Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56551
Title: ผลของน้ำมันระเหยง่ายจากลูกประคบและผลิตภัณฑ์สำหรับอบสมุนไพรต่อแรงตึงตัวของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่แยกจากกายหนูขาว
Other Titles: Effects of volatile oils from herbal compress and herbal stream product on vascular tone of isolated rat aorta
Authors: ปาณิสรา อาจอ่ำ
Advisors: สุรีย์ เจียรณ์มงคล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Suree.J@Chula.ac.th
Subjects: น้ำมันหอมระเหย
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
หลอดเลือดแดง
Essences and essential oils
Herb products
Arteries
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษานี้ได้ศึกษาผลของน้ำมันระเหยง่ายจากลูกประคบและผลิตภัณฑ์สำหรับอบสมุนไพรโดยเปรียบเทียบกับน้ำมันไพลต่อการคลายตัวของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่แยกจากกายหนูขาว โดยใช้หนูขาวพันธุ์ Wistar rats เพศผู้ น้ำหนัก 250-400 กรัม นำมาผ่าแยก thoracic aorta และตัดเป็นท่อนขนาด 5-7 มิลลิเมตร แล้วนำไปแขวนใน organ bath ที่บรรจุ Krebs-Henseleit solution ผลของสารทดสอบทั้ง 3 ชนิด พบว่าสามารถทำให้หลอดเลือดทั้งแบบที่มีและไม่มีเซลล์เยื่อบุผิวคลายตัวจากการกระตุ้นให้หดตัวด้วย phenylephrine (PE, 10 µM) และ potassium chloride (KCl, 40 mM) ได้ โดยที่เซลล์เยื่อบุผิวมีอิทธิพลต่อการคลายตัวของหลอดเลือดที่เกิดจากผลของน้ำมันระเหยง่ายจากลูกประคบเท่านั้น และเมื่อทำการศึกษาผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อเรียบ พบว่า สารทดสอบทั้ง 3 ชนิด (50 - 200 µg/ml) สามารถยับยั้งการหดตัวของหลอดเลือดเมื่อกระตุ้นด้วย PE (10 µM) และ KCl (40 mM) ได้ และที่ความเข้มข้น 200 µg/ml สามารถยับยั้งการกระตุ้นให้หดตัวด้วยแคลเซียมคลอไรด์แบบสะสมขนาดในสภาวะ high K+-Ca2+-free ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลที่มีต่อการเคลื่อนที่เข้าสู่เซลล์ของ Ca2+ นอกจากนี้สารทั้ง 3 ชนิด (200 µg/ml) สามารถยับยั้งการหดตัวของหลอดเลือดจากการกระตุ้นด้วย caffeine (10-2 M) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีเพียงน้ำมันระเหยง่ายจากผลิตภัณฑ์สำหรับอบสมุนไพรที่สามารถยับยั้งการหดตัวของหลอดเลือดจากการกระตุ้นด้วย PE (10 µM) ในสภาวะที่ปราศจาก Ca2+ ซึ่งผลดังกล่าวแสดงให้เห็นความแตกต่างของสารทั้ง 3 ชนิดที่มีต่อการหลั่ง Ca2+ จากแหล่งเก็บภายในเซลล์ นอกจากนี้การศึกษากลไกการคลายตัวของสารทดสอบทั้ง 3 ชนิดในหลอดเลือดทั้งแบบที่มีและไม่มีเซลล์เยื่อบุผิวโดยใช้ตัวยับยั้งการคลายตัวต่างๆ พบว่า ในหลอดเลือดแบบที่มีเซลล์เยื่อบุผิว L-NAME (100 µM) และ methylene blue (10 µM) สามารถยับยั้งผลการคลายตัวของน้ำมันไพลได้ ส่วน glybenclamide (10 µM) พบว่าสามารถยับยั้งการคลายตัวจากน้ำมันระเหยง่ายจากลูกประคบได้ และ tetraethylammonium (1 mM) สามารถยับยั้งการคลายตัวจากน้ำมันระเหยง่ายจากผลิตภัณฑ์สำหรับอบสมุนไพรได้ ส่วนผลการศึกษาในหลอดเลือดแบบที่ไม่มีเซลล์เยื่อบุผิว พบว่า propranolol (10 µM) สามารถยับยั้งการคลายตัวจากน้ำมันระเหยง่ายจากผลิตภัณฑ์สำหรับอบสมุนไพรได้ ดังนั้นผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า น้ำมันไพลออกฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดคลายตัวผ่านทาง NO pathway ขณะที่ฤทธิ์ของน้ำมันระเหยง่ายจากลูกประคบส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับ hyperpolarization ผ่านทาง ATP-sensitive K+ channel ส่วนฤทธิ์ของน้ำมันระเหยง่ายจากผลิตภัณฑ์สำหรับอบสมุนไพรเกี่ยวข้องกับ -adrenoceptor และ Ca2+-activated K+ channel ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าน้ำมันระเหยง่ายจากลูกประคบและผลิตภัณฑ์สำหรับอบสมุนไพรซึ่งมีส่วนประกอบหลักได้แก่ น้ำมันไพล นั้นมีกลไกในการออกฤทธิ์ให้เกิดการคลายตัวต่างกัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่มีสมุนไพรเป็นองค์ประกอบแตกต่างกัน โดยน้ำมันระเหยง่ายจากผลิตภัณฑ์สำหรับอบสมุนไพรมีฤทธิ์ในการทำให้หลอดเลือดคลายตัวได้ดีที่สุด
Other Abstract: This study aimed to investigate the vasorelaxation effects of volatile oil from herbal compress and herbal stream product in comparison with plai oil in the in vitro method of isolated rat aorta. The thoracic aorta were isolated from male Wistar rats (250-400g), and cut into rings of 5-7 mm in width. The aortic rings were suspended in organ bath containing Krebs-Henseleit solution (KHS) and connected to force transducer. The results showed that all of the tested materials induced relaxation of endothelium-intact and denuded rings pre-contracted with both phenylephrine (PE, 10 µM) and potassium chloride (KCl, 40 mM). Endothelium had influence on the vasorelaxation effect of volatile oil from herbal compress. All of the tested products (50 - 200 µg/ml) significantly inhibited the contraction induced by PE (10 µM), KCl (40 mM) in normal KHS and CaCl2 in high K+- Ca2+ free condition. Hence, these tested products interfered with the calcium flux into intracellular space. Furthermore, at 200 µg/ml these oils also inhibited the caffeine–induced aortic contraction. However, only volatile oil from herbal stream product could inhibit PE–induced contraction in Ca2+- free condition. These data suggested that these tested products partially interfered with Ca2+- release from its internal store. In addition, the mechanisms of vasorelaxation were investigated with the use of several vasorelaxant inhibitors. In endothelium-intact rings, the vasorelaxant effect of plai oil was reduced by L-NAME (100 µM) and methylene blue (10 µM), suggesting the role of NO-cGMP pathway. The vasorelaxant effect of volatile oil from herbal compress was reduced by glybenclamide whereas that from herbal stream product was reduced by tetraethylammonium. In endothelium-denuded rings, the vasorelaxant effect of volatile oil from herbal stream product was reduced by propranolol, suggesting the involvement of -receptor. Taken together, although the main component of volatile oils from herbal compress and herbal stream product was plai oil, these two types of volatile oils demonstrated its different mechanism of vasorelaxation. This might be due to other components in the products. From this study, volatile oil from herbal stream was the most potent vasorelaxant on vascular smooth muscle.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2008
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56551
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panissara Ari-am.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.