Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56999
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชุลี อาชวอำรุง-
dc.contributor.advisorเชาว์ โรจนแสง-
dc.contributor.authorสมคะเน ค้ำจุน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2018-02-12T15:16:15Z-
dc.date.available2018-02-12T15:16:15Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745670561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56999-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractวัถตุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเกี่ยวกับการสอนของอาจารย์สอนเสริม รวม 5 ด้าน คือ ด้านบุคลิกภาพ การสอน ความสัมพันธ์กับนักศึกษา ทัศนคติต่อชุดวิชาและสาขาวิชาที่สอน และภารกิจอื่นนอกเหนือจากการสอน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเกี่ยวกับการสอนของอาจารย์สอนเสริมทั้ง 5 ด้าน ตามตัวแปรอิสระคือ เพศ อายุ พื้นความรู้เดิม สาขาวิชาที่ศึกษา และจำนวนครั้งที่เข้ารับการสอนเสริม วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ลงทะเบียนเรียนประจำภาคปลาย ปีการศึกษา 2528 และเข้ารับการสอนเสริม ณ ศูนย์บริการการศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดยวิธีการสุ่มตัวอย่าง (Simple Random Sampling) ในอัตราส่วนร้อยละสิบ จำนวนรวมทั้งสิ้น 574 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและผ่านการทดลองใช้ (Try-Out) กับนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง 50 คน แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ปรากฎว่าแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ส่งและรับแบบสอบถามกลับคืนจากกลุ่มตัวอย่างตนเอง และได้รับแบบสอบถามคืนทั้งสิ้น 543 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94.59 แล้วนำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เอสพีเอสเอส (SPSS) เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของสองกลุ่มตัวอย่างด้วยที-เทสต์ ผลการวิจัย 1. นักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีความคิดเห็นเกี่ยกับการสอนของอาจารย์สอนเสริมในเกณฑ์ดีทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับมากน้อยคือ ด้านบุคลิกภาพ ([x-bar]-=4.25) ด้านทัศนคติต่อชุดวิชาและสาขาวิชาที่สอน ([x-bar]=4.17) ด้านการสอน ([x-bar]=4.00) ด้าน ความสัมพันธ์กับนักศึกษา ([x-bar]=3.95) และด้านภารกิจอื่นนอกเหนือจาการสอน ([x-bar]=3.70) 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเกี่ยวกับการสอนของอาจารย์สอนเสริม รวม 5 ด้าน ตามตัวแปรคือ เพศ อายุ พื้นความรู้เดิม สาขาวิชาที่ศึกษา และจำนวนครั้งที่เข้ารัรบการสอนเสริม 2.1 นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นด้านทัศนคติต่อชุดวิชาและสาขาวิชาที่สอน และด้านภาระกิจอื่นนอกเหนือจากการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในด้านบุคลิกภาพ การสอน และความสัมพันธ์กับนักศึกษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.2 นักศึกษาที่มีกลุ่มอายุต่างกัน มีความคิดเห็นด้านบุคลิกภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในด้านการสอน ความสัมพันธ์กับนักศึกษา ทัศนคติต่อชุดวิชาและสาขาวิชาที่สอน และภาระกิจอื่นนอกเหนือจากการสอน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.3 นักศึกษาที่มีพื้นฐานความรู้เดิมต่างกัน มีความคิดเห็นด้านบุคลิกภาพ ทัศนคติต่อชุดวิชาและสาขาวิชาที่สอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนในด้านการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในด้านความสัมพันธ์กับนักศึกษา และภารกิจอื่นนอกเหนือจากการสอนไม่แตกต่างกันยอ่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.4 นักศึกษาที่ศึกษาสาขาวิชาต่างกันมีความคิดเห็นในด้านบุคลิกภาพการสอน ความสัมพันธ์กับนักศึกษา ทัศนคติต่อชุดวิชาและสาขาวิชาที่สอน และภารกิจอื่นนอกเหนือจากการสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.5 นักศึกษาที่เข้ารับการสอนเสริมต่างกัน มีความคิดเห็นด้านทัศนคติต่อชุดวิชาและสาขาวิชาที่สอน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในด้านบุคลิกภาพการสอน ความสัมพันธ์กับนักศึกษา และภาระกิจอื่นนอกเหนือจากการสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ3. ลักษณะของอาจารย์สอนเสริมที่ดีตามความคิดเห็นของนักศึกษา คือ 3.1 มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนกว้างขวาง แม่นยำ และทันสมัย 3.2 ตรงต่อเวลา 3.3 เตรียมการสอนและมีทักษะในการสอน 3.4 เข้าใจสภาพของนักศึกษาและความแตกต่างระหว่างบุคคล 3.5 ยกย่องและให้เกียตรนักศึกษา 3.6 ลักษณะการบรรยายน่าสนใจ พูดชัดเจน เข้าใจง่าย 3.7 กระตือรือร้น ตื่นตัวอยู่เสมอ 3.8 มีมนุษยุ์สัมพันธ์ดี ให้ความสนใจนักศึกษาอย่างทั่วถึง 3.9 ให้คำแนะนำและปรึกษาเพิ่มเติมนอกเวลาสอนได้ 3.10 มีอารมณ์ขัน ไม่เครียด ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะต่อมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 