Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58500
Title: ผลกระทบทางกายภาพต่อศาสนสถานตามแนวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร
Other Titles: PHYSICAL IMPACTS ON RELIGIOUS SITES ALONG BANGKOK MASS TRANSIT SYSTEM ROUTES
Authors: ศศิพิมพ์ อิสระวัฒนา
Advisors: นวณัฐ โอศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Navanath.O@Chula.ac.th,nosoas@yahoo.com,nosoas@yahoo.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทความนี้ศึกษาผลกระทบทางกายภาพต่อศาสนสถานตามแนวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (บีทีเอส) โดยมุ่งศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารโดยรอบ การเปลี่ยนแปลงการใช้งานพื้นที่ภายในบริเวณศาสนสถาน และมุมมองที่มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากการก่อสร้างและเริ่มใช้งานรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยเลือกกรณีศึกษาจากศาสนสถานตามแนวรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งสายสุขุมวิทและสายสีลม ซึ่งตั้งอยู่ภายในรัศมีทางเดินเท้าไม่เกิน 400 เมตรและสามารถมองเห็นได้จากขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส ประกอบด้วยศาสนสถานทั้งหมด 15 แห่ง ได้แก่ วัด 10 แห่ง คริสตจักร 3 แห่ง มัสยิด 1 แห่ง และ ศาลเจ้า 1 แห่ง ระเบียบวิธีวิจัยใช้การเปรียบเทียบข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศและข้อมูลแผนที่สามมิติในช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มเปิดใช้งานจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2542 - 2560) แล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลจากการสังเกตสภาพพื้นที่โดยรอบ มุมมอง และกิจกรรม ตลอดจนสัมภาษณ์เจ้าอาวาส มรรคทายก และผู้เข้ามาใช้งานในศาสนสถาน เพื่อสรุปผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผลการศึกษาพบว่า การให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและลักษณะอาคารโดยรอบศาสนสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงเป็นอาคารคอนโดมีเนียมสูง 20-30 ชั้น ทำให้เกิดผลกระทบทางอ้อมต่อการใช้พื้นที่ภายในศาสนสถานเพื่อรองรับกิจกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น และเกิดผลกระทบด้านมุมมองของศาสนสถาน การเปลี่ยนแปลงการใช้งานของพื้นที่ภายในศาสนสถานเพื่อรองรับกิจกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น การสร้างอาคารสำหรับทำบุญสังฆทานแบบเร่งด่วนบริเวณด้านหน้าของศาสนสถาน การใช้ประโยชน์พื้นที่ว่างเป็นพื้นที่จอดรถสำหรับเช่าบริการ ผลกระทบด้านมุมมองของผู้ใช้งานจากทางสัญจรภายนอกจากโครงสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอส เช่น ตอม่อ บันไดทางขึ้น-ลงสถานีรถไฟฟ้าบดบังศาสนสถาน ผลกระทบด้านมุมมองของผู้ใช้งานจากรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สามารถมองเห็นศาสนสถานได้ชัดเจนขึ้นจากขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส และผลกระทบด้านมุมมองสถาปัตยกรรมที่สำคัญของศาสนสถานจากอาคารสูงที่เกิดขึ้นใหม่
Other Abstract: The research explores the physical impacts on religious sites along Bangkok Mass Transit System routes (BTS) by focusing on land usage, surrounding buildings alteration and the changed usage on the land within the religious site affected by construction including the visual after the construction and start-up of BTS. All 15 case studies including 10 temples, 3 churches, 1 mosque and 1 shrine ,which can be seen from the BTS Skytrain, were selected from various religious site along the BTS Skytrain routes, Sukhumvit routes and Silom routes within 400 meters of the pedestrian radius from the BTS Skytrain station. Comparison between aerial photo data and three-dimensional map data from 1997 to 2017 was used as research methodology and was analyzed together with observation data from surrounding context, visual impact and activities, as well as interviews with monks, pastors, and people in the religious sites, to draw the conclusion on changing effect. The result shows that the physical impacts that occurred after the construction of the BTS Skytrain Line is the changes in land usage within the religious site for accommodate new activities, the visual impact of user from outside the religious sites, the visual impact of the BTS Skytrain users, and the impact on the views of users within the religious places.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58500
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.739
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.739
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5973367625.pdf9.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.