Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58089
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์-
dc.contributor.advisorรัชนี ขวัญบุญจัน-
dc.contributor.authorพงษ์เกษม สิงห์รุ่งเรือง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-04-11T01:31:11Z-
dc.date.available2018-04-11T01:31:11Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58089-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการเพื่อลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยบูรณาการแนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญา 2) ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมกิจกรรมนันทนาการเพื่อลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยบูรณาการแนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญา และ 3) เปรียบเทียบผลของโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการเพื่อลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยบูรณาการแนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอาชีวศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เทคโนโลยีช่างกลพณิชยการนครราชสีมา จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม จัดเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทุกคน เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการด้วยความสมัครใจตามโปรแกรมที่ผู้วิจัยได้ออกแบบ ใช้เวลาการทดลองทั้งหมด จำนวน 16 ครั้ง โดยกลุ่มทดลองเป็นการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมกิจกรรมนันทนาการเพื่อลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยบูรณาการแนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญา 2) แบบวัดพฤติกรรมความก้าวร้าว การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยให้นักเรียนตอบแบบวัดพฤติกรรมความก้าวร้าวก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance ANCOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ตามวิธีของตูกีเอ (Turkey’s a) ผลการวิจัยพบว่า 1. ได้โปรแกรมกิจกรรมนันทนาการเพื่อลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยบูรณาการแนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่มีคุณภาพ มีค่า IOC (Index of Congruence) เท่ากับ 0.98 ประกอบด้วยเทคนิคการพูดกับตนเองในทางที่ดี เทคนิคการหยุดความคิด เทคนิคการตั้งเป้าหมาย เทคนิคการคิดไปข้างหน้า เทคนิคการหายใจ- การนับในใจ และเทคนิคการเสริมแรงทางบวก 2. ผลการทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียนอาชีวศึกษา ก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล ของกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการทดลองมีพฤติกรรมความก้าวร้าวลดน้อยลงมากกว่าระหว่างการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล และระหว่างการทดลองมีพฤติกรรมความก้าวร้าวมากกว่าหลังการทดลอง 3. หลังการทดลองใช้โปรแกรมกิจกรรมนันทนาการเพื่อลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยบูรณาการแนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญา พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความก้าวร้าวน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการโดยบูรณาการแนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญาสามารถลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียนอาชีวศึกษา-
dc.description.abstractalternativeThe research aims to 1) develop recreational activity program to reduce aggressive behaviors of vocational school students by integrating the cognitive behavior modification approach 2) study the results of the recreational activity program and 3) compare the results of the recreational activity program applied to a sample group of 60 vocational school students which were divided into 30 students of experimental group and 30 students of control group. The sample group was chosen by purposive selection and voluntarily participated the designed 6- week recreational activity program (16 times of the experiment). The research instruments consisted of 1) the recreational activity program and 2) the aggressive behavior test. The experiment was conducted and the data were then selected before, during and after the experiment including follow-up. Results of the tests were statistically analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, Analysis of Covariance (ANCOVA) and Turkey’s a. method. The research findings were as follows: 1.The recreational activity program developed to reduce aggressive behaviors of vocational school students by integrating the cognitive behavior modification approach was qualified with IOC (Index of Congruence) equaled to 0.98 which consisted of positive self- talk, thought stopping, goal setting, forward thinking, breath counting technique and positive reinforcement. 2. Mean scores of the experimental group were found significantly different at the .05 level among and before, during, after and follow-up periods of experiment. The aggressive behaviors of the subjects were less than before the experiment. 3. After applying the recreational activity program, the mean score of the experimental group were significantly less than of the control group at .05 level. This suggests that applying develop recreational activity program to reduce aggressive behaviors of vocational school students by integrating the cognitive behavior modification approach is effective.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1224-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการเพื่อลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยบูรณาการแนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญา-
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF A RECREATIONAL ACTIVITY PROGRAM TO REDUCE AGGRESSIVE BEHAVIORS OF VOCATIONAL SCHOOL STUDENTS BY INTEGRATING THE COGNITIVE BEHAVIOR MODIFICATION APPROACH-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineสุขศึกษาและพลศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorAimutcha.W@Chula.ac.th,Aimutcha.w@chula.ac.th-
dc.email.advisorRajanee.Q@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1224-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484266227.pdf5.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.