1. มหาวิทยาลัยควรจัดให้มีการประเมินการสอนของอาจารย์สอนเสริมอย่างต่อเนื่อง ทั้งในมิติที่กว้างและลึก ทั้งนี้เพราะอาจารย์สอนเสริมเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อกระบวนการจัดกิจกรรมการสอนเสริม 2. มหาวิทยาลัยควรจัดให้มีการสัมมนาอาจารย์สอนเสริมอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาในด้านองค์ประกอบต่างๆ ที่ส่งผลให้การสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3. มหาวิทยาลัยควรจัดให้มีหน่วยงานพัฒนาอาจารย์สอนเสริม เพื่อให้ได้อาจารย์สอนเสริมที่มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน 4. มหาวิทยาลัยควรจัดหรือสนับสนุนให้อาจารย์สอนเสริมได้ปฏิบัติภารกิจอื่นนอกเหนือจากการสอนเสริมเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม 5. มหาวิทยาลัยควรจัดและสนับสนุนให้ศูนย์บริการการศึกษา ปฎิบัติหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือและแนะนำนักศึกษาในด้านเกี่ยวกับการเรียนการสอนในระบบการสอนทางไกล ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย 1. ควรศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์สอนเสริมเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ 2. ควรศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์สอนเสริมเกี่ยวกับการสอนของอาจารย์สอนเสริม 3. ควรศึกษาและจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการสอนเสิรม 4. การศึกษาเปรียบเทียบการสอนของอาจารย์สอนเสริมโดยจำแนกตามสาขาวิชา 5. ควรศึกษาเปรียบเทียบผลที่ได้จาการสอนเสริมของนักศึกษาโดยจำแนกตามสาขาวิชา 6. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนของนักศึกษา 7. ควรศึกษาปัญหาในการบริหารงานศูนย์บริการศึกษาen_US
dc.description.abstractalternativePurposes : 1. To study opinions of Sukhothai Thammathirat Open University students concerning tutors’ instruction in 5 aspects : personality, instruction, students’ relations, attitudes towards courses and study fields, and tasks other than instruction. 2. To compare opinions of Sukhothai Thammathirat Open University students concerning tutors instruction in 5 aspects according to these variables : sex, age, educational background, study field, and number of attending tutorial instruction. Methodology The sample used in this study included Sukhothai Thammathirat Open University students who registered in second semester of Academic Year 1985, and attended the tutorial instruction at the Educational Service Centre in Bangkok. The sample was chosen at a simple random sampling from the total, making 574 in number. The instrument used for collecting data was the five-point-rating questionnaire constructed by the researcher with experts’ consultancy and a try-out with 50 students who were not included in the sample. The result of the try-out analyzed by the Alpha Coefficient, and the total validity of the questionnaire was 0.94. The researcher sent and collected the questionnaire forms to the respondents by himself, and 543 copies were obtained, or 94.59 of the total. The data were computerized by SPSS for frequency, percentage, means, standard deviation, and the difference between means by the t-test. Findings 1. The students of Sukhothai Thammathirat Open University had opinions in tutors’ instruction at a high level in all aspects in the following order: personality ([mean] = 4.25), attitudes towards courses and study fields ([mean] = 4.17), instruction (4.00), students’ relations ([mean] = 3.95), and tasks other than instruction ([mean] = 3.70) 2. In comparison of Sukhothai Thammathirat Open University Students’ opinions concerning tutors’ instruction in 5 aspects according the sex, age, educational background, study field, and number of attending tutorial instruction it was found as follows : 2.1 Students with different sexes had different opinions in attitudes towards courses and study fields with statistical significance at a .05 level, while in aspects of personality, instruction, and students’ relations it did not show significant difference. 2.2 Students in different age groups had different opinions in the aspect of personality with statistical significance at a .05 level, while in aspects of instruction, students’ relations, attitudes towards courses and study fields, and tasks other than instruction it did not show significant difference. 