Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56917
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการยอมรับนับถือ การมีปฏิสัมพันธ์อย่างยุติธรรมกับความไว้วางใจในหัวหน้าหอผู้ป่วยของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคกลาง
Other Titles: Relationships between respect, interactional justice, and trust in head nurses among staff nurses,gerneral hospitals, central region
Authors: นลินี เนตรยัง
Advisors: พวงเพ็ญ ชุณหปราณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Paungphen.C@Chula.ac.th
Subjects: หัวหน้าพยาบาล
พยาบาล -- ทัศนคติ
ภาวะผู้นำ
Nurse administrators
Nurses -- Attitudes
Leadership
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความไว้วางใจในหัวหน้าหอผู้ป่วยของ พยาบาลประจำการ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคกลาง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการยอมรับนับถือ การมีปฏิสัมพันธ์อย่างยุติธรรม กับความไว้วางใจในหัวหน้าหอผู้ป่วยของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลประจำการ จำนวน 368 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามความไว้วางใจในหัวหน้าหอผู้ป่วยแบบสอบถามการยอมรับนับถือ และแบบสอบถามการมีปฏิสัมพันธ์ อย่างยุติธรรม ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และคำนวณค่าความเสี่ยง โดยมีค่า สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .98, .95, .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความไว้วางใจในหัวหน้าหอผู้ป่วยของพยาบาล ประจำการ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคกลาง อยู่ในระดับสูง (X- = 4.10) 2. การได้รับการยอมรับนับถือ มีความสัมพันธ์ ทางบวกระดับปานกลาง กับความไว้วางใจในหัวหน้าหอผู้ป่วย (r = .63) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. การมี ปฏิสัมพันธ์อย่างยุติธรรม มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง กับความไว้วางใจในหัวหน้าหอผู้ป่วย (r = .83) อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purposes of this descriptive correlational research were to study the level of trust in head nurses, and to investigate the relationships between respect, interactional justice, and trust in head nurses among staff nurses, General Hospitals, Central Region. The research subjects consisted of 368 staff nurses selected by multi-stage sampling technique. Research instruments were trust in head nurses, respect and interactional justice questionnaires. The questionnaires were examined by a panel of expert for their content validity. The demonstrated acceptable Cronbach’s alpha coefficients at .98, .95, and .97, respectively. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient. Major findings were as follows : 1. Trust in head nurses among staff nurses, General Hospitals, Central Region was at the high level (X- = 4.10) 2. There was significantly positive relationship between respect and trust in head nurses among staff nurses, General Hospitals, Central Region at the .01 level. ( r = .63) 3. There was significantly positive relationship between interactional justice and trust in head nurses among staff nurses, General Hospitals, Central Region at the .01 level. (r = .83)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56917
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1431
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1431
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nalinee_ne_front.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
nalinee_ne_ch1.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
nalinee_ne_ch2.pdf5.9 MBAdobe PDFView/Open
nalinee_ne_ch3.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
nalinee_ne_ch4.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
nalinee_ne_ch5.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
nalinee_ne_back.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.