Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56754
Title: การวิเคราะห์กระบวนการประชาคมเพื่อพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่น
Other Titles: An analysis of civic movement for local education development
Authors: สกาวรัตน์ ไกรมาก
Advisors: อมรวิชช์ นาครทรรพ
ชนิตา รักษ์พลเมือง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Amornwich.N@chula.ac.th
chanita.r@chula.ac.th
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
การศึกษา -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
การศึกษา -- แง่สังคม
การพัฒนาชนบท
Education -- Citizen participation
Education -- Social aspects
Rural development
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการประชาคมเพื่อพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่น เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนและ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของกระบวนการประชาคมเพื่อพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่น และเพื่อนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อน กระบวนการประชาคมเพื่อพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่นโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบพหุกรณีศึกษา (Multiple-Case Study) ศึกษากับ กระบวนการประชาคม 2 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม จาก แหล่งข้อมูล 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประชาคม และกลุ่มโรงเรียนที่ได้รับการพัฒนา และอภิปรายกลุ่มเพื่อหาแนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการ ประชาคมเพื่อพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่น ผู้วิจัยประยุกต์ใช้แนวคิดการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม (Structuration Theory) ของ Anthony Giddens เป็นกรอบทฤษฎีในการวิเคราะห์งานวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การเกิดกระบวนการประชาคม ก (นามสมมติ) เกิดจาก 3 เงื่อนไข ได้แก่ 1) เงื่อนไขแกนนำและบุคคล ในท้องถิ่นมีศักยภาพ 2) เงื่อนไขประชาคมในท้องถิ่นมีความเข้มแข็งและก่อตัวมายาวนาน 3) เงื่อนไขท้องถิ่นมีประวัติศาสตร์การให้ ความสำคัญกับการศึกษา ซึ่งประชาคมมีการทำงานโดยใช้วิธีการประชุมในการสร้างความเข้าใจและวางแผนการทำงาน มีการระดมทุน ทรัพยากร การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับประชาคม มีการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และใช้ยุทธศาสตร์การทำงานที่ หลากหลาย เช่น การทำงานแบบร่วมมือ การเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐ และการใช้ครือข่ายการทำงาน ซึ่งประชาคมมีการดำเนินการ พัฒนาการศึกษาโดยการเตรียมความพร้อมด้านห้องเรียน สื่อ อุปกรณ์และพัฒนาบุคลากรโดยการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน การศึกษาระดับมัธยมศึกษา 3 โรงเรียนหลัก “Big Three Schools” เพื่อให้โรงเรียนเกิดความเท่าเทียมกัน มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ผลการ พัฒนาพบว่า โรงเรียนที่ได้รับการพัฒนากลายเป็นโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 2 หรือเรียกว่า “โรงเรียนดีใกล้บ้าน” ชุมชนมีความศรัทธาเชื่อถือ โรงเรียนโดยการนำลูกหลานกลับมาเรียนที่โรงเรียน โรงเรียนทั้ง 3 โรงเรียนมีการวางแผนรับนักเรียนร่วมกัน ชุมชนและโรงเรียนมี ปฏิสัมพันธ์ที่ดีและให้ความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษามากขึ้น การเกิดกระบวนการประชาคม ข (นามสมมติ) เกิดจาก 4 เงื่อนไข โดยมีเงื่อนไขที่คล้ายคลึงกับกระบวนการประชาคม ก 1 เงื่อนไข ได้แก่ การมีแกนนำในท้องถิ่นมีความเข้มแข็งและมีศักยภาพเข้ามากระตุ้นให้เกิดการรวมตัวกันและมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน 3 เงื่อนไข ได้แก่ 1) เงื่อนไของค์กรภายนอกท้องถิ่นเข้ามากระตุ้นให้เกิดการรวมตัวกัน 2) เงื่อนไขการจัดเวทีประชาคม และ 3) เงื่อนไข ท้องถิ่นมีบทเรียนด้านเศรษฐกิจและสังคมเป็นสิ่งเตือนใจ โดยมีการทำงานที่ใช้เวทีประชาคมในการสร้างความเข้าใจและวางแผนการทำงาน ร่วมกัน มีการระดมทุนจากภาคส่วนต่างๆ มีการใช้ยุทธศาสตร์การทำงานแบบมีส่วนร่วม ยุทธศาสตร์การทำงานแบบเพื่อนร่วมงาน ยุทธศาสตร์การนำศักยภาพที่เข้มแข็งของแต่ละภาคส่วนมาใช้ในการพัฒนา และยุทธศาสตร์การนำเครือข่ายของสมาชิกเข้าร่วม กระบวนการพัฒนา และการสร้างให้ประชาคมและโรงเรียนเป็นองค์กรเอื้อการเรียนรู้ ซึ่งส่งผลให้โรงเรียนเป็นองค์กรเอื้อการเรียนรู้คือ การ ทำให้บุคลากร ครู นักเรียน เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข โรงเรียนผ่าน เกณฑ์การประเมินของสำนักรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) สามารถจัดการศึกษาได้ตอบสนองความต้องการ ของผู้เรียนและท้องถิ่นได้ และโรงเรียนมีเครือข่ายการพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นที่กว้างขวางขึ้น ทั้งนี้มีปัจจัยที่สนับสนุนต่อการทำงานของประชาคมได้แก่ ปัจจัยด้านผู้นำ ปัจจัยการมีองค์กรภายในที่เข้มแข็ง การมีองค์กร ภายนอกเข้ามาสนับสนุน การมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การมีสมาชิกประชาคมที่หลากหลาย ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ กฎระเบียบการใช้ งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การมีวาระการทำงานจำกัดของสมาชิกประชาคม และการไม่มีองค์กรประสานที่ชัดเจน โดยมี แนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการประชาคมเพื่อพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่นที่พึงจะเป็นในอนาคต แบ่งเป็น 2 ส่วน 1) การขับเคลื่อนให้ เกิดกระบวนการประชาคม ได้แก่ การใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น การเปิดเวทีสาธารณะ การตั้งโครงการพิเศษเพื่อนำร่อง กระตุ้นให้หน่วยงาน หรือบุคคลในจังหวัดเป็นผู้นำ และเปิดให้องค์กรภายนอกเข้ามากระตุ้น 2) การขับเคลื่อนการทำงานของกระบวนการประชาคม เช่น การ เปิดพื้นที่การทำงานด้วยความเข้าใจระหว่างภาคส่วนต่างๆ มีศูนย์ประสานงานที่เข้มแข็ง มีเวทีประชาคมอย่างต่อเนื่องและมีการจัดการความรู้
