Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58325
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีระศักดิ์ ลิขิตเรืองศิลป์ | - |
dc.contributor.author | ธนิต อภิวรกุลพัฒน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-04-11T01:37:14Z | - |
dc.date.available | 2018-04-11T01:37:14Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58325 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | ในปัจจุบันการจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) เข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจาก BIM เป็นเทคโนโลยีที่สามารถบริหารจัดการงานก่อสร้างโดยสร้างแบบจำลองดิจิตอลอาคารก่อนการสร้างจริงซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบ วิศวกรรม และการก่อสร้าง (Architecture Engineering and Construction, AEC) ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ BIM สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทได้แก่ ประโยชน์ที่สามารถวัดค่าได้ และ ประโยชน์ที่ไม่สามารถวัดค่าได้ การประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ BIM ในองค์กรมักจะยุ่งยากและซับซ้อน อย่างไรก็ตามกระบวนการดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กร AEC อีกทั้งในปัจจุบันยังไม่มีกรอบการประเมินประสิทธิภาพจากการนำ BIM มาใช้ที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐาน งานวิจัยนี้ได้พัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ประเมินสมรรถนะการใช้ BIM สำหรับองค์กร โดยอาศัยตัวชี้วัดที่สำคัญในการดำเนินงาน (Critical Performance Indicator, CPI) ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์องค์กร AEC นอกจากนั้นยังได้นำแนวคิดการประเมินองค์กรแบบสมดุล (Balanced Scorecard, BSC) มาเป็นพื้นฐานในการสร้างแบบจำลองการประเมินนี้ ในแบบจำลองที่เสนอ CPI ประกอบด้วย 4 มุมมอง ได้แก่ มุมมองด้านการเงิน มุมมองด้านลูกค้า มุมมองด้านกระบวนการภายใน และมุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต ผลลัพธ์เบื้องต้นได้จากการตอบแบบสอบถามเชิงลึกของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ ตัวชี้วัดในการดำเนินงาน (Key Performance Indicator, KPI) ที่ใช้สำหรับในการประเมินสมรรถนะการใช้ BIM ในองค์กร AEC จำนวน 30 ตัว ตัวชี้วัดเหล่านี้ได้ถูกนำไประยุกต์ใช้จริงกับองค์กรกรณีศึกษาเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแบบการประเมิน ผลลัพธ์ที่ได้ในขั้นตอนนี้ คือ CPIs ที่ใช้ในการประเมินสมรรถนะการใช้ BIM สำหรับองค์กรจำนวน 25 CPIs เช่น การเปลี่ยนแปลงของแบบก่อสร้าง ความพึงพอใจและการรักษาลูกค้า ความสามารถในการเตือนและการเฝ้าระวังปัญหาที่เกิดจากสิ่งก่อสร้าง และความสามารถต่อการใช้เครื่องมือ BIM ช่วยในการนำเสนอลูกค้า/ผู้ว่าจ้าง เป็นต้น นอกจากนั้นงานวิจัยยังได้เสนอคำแนะนำสำหรับการสร้างรูปแบบการประเมินสมรรถนะการใช้ BIM สำหรับองค์กร เพื่อให้องค์กรที่สนใจสามารถสร้างแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการประเมินของตนเองได้อย่างเหมาะสม | - |
dc.description.abstractalternative | In present, Building Information Modeling (BIM) plays an important role in the construction industry worldwide. Since BIM is a technology that can assist in managing construction projects by creating a building digital model prior to construction, it can enormously benefit design, engineering, and construction (AEC). BIM benefits can be categorized into two main groups: measurable and immeasurable benefits. The evaluation of BIM benefits for an AEC organization is often challenging and complex. However, this process is necessary for all AEC organizations using BIM. Moreover, currently there is no clear and standard framework for such purposes. This research develops a tool for evaluating the performance of AEC organizations using BIM. The proposed model is primarily based on a group of critical performance indicators (CPI), which are derived from the interviews with AEC organizations. In addition, the model also relies on the concept of balanced scorecard (BSC). In the model, CPI encompasses four perspectives: financial, customer, internal business process, and learning and growth. The preliminary results, which are obtained from in-depth interviews with the experienced participants, are 30 key performance indicators (KPIs) for evaluating the performance AEC organizations using BIM. These KPIs are then applied to actual case studies to test their reliability. The results in this step are 25 CPIs for evaluating the performance AEC organizations using BIM. Examples are changes in construction, client satisfaction and the potentials of BIM tool usage. Moreover, this research also suggests how to prepare a performance evaluation form for AEC organizations using BIM so that they can create the tools that are appropriate for their organizations. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1329 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | แบบจำลองสารสนเทศอาคาร | - |
dc.subject | Building information modeling | - |
dc.title | แบบจำลองเพื่อประเมินสมรรถนะสำหรับองค์กรซึ่งใช้การสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร | - |
dc.title.alternative | A performance evaluation model for building information modeling (BIM) organizations | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Veerasak.L@chula.ac.th,veerasakl@gmail.com,veerasakl@gmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.1329 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5870341621.pdf | 4.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.