Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57262
Title: การพัฒนาชุดตรวจกรองอิมมูโนโครมาโทกราฟิกด้วยอนุภาคนาโนทองสำหรับฮีโมโกลบินอี
Other Titles: Development of Gold Nanoparticle-Based Immunochromatographic Screening Test Kit for Hemoglobin E
Authors: ศักดิ์ชัย ยินดีฉัตร
Advisors: อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์
โรจน์ฤทธิ์ โรจนธเนศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Amornpun.S@Chula.ac.th
Rojrit.R@Chula.ac.th
Subjects: การตรวจคัดโรค
อนุภาคนาโน
ฮีโมโกลบิน
Medical screening
Nanoparticles
Hemoglobin
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดตรวจกรองอิมมูโนโครมาโทกราฟิกด้วยอนุภาคนาโนทองสำหรับฮีโมโกลบินอีและศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาด โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ การสำรวจการยอมรับต่อแนวความคิดของผลิตภัณฑ์ด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 50 โรงพยาบาล การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ การสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นกับผู้ทรงคุณวุฒิ และการศึกษาความเป็นไปได้ในการออกสู่เชิงพาณิชย์ ผลจากการสำรวจการยอมรับของผู้บริโภคต่อแนวความคิดของผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะทำการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ พบว่า ร้อยละ 60 ของผู้บริโภคให้การยอมรับในผลิตภัณฑ์นี้ และร้อยละ 38 ไม่แน่ใจจนกว่าจะได้ทดลองใช้ หลังจากนั้นจึงทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบขึ้น โดยทำการศึกษาชุดตรวจคัดกรองฮีโมโกลบินอี ในการตรวจหาตำแหน่งทางพันธุกรรมที่ผิดปกติซึ่งพบในโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิด ฮีโมโกลบิน อี โดยอาศัยการทำงานของพีเอ็นเอและอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตร พบว่า หลังจากหยดดีเอ็นเอจากตัวอย่างเลือดของผู้ป่วย 10 ไมโครลิตรลงในชุดตรวจ จำนวน 29 ราย โดยแบ่งเป็นตัวอย่างดีเอ็นเอจากเลือดของคนปกติ 10 ราย และคนที่มีฮีโมโกลบิน อีแฝงอยู่ 19 รายซึ่งเป็นชนิด EA 17 ราย EE 2 ราย นำมาทดสอบเปรียบเทียบระหว่าง Hb E strip กับ DCIP และการทำ Hb Typing เพื่อเป็นการควบคุมการทดลอง จะพบแถบสีเทาเกิดขึ้นบนแผ่นทดสอบ ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าวสามารถรายงานผลได้ว่าลักษณะยีนเป็นพันธุ์แท้ฮีโมโกลบินอี หรือพาหะของฮีโมโกลบินอี ใช้เวลาในการทดสอบประมาณ 10 นาทีซึ่งเร็วกว่าวิธีเดิมที่มีตรวจในปัจจุบันโดยวิธีชีวเคมี DCIP ทั้งการตรวจแยกชนิดฮีโมโกลบิน ผลที่ได้มีความถูกต้อง 100% ความแม่นยำ100%และความจำเพาะต่อโรค 100% เป็นเทคโนโลยีระดับพันธุกรรมที่ทันสมัยได้ผลที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ชุดตรวจคัดกรองHb E Strip นี้มีความน่าสนใจที่จะประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือตรวจคัดกรองฮีโมโกลบิน อี ต่อไปในอนาคตได้ การสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นกับผู้ทรงคุณวุฒิเป็น พบว่า ผลิตภัณฑ์นี้น่าสนใจและเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถตรวจได้ถึงระดับพันธุกรรม สนใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์นี้มาทดลองใช้หากมีการวางจำหน่าย ซึ่งผลที่ได้ข้างต้นบ่งชี้ว่าการนำเอานวัตกรรมผลิตภัณฑ์นี้ออกสู่เชิงพาณิชย์มีความเป็นไปได้ และจากการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการตลาด พบว่าผลิตภัณฑ์นี้มีโอกาสในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใหม่ไม่เคยมีการผลิตเกิดขึ้นในประเทศไทย และมีความโดดเด่นในด้านนวัตกรรมสามารถแก้ปัญหาวิธีการทดสอบแบบเดิม มีมูลค่าตลาดที่ใหญ่ คู่แข่งขันน้อยโอกาสเติบโตทางธุรกิจมีสูง สำหรับการวางแผนกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ ผู้วิจัยได้เสนอให้ออกผลิตภัณฑ์สู่ตลาดภายใต้สโลแกนที่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ชุดตรวจโรคที่สามารถตรวจกรองฮีโมโกลบิน อีได้ถึงระดับพันธุกรรม และมีความถูกต้องและความจำเพาะสูง และควรกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักคือหญิงตั้งครรภ์ทุกคน (ANC) และคู่สมรสเพื่อหาคู่เสี่ยง เพื่อการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด PND (Prenatal Diagnosis)
Other Abstract: The purposes of this research were to develop the prototype of a rapid immunochromatographic lateral flow test strip (Hb E Strip) and to study its feasibility. The study was divided into 4 parts as surveying product concept acceptance from a sample group of 50 medical technologist in Bangkok and nearby hospitals area by using questionnaires, developing the prototype, market testing with expert people in this field and studying commercialization feasibility. Results from the survey of product concept acceptance before development of the prototype show that 60 % of consumers were interested in this product and 38% wanted to try using before discussions. After that, Hb E Strip of PNA assays has been developed by using a gold-conjugated DNA for the purpose of testing pathogenic of Thalassemic disease variant called Hemoglobin E disease. DNA samples used in this experiment are totally 29 samples, 10 samples were negative and 19 were positive for Hb E disease. We compared Hb E strip results with those from the biochemical DCIP assay and hemoglobin typing method. The Hb E strip can indicate whether s/he has homozygous E or heterozygous E as same as the gold standard Hemoglobin typing. Moreover, the Hb E strip is faster than other current methods, The results of Hb E strip shows high accuracy (100%), sensitivity (100%) and specificity (100%). Our newly developed method based on the advance of technology provides advantages of simplicity, high possibility to develop a screening method for Hemoglobin E disease detection in the future. The results of this preliminary testing on the prototype convinced the expert people in this field to be interested in purchasing this product when the products will be launched. These indicate that there are the possibilities to bring this innovative product to the commercial due to its novelty in diagnostic potential, wide range of target groups, few competitors and high opportunity to growth in the healthcare market. For the product strategic planning, the product was proposed to market under the “Hb E strip” brand with high efficiency of accuracy, sensitivity, specificity in genetic detection. The product should be contributed to groups of consumers such as people undergoing antenatal care, family planning and prenatal diagnosis in hospital.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57262
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakchai Yindeeshart.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.