Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58571
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ | - |
dc.contributor.author | วิจิตรา จามจุรี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพมหานคร | - |
dc.date.accessioned | 2018-04-27T06:19:30Z | - |
dc.date.available | 2018-04-27T06:19:30Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58571 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการ “ความรัก” ระหว่างหญิงและชายที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และวิธีการปรับตัวของสตรีที่แต่งงานระหว่างวัฒนธรรม 3) เพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลต่อการให้ความหมายของความรัก และการปรับตัว โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 10 ราย เป็นสตรีไทยที่เคยนับถือศาสนาพุทธ และเป็นมุสลิมโดยการสมรสกับคู่ครองซึ่งเป็นชายไทยมุสลิม มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป และมีระยะเวลาการสมรส 5 ปี เป็นอย่างน้อย ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก(In-depth interview) และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลจากการศึกษาพบว่า สตรีที่แต่งงานระหว่างวัฒนธรรมจะให้ความสำคัญต่อความรักเป็นอันดับแรกในการตัดสินใจแต่งงาน แม้ว่าจะมีปัจจัยอื่นมาประกอบการตัดสินใจ อาทิเช่น สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ความคาดหวังทางสังคม ฯลฯ แต่จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านความรักนั้นมีความโดดเด่นมากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้จากการสตรีที่แต่งงานระหว่างวัฒนธรรมได้ให้ความหมายของความรักไว้ในแต่ละบุคคล โดยได้แสดงออกมาเป็นรูปแบบของความรักในหลายรูปแบบ ได้แก่ ความรักแบบเสน่หา ความรักแบบไม่ผูกมัด ความรักแบบมิตรภาพ ความรักแบบโรแมนติค ความรักแบบในอุดมคติ และความรักแบบไม่เห็นแก่ตัว นอกจากนี้ยังพบว่าการปรับตัวทางสังคมของสตรีที่แต่งงานระหว่างวัฒนธรรม จะมีการปรับเปลี่ยนทางพฤติกรรมและมีการปรับความรู้สึกและจิตใจ เพื่อให้สามารถยอมรับสภาพความเป็นจริง และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังจากการแต่งงานได้ โดยสรุปแล้วพบว่าความรักมีผลต่อการแต่งงานระหว่างวัฒนธรรม และปัจจัยด้านภูมิหลังของสตรีที่แต่งงานระหว่างวัฒนธรรมเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการให้ความหมายของความรัก และส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัว | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this qualitative research are :a) to investigate the how love develops between females and males who come from different cultural backgrounds ;b) to study the lifestyles and the adaptability of the females who are married to males whose cultural background is different and ;c) to analyze the factors which lead the couples to define the meaning of love and to adjust themselves. The subjects are 10 Thai women who used to practice Buddhism and converted to Muslim because of their marriage to Thai Muslim men. These women’s minimum age is 25 and they have been married for at least 5 years. The research is conducted using in-depth interview and the data are analyzed by using content analysis. It is found that the women ranked love as the most important factor before they decided to get married while other factors such as social and economic status and social expectations were less important. They give the definition of their love as either Eros, Ludus, Storage, Mania, Pragma or Agape. In addition, they have to adjust their conduct and their mindsets to their situations after marriage. It can be concluded that love is an important factor in marriage between cultures and the backgrounds of the women who are married to men from different cultural backgrounds influence the women’s definition of love and their adjustability. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | มนุษย์กับวัฒนธรรม | en_US |
dc.subject | ศาสนากับวัฒนธรรม | en_US |
dc.subject | ศาสนากับสังคม | en_US |
dc.subject | การสมรสข้ามวัฒนธรรม | en_US |
dc.subject | การสมรส -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา | en_US |
dc.subject | การสมรส -- แง่ศาสนา -- ศาสนาอิสลาม | en_US |
dc.subject | Religion and culture | en_US |
dc.subject | Intermarriage | en_US |
dc.subject | Marriage -- Religious aspects -- Buddhism | en_US |
dc.subject | Marriage -- Religious aspects -- Islam | en_US |
dc.title | ความรักบนความแตกต่างทางวัฒนธรรม : การแต่งงานระหว่างสตรีไทยพุทธกับชาติไทยมุสลิมที่อาศัยในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | Love in cultural differences : Intermarriage between Thai Buddhist woman and Thai Muslim men in Prawet District , Bangkok Metropolitan Administration | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สังคมวิทยามหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สังคมวิทยา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Pavika.P@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vichitra Chamchury.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.