Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56767
Title: การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของบางชันช่วงปี พ.ศ. 2491 ถึงปัจจุบัน
Other Titles: The study of landscape changes in Bang Chan from 1949 A.D. to present
Authors: วชิร สอแสง
Advisors: ดนัย ทายตะคุ
ปฐมฤกษ์ เกตุทัต
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Danai.Th@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
madpitch@yahoo.com
Subjects: ภูมิทัศน์ -- ไทย -- บางชัน (กรุงเทพฯ)
การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ -- ไทย -- บางชัน (กรุงเทพฯ)
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- บางชัน (กรุงเทพฯ)
Landscapes -- Thailand -- Bang Chan (Bangkok)
Landscape changes -- Thailand -- Bang Chan (Bangkok)
Land use -- Thailand -- Bang Chan (Bangkok)
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นพลวัต (Dynamic) ตามธรรมชาติ ความพยายามในการเรียนรู้ และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์นั้นมีหลายวิธี แต่วิธีที่วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เลือกใช้คือ การทำแผนที่เชิงประวัติศาสตร์ (Historical mapping) ร่วมกับการใช้แผนภูมิลำดับเวลาหรือเส้นแนวเวลา (Timeline) ทั้งนี้ การศึกษาวิธีนี้จะเน้นที่การบ่งชี้หรือจำแนกลักษณะ (Characterization) ทางกายภาพของสภาพแวดล้อม ทั้งที่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (Anthropogenic environment) คือพื้นที่เมืองหรือพื้นที่ปลูกสร้าง (Urban or built-up area) ที่มีการเติบโตหรือมีการกลายเป็นเมือง ขยายไปในพื้นที่ชนบท (Rural) และที่เป็นธรรมชาติ (Natural environment) โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่รอยต่อเมืองกับชนบท (Urban-rural interface) โดยพื้นที่บางชันอันเป็นพื้นที่ประเภทดังกล่าวซึ่งกำลังเผชิญกับกระแสของการเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ ที่มาพร้อมกับกระบวนการกลายเป็นเมืองเป็นพื้นที่ศึกษา จากการศึกษา รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของพื้นที่ศึกษานั้นสามารถสังเกต และวัดค่าได้จากข้อบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ (1) พื้นที่เมืองหรือพื้นที่ปลูกสร้าง (2) พื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนา และ (3) พื้นที่ว่างรอการพัฒนา ทั้งนี้ข้อบ่งชี้ที่กล่าวมาสามารถวัดค่าในเชิงปริมาณ (Quantitative) จากแผนที่เชิงประวัติศาสตร์ที่ทำขึ้น และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ร่วมกับแผนภูมิลำดับเวลาทำให้สามารถสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของพื้นที่ศึกษานั้นมีสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญได้แก่ (1) การปรับปรุงการคมนาคมของส่งทางถนนระหว่างศูนย์กลางเมืองและชานเมือง โดยเฉพาะเส้นทางคมนาคมขนาดใหญ่และสำคัญ (2) การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในพื้นที่ศึกษา โดยเฉพาะที่เกิดจากการโยกย้ายจากภายนอกพื้นที่ตามการปรับปรุงการคมนาคมขนส่งดังกล่าว (3) การเปลี่ยนแผลงของสิ่งปกคลุมพื้นดินที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนที่พักอาศัย และการลงทุนในธุรกิจบ้านจัดสรรจำนวนมาก และ (4) ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจจะมีส่วนในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ในพื้นที่ศึกษา เช่น การเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินและแรงจูงใจในการขายที่ดิน แผน นโยบาย และกฎหมายที่ออกโดยภาครัฐ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินและการผังเมือง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพอื่นๆ ถึงแม้ว่าการศึกษานี้จะไม่สามารถหยุดยั้งการขยายตัวของเมือง หรือกระบวนการกลายเมืองในพื้นที่ศึกษาได้ แต่สิ่งสำคัญที่เป็นเป้าหมายของการศึกษานี้คือ การสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการคงอยู่ของพื้นที่บางชัน หรือพื้นที่รอยต่อเมืองกับชนบทอื่นๆ รวมถึงการมุ่งสร้างคำถามเพื่อต่อยอดทางความคิด และการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ ดังที่กล่าวมาในรายละเอียดเชิงลึกต่อไป
Other Abstract: Landscape change is a dynamic and natural phenomenon. Although, there are many methods to study and explain this phenomenon, in this study, historical mapping and timeline are selected to use to understand the changes in this study area. Historical mapping is the method concentrate in environmental characterization both anthropogenic area (urban or built-up area) and natural area (rural area). The study area, Bang Chan, is one of urban-rural interface or fringe area which is facing the rapid growth and urbanization. The area with the noticeable gradient of changes that caused by several factors which are part of urbanization processes. From the analysis findings, landscape change or land conversion of Bang Chan can be identified by indicators which are (1) Urban or built-up area (2) Agricultural area especially rice filed and (3) Other lands especially prospective lands for future uses. Such indicators mentioned can be indicated quantitatively by using series of historical maps which digitized from aerial photos and other supportive information. Coupling with timeline analysis, the results show that the factors affecting changes and changes characteristic might be (1) The improvement of transportation and logistic between CBD and fringe area especially the large and important highway, (2) Demographic growth especially from external immigration, (3) Land cover changes from the increase of many residential or housing estates and (4) Other relevant factors which might cause landscape changes such as land price, motivation of land trades, plans, policies and other land use and town planning legislations issued from government and socio-cultural, economic and other physical changes. Although this study may not stop urban growth or urbanization in Bang Chan and other area of type but the most important aim is to make awareness of the importance and existing of them and thus, to raise the questions for future in-depth and advances study in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56767
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.452
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.452
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wachira_so_front.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
wachira_so_ch1.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
wachira_so_ch2.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open
wachira_so_ch3.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open
wachira_so_ch4.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open
wachira_so_ch5.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open
wachira_so_ch6.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
wachira_so_back.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.