Other Abstract: This multi-case study research aims to analyze the civic movements for local education Development, to study the supporting factors and obstacles related to such movement and to propose recommendation in support of civic movements for local education development by means of multi-case study research which involves 2 civic movements. The data were collected through participatory observation, in-depth interviews and focus-group discussions. The data were collected from 2 groups (1) The civic movement group (2) The educational group. The preliminary findings were presented to people concerned for a group discussion in order to arrive at appropriate ways and means to encourage civic movement for local education development. The research applied Structuration Theory by Anthony Giddens to analyze a situation. The result of this research can be summarized as follows: The civic movement A (pseudonym) was established from the result of 3 conditions (1) The potentiality of local leadership and community personnel (2) The established and strength local community movements (3) The importance of education in the local history. The working process for this movement is to organize meetings, plan and set up working infrastructure, gathering capital fund for investment and resource and Instill learning process to the community and the learning development and the exchange of information, the use of various strategy working process, coordinate to the government establishments and cooperative network. The community has managed the education development by building classrooms, prepare learning media and materials, train education personnel by supporting the development of education standard in 3 secondary level schools, the so-called the “ The Big Three Schools” So that all schools will have equality and share resource for the development. The outcome of the civic movement was the schools were developed and became the second face lab schools or “the best local school”. And the other founding is the community must trust and send their children to attend classes in those schools. This is due to the fact that the three schools planned their future work with the students. The community has good relationship and collaboration with the schools. The civic movement B (pseudonym) was established from 4 conditions in which the first was similar to that of civic movement A, i.e. there were determined and high potential local leaders who encourage the uniting of different groups, the other 3 conditions are different and they are (1) the outsource or external organization establishments are to encourage the uniting of the local community members (2) The public stage was used to express their opinions and (3) the condition that the local community has economic and social aspects as a reminder. It also worked together by using the community public stage to discuss views and opinions. All schools passed the evaluation from the office of the education standard and assessment (onesq). The ability to manage community education in accordance to the needs of the learners and the locals alike, and the schools have a wider scope network in local education development. The supporting factors of civic movement were consisted the leader, strong local organizations, external organizations support, knowledge sharing stage and many part of members. The obstacles were consisted of the rule of local organizations, limitation on community committee and non-concrete cooperation of the local organizations. Therefore, the community movement process must consist of local initiative (1) Initiatives to established a civic movement for problems with that the local coordinating office, set up some civic action or civic stages to enhance the continued development, set up pilot projects, and help the governor’s office or local developing units to be able to lead and keep an open mind for external organizations support (2) Initiatives for a civic movement working from an open area, a coordination center, setting up some civic stages and a knowledge management (KM) center.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56754
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.674
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.674
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sakaorat_kr_front.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
sakaorat_kr_ch1.pdf988.48 kBAdobe PDFView/Open
sakaorat_kr_ch2.pdf13 MBAdobe PDFView/Open
sakaorat_kr_ch3.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
sakaorat_kr_ch4.pdf14.1 MBAdobe PDFView/Open
sakaorat_kr_ch5.pdf6.88 MBAdobe PDFView/Open
sakaorat_kr_back.pdf4.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.