้อไวรัส CAV ได้ต่อไป
Other Abstract: Chicken Infectious Anemia (CIA) is a disease causing the severe anemia and immunosuppression in chicken. The disease is caused by Chicken Anemia Virus (CAV). VP1 protein found in the capsid of CAV has been well-recognized as its high antigenicity and thus serves as a strong candidate for the development of vaccine and a diagnostic marker. The problematic of VP1 in Escherichia coli found the 60 amino acid sequence at the N-terminus of VP1 related to be toxic to host then lead to the less yield protein production. Other non-structural protein as VP2, the protein that help enhance the folding of VP1 epitope. For the purpose of VP1 and VP2 recombinant protein production and production antibody in mice in this study via the N-terminus of VP1 was deleted (Δ60N_VP1) and then fused with VP2. Therefore, the patterns of the recombinant proteins between the truncated VP1 and VP2 were engineered as follows: Δ60N_VP1, VP2, VP2/Δ60N_VP1 and Δ60N_VP1/VP2. These four types of gene fragments were subsequently cloned into pET28a (+) expression vector in E.coli Roseta-gami. The recombinant clones were induced at 25 °C for 3 hr using 0.2 – 0.3 mM IPTG the inducing agent for the protein expression. The recombinant proteins were purified using affinity chromatography and gave rise to the molecular weight of 45, 28, 73 and 85 kDa for Δ60N_VP1, VP2, VP2/Δ60N_VP1 and Δ60N_VP1/VP2, respectively. Because of Δ60N_VP1 strong antigenicity, it was chosen for development of CAV seradiagnostic test in 152 chicken serum samples using indirect ELISA, where the obtained sensitivity, selectivity and accuracy were 87.50%, 95.31% and 90.79%, respectively. In addition, polyclonal antibodies against Δ60N_VP1 was generated after Δ60N_VP1 was administered into mice reflecting that the animal can be immunized by this antigen. To this end, Δ60N_VP1 can be served as a good potential candidate for vaccine development and the antibody against Δ60N_VP1 generated in mice can be applied for a diagnostic tool for CAV detection in the foreseeable future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56212
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5472109423.pdf7.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.