Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58236
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อังสนา บุณโยภาส | - |
dc.contributor.advisor | สราวุธ รุ่งเมฆารัตน์ | - |
dc.contributor.author | รตินันท์ วิรัชติ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-04-11T01:34:09Z | - |
dc.date.available | 2018-04-11T01:34:09Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58236 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | วัชพืชเป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในพื้นที่ที่ไม่ต้องการ มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพแวดล้อม และบางชนิดมีดอกสวยงาม ภูมิสถาปนิกตระหนักถึงประโยชน์ของวัชพืชและได้นำมาใช้ในงานภูมิทัศน์ แต่ยังไม่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากยังมีความรู้ไม่เพียงพอ การศึกษานี้จึงมีเป้าหมายที่จะเพิ่มโอกาสให้ ภูมิสถาปนิกนำวัชพืชมาใช้ให้มากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาแนวคิด วิธีการ และอุปสรรคในการนำวัชพืชมาใช้งานภูมิทัศน์ สร้างความรู้ความเข้าใจในคุณลักษณะของวัชพืช ข้อจำกัด ปัญหา การแก้ไข และเสนอแนะแนวทางในการนำวัชพืชมาใช้ในงานออกแบบงานภูมิทัศน์ ในส่วนของขั้นตอนการดำเนินงานประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของวัชพืช แนวคิดในการนำมาใช้งาน และกรณีศึกษาการใช้วัชพืชในงานภูมิทัศน์ต่างประเทศ ส่วนที่ 2 การสัมภาษณ์ภูมิสถาปนิกและผู้ก่อสร้างจำนวนรวม 12 บริษัท ถึงแนวคิดและวัตถุประสงค์ในการใช้งานวัชพืช ชนิดที่ใช้ ประสบการณ์ในการปลูก ดูแลรักษา ปัญหา และการแก้ไข ส่วนที่ 3 การสำรวจภาคสนามโครงการภูมิทัศน์ที่ใช้งานวัชพืชเป็นหลัก 3 โครงการ ส่วนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล การใช้งานและปัญหาที่เกิดขึ้นในงานภูมิทัศน์ โดยนำปัญหาที่ไม่สามารถหาความกระจ่างได้มาสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านวัชพืช และ ส่วนที่ 5 การสรุปและเสนอแนะแนวทางการนำวัชพืชมาใช้ในงานออกแบบภูมิทัศน์ ผลการศึกษาพบว่า ภูมิสถาปนิกไทยใช้วัชพืชในโครงการกึ่งสาธารณะ เนื่องจากขึ้นได้ดีในพื้นที่ ดูแลรักษาต่ำ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ สวยงาม และเป็นพืชสมุนไพร โดยแบ่งตามปัญหาการใช้งานได้ 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีวางขายในตลาดต้นไม้ กลุ่มที่ไม่มีวางขายในตลาดต้นไม้ และกลุ่มวัชพืชร้ายแรง โดยปัญหาเกิดในสองกลุ่มหลังนี้ อาทิ ไม่สามารถคาดการณ์อัตราและระยะเวลาการงอกของเมล็ดได้ มีการแห้งตายเกิดขึ้น มีการแพร่กระจายและการรุกราน ควบคุมให้เติบโตแน่นแบบเป็นผืนพรมได้ยาก ไม่สามารถสร้างทุ่งดอกไม้ที่คงทนคล้ายในธรรมชาติได้ เป็นต้น โดยการศึกษาเสนอแนวทางการใช้วัชพืชในงานออกแบบภูมิทัศน์ ดังนี้ เนื่องจากเมล็ดวัชพืชมีระยะพักตัวที่ยาว หากมีเวลาจำกัดควรใช้ร่วมกับส่วนขยายพันธุ์อื่นๆ เลือกใช้วัชพืชอายุยาวเป็นหลัก การปลูกภายใต้กรอบดาดแข็งจะควบคุมการรุกรานจากกลุ่มที่ขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เมล็ดได้หากเว้นระยะห่างให้เหมาะสม ควรตัดแต่งก่อนการติดเมล็ดเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย การใช้วัชพืชร้ายแรงต้องควบคุมไม่ให้แพร่กระจายไปยังพื้นที่ซึ่งระบบนิเวศอ่อนไหว พื้นที่สาธารณะ พื้นที่การเกษตร และแหล่งน้ำต่างๆ การปลูกคละชนิดแบบสังคมพืชจะช่วยสร้างความเป็นผืนพรมและลดภาระในการดูแลรักษา การสร้างทุ่งดอกไม้ต้องอาศัยระยะเวลาในการสะสมเมล็ดพันธุ์ในพื้นที่ และการดูแลรักษาที่จำกัดจะคงคุณสมบัติที่ทนทานของวัชพืช ทั้งนี้ ผู้ใช้งานต้องมีทัศนคติที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของวัชพืชได้ | - |
dc.description.abstractalternative | Weed is wild plant growing in an unwanted place, very well adapted to the environment, and some has beautiful flower. Landscape architect awares of its advantages, however the utilization is still limited due to inadequate knowledge. This study, therefore, aims to increase opportunity to use weed in planting design, with objectives to study concept, method, and problems of using weed; to create knowledge and understanding of weed’s qualifications, constraints, problems, and solutions; and finally to recommend methods for using weed in landscape project. The methodology of the study consists of 5 parts. Part 1 to review literature on weed’s qualifications, concept, and case studies of weed in landscape projects; part 2 to interview 12 landscape architects and contractors about concept and objectives of using weed, types of weed, their experiences in weed planting, maintaining, and problem solving; part 3 to conduct field survey of 3 selected landscape projects; part 4 to analyze collected data and consult weed expert about unsolved problems; and part 5 to conclude and propose how to utilize weed in landscape project. Result of the study shows that landscape architect uses weed in semi-public project because it is easily adapted to environment, requires low maintenance, improves site’s conditions, and some is herb. Weed can be divided into 3 groups; weed that is available in market, weed that is not available in planting market, and the noxious weed. The problems lie in the last 2 groups; such as unpredictable rate and time of germination and dormancy, rapidly wither and die, invasive spreading, uncontrollable density of mass planting, unable to create sustainable wild flower field. The study then suggests how to use weed in landscape project, for example, use various reproduction parts together with long dormancy seed to ensure growth within limited time; plant more perennial and biennial weed; use hard edge planters with adequate spacing to control invasion from asexual reproduction type; trim it before reproducing seed and flowering; control noxious weed to invade into sensitive ecosystems, agricultural land, and water features; grow mixed variety of weeds similar to their plant society to create mass effect and reduce maintenance, create wild flower field by allowing time for seed accumulation, and minimize maintenance to preserve weed’s strength. Lastly, an important key to successful use of weed in landscape project is acceptance of its nature. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.740 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | การใช้วัชพืชในงานออกแบบภูมิทัศน์ | - |
dc.title.alternative | THE UTILIZATION OF WEEDS IN LANDSCAPE. | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | ภูมิสถาปัตยกรรม | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Angsana.B@Chula.ac.th,Angsana.B@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | paerung@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.740 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5773334725.pdf | 24.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.