Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56871
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์-
dc.contributor.authorสมพิศ คุ้มบุญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-01-30T06:36:07Z-
dc.date.available2018-01-30T06:36:07Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56871-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบาดวิทยาของการเกิดแผลไหม้ในผู้ป่วยแผลไหม้ที่เข้ารับการรักษาหอผู้ป่วยศัลยกรรมไฟไหม้น้ำร้อนลวกวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี (1มกราคม 2546 - 30 ธันวาคม 2550 ) ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยแผลไหม้จำนวน 265 คน เพศชายมากกว่าเพศหญิงในอัตราส่วน1.67:1 อายุเฉลี่ย 28.7 ปี อายุ15-50 ปีพบมากสุด ร้อยละ 52.5 สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 68.5 ไม่มีรายได้ร้อยละ 20 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ รับจ้างร้อยละ 39.6 รายได้เฉลี่ย 7,293 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าร้อยละ 56.6 มีโรคประจำตัวร้อยละ 23.8 มีการรับ ย้ายร้อยละ 38.9 ชนิดแผลไหม้ที่พบมากที่สุดคือ แผลไหม้จากน้ำร้อนลวกร้อยละ 52.8 รองลงมาคือ แผลไหม้จาก เปลวไฟร้อยละ 33.1 สถานที่เกิดในบ้านมากที่สุด ร้อยละ 64.5 สาเหตุเกิดจาก น้ำร้อนลวกร้อยละ 44.2 ระดับความ รุนแรงแผลไหม้ส่วนใหญ่เป็นระดับปานกลาง ร้อยละ 49.4 ขนาดพื้นที่แผลไหม้ โดยเฉลี่ย 19.2 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผิว ร่างกายทั้งหมด ช่วงเวลาที่เกิดแผลไหม้มากที่สุดคือ 12.01-18.00 น.ร้อยละ 28.3 ช่วงเวลาที่เข้ารับการรักษามากที่สุดคือ 12.01-18.00 น. แต่ละปีผู้ป่วยเข้ารับ การรักษาจากสาเหตุแผลไหม้ เฉลี่ย 53 คน ส่วนมากพบในเดือน กันยายน การแปรผันตามฤดูกาลไม่มี ความสำคัญต่อการเกิดแผลไหม้ ระยะวันนอนในโรงพยาบาลเฉลี่ย 28.9 วัน (พิสัย 1-279 วัน) ค่ามัธยฐานระยะวันนอนในโรงพยาบาลสูงสุดของผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงแผลไหม้รุนแรงมาก คือ 49.2 วัน ชนิดแผลไหม้จากสารเคมีพบว่ามีค่ามัธยฐานระยะวันนอนในโรงพยาบาลสูงที่สุด 52.5 วัน อัตราการเสียชีวิตรวมร้อยละ 6.4 (95%CI : 3.8%-10.1%) โดยพบว่าระดับแผลไหม้ที่มีระดับความรุนแรงมาก เสียชีวิตสูงที่สุดร้อยละ 17.1 ชนิดแผลไหม้จากเปลวไฟเสียชีวิตสูงที่สุดร้อยละ 14.1 สาเหตุการเสียชีวิตโดยตรงจากภาวะติดเชื้อในกระแส โลหิตสูงที่สุดร้อยละ 76.4 จากการศึกษาพบว่าชนิดของแผลไหม้ และ ระดับความรุนแรงของแผลไหม้มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) ชนิดของแผลไหม้ และระดับความรุนแรงของแผลไหม้มีความแตกต่างกัน ในเรื่องของระยะวันนอนในโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.01) นอกจากนี้ยังพบว่าระดับความรุนแรงของแผลไหม้กับการเสียชีวิตมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.01) ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานด้านข้อมูลพื้นฐานทางระบาดวิทยา เพื่อใช้ในการวางแผน การดูแลผู้ป่วยแผลไหม้ตามระดับความรุนแรงการเกิดแผลไหม้ และชนิดแผลไหม้ รวมทั้งทำให้ได้รูปแบบการเก็บข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการศึกษาถึงระบาดวิทยาของการเกิดแผลไหม้ต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThis retrospective descriptive study aimed to describe the epidemiological characteristics of females, with a ratio of male to female of 1.67:1 and average age of 28.72 More than half (52.5%) were in the age of 15 to 50 years. Most of them were married (68.5%), average income was 7,293 Baht/month and 38.9 % of patients were admitted by referring to the burn unit. Scalds resulted in 140 admittants (52.3%) and flame burns accounted for 85 admittants (32.1%).The majority of burn injuries (64.5%) occurring in home place. Majority severe had moderate burn 131 patients (49.4%). The mean extent of burn was 19.2% of total body surface. Most accident occurred during 12.01-18.00 hrs. (28.3%) and the most frequent time of admission was during 12.01-18.00 hrs.(46.4%).An average annual admission was 53 patients per year and mostly in September (12.1%). The mean length of hospital stay was 28.9 days (ranged from 1 to 279 days) but duration of hospitalization was prolonged in severity and type of severe burns was 59.2 days while Chemical burn was 52.5 days. It was found that the overall mortality rate was 6.4% (95%CI: 3.8%-10.1%). Class burns of severity by major burns and flames burns accounted for 17.1% and 14.1% of mortality, respectively, and sepsis is the leading cause of death (76.4%). The relationship between type of burn and severity of burn was statistically significant (p-value<0.01) Length of hospital stay were statistically significant different (p-value<0.01) among type of burn and class burn of severity. In addition, the association between class burn of severity and mortality were also statistically significant (p-value<0.01). These findings could be applied as the epidemiological baseline data in planning for health care in burn patients according to severity and type of burn. Furthermore, the appropriate data collection should be designed for study in epidemiology of burn prevention in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2067-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแผลไหม้en_US
dc.subjectระบาดวิทยาen_US
dc.subjectBurns and scaldsen_US
dc.subjectEpidemiologyen_US
dc.titleระบาดวิทยาของผู้ป่วยแผลไหม้ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมไฟไหม้น้ำร้อนลวก วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาลen_US
dc.title.alternativeEpidemiology of burn patients in Burn Unit : Bangkok Metropolitan Administration Medical College and Vajira Hospitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเวชศาสตร์ชุมชนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsomrat@md.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.2067-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sompis_ko_front.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
sompis_ko_ch1.pdf902.5 kBAdobe PDFView/Open
sompis_ko_ch2.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open
sompis_ko_ch3.pdf704.22 kBAdobe PDFView/Open
sompis_ko_ch4.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open
sompis_ko_ch5.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
sompis_ko_back.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.