2.3 Students with different backgrounds had different opinions in aspects of personality, and attitudes towards courses and study fields with statistical significant at a .01 level. In the aspect of instruction there was significant difference at a .05 level, while in the aspects of students’ relations and tasks other than instruction it did not show significant difference. 2.4 Students with different study fields had different opinions in aspects of personality, instruction, students’ relations, attitudes towards courses and study field, and tasks other than instruction with no statistically significant difference. 2.5 Students with different numbers of attending tutorial instruction had different opinions in the aspect of attitudes towards courses and study fields-with statistical significance at a .05 level, while in aspects of personality, instruction, students’ relations and tasks other than instruction it did not show significant difference. 3. Characteristics of the tutors as viewed by the students were as follows: 3.1 Having broad, accurate and up-to-date knowledge in the subject. 3.2 Being Punctual 3.3 Having preparation and skills in teaching. 3.4 Understanding students’ conditions and individual differences. 3.5 Respecting students 3.6 Having interesting, clear and easily understandable lecture styles. 3.7 Being Enthusiastic and active 3.8 Having good human relations and taking interest in all students. 3.9 Giving additional advice to students outside instructional time. 3.10 Having sense of humour and without tension. Suggestions To Sukhothai Thammathirat Open University 1. The University should constantly evaluate the tutors’ instruction both in broad and deep dimensions, because the tutors are very important for tutorial activities. 2. The University should constantly conduct seminars for the tutors with consideration of various factors that will increase effectiveness of instruction. 3. The University should set up the staff development unit for tutors in order to increase effectiveness of the tutors and have the same or similar standards. 4. The University should consider the tutors from the University and university staff who helped in preparing textbooks as the first priority, and other staff members with expertise in the fields as the second priority. 4. The University should assign or encourage the tutors to do tasks other than tutorial instruction. 5. The University should organize and support for the Education Service Centres to render services in helping and guiding students related to distance education of the University for direct benefits of the students. For further research 1. Should study opinions of the tutors concerning effectiveness of the tutors. 2. Should compare opinions between students and tutors concerning tutors’ instruction. 3. Should study and set priorities for factors effecting effectiveness of tutorial instruction. 4. Should compare tutors’ instruction among various study fields. 5. Should compare advantages of attending tutorial instruction among various study fields. 6. Should study factors effecting students’ success. 7. Should conduct studies on problems in relation to administration of the Education Service Centres.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช -- นักศึกษาen_US
dc.subjectนักศึกษา -- ทัศนคติen_US
dc.subjectการสอนในมหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสอนเสริมen_US
dc.subjectSukhothai Thammathirat Open University -- Studentsen_US
dc.subjectStudents -- Attitudesen_US
dc.subjectCollege teachingen_US
dc.subjectTutors and tutoringen_US
dc.titleความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่เกี่ยวกับการสอนของอาจารย์สอนเสริมen_US
dc.title.alternativeSukhothai Thammathirat Open University students' opions concerning tutors' instructionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorapornchu@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somkane_kh_front.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open
Somkane_kh_ch1.pdf772.99 kBAdobe PDFView/Open
Somkane_kh_ch2.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open
Somkane_kh_ch3.pdf513.27 kBAdobe PDFView/Open
Somkane_kh_ch4.pdf6.58 MBAdobe PDFView/Open
Somkane_kh_ch5.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open
Somkane_kh_back.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.