Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58604
Title: การจัดการที่อยู่อาศัยโฮมสเตย์ ณ บ้านท่าคา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
Other Titles: Homestay management in Bann Taka, Amphawa District, Samut Songkhram Province
Authors: สุรเชษฐ์ บุญพงษ์มณี
Advisors: เสาวลักษณ์ เลิศบุศย์ สุรพลชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Saowaluck.Su@Chula.ac.th
Subjects: การท่องเที่ยวโดยชุมชน -- ไทย -- บ้านท่าคา (สมุทรสงคราม)
ที่พักนักท่องเที่ยว -- ไทย -- บ้านท่าคา (สมุทรสงคราม)
บ้านท่าคา (สมุทรสงคราม) -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
บ้านท่าคา (สมุทรสงคราม) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Tourist camps, hostels, etc. -- Bann Taka (Samut Songkhram)
Bann Taka (Samut Songkhram) -- Description and travel
Bann Taka (Samut Songkhram) -- Manners and customs
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของที่อยู่อาศัยให้เป็นโฮมสเตย์ในชุมชนท่าคา ช่วงปี 2543-2549 และศึกษาแนวทางการจัดการด้านแหล่งที่พักอาศัยสำหรับแหล่งท่องเที่ยวโฮมสเตย์ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยกำหนดขอบเขตด้านพื้นที่ที่ศึกษาในหมู่บ้านท่าคา หมู่ที่ 2 ตำบลท่าคา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม การกำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา เพื่อศึกษาด้านโครงสร้างกายภาพและศึกษาถึง (1) การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของที่อยู่อาศัยให้เป็นโฮมสเตย์ในชุมชนท่าคา ช่วงปี 2543-2549 (2) กระบวนการและรูปแบบในการบริหารจัดการแหล่งพักอาศัยแบบโฮมสเตย์เพื่อการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 6 ด้านคือ การจัดการองค์การ การจัดการด้านการตลาด การจัดการด้านกิจกรรม การจัดการด้านโฮมเสตย์ การจัดการด้านการเงิน และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม วิธีการดำเนินวิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์ สังเกต ออกแบบสอบถาม บันทึกภาพและสำรวจพื้นที่โดยการสเก็ตภาพ โดยแบ่งวิธีการเก็บข้อมูลตามกลุ่มประชากรออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มเจ้าของแหล่งพักอาศัยที่เป็นโฮมสเตย์ ปัจจุบันมีจำนวน 11 หลัง ใช้กลุ่มตัวอย่าง 100% เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบของบ้านพักอาศัยให้เป็นโฮมสเตย์ และข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยเพื่อการท่องเที่ยวภายในชุมชน (2) กลุ่มผู้นำชุมชน 2 คน ประกอบไปด้วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 และประธานกองทุนหมู่บ้าน เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยเพื่อการท่องเที่ยวภายในชุมชน (3) กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2549 มีจำนวนทั้งหมด 69 คน ในการศึกษาได้ออกแบบสอบถามจำนวน 3 ชุดคือ แบบสอบถามที่ 1 มีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ (1) แบบสอบถามที่ 2 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่อยู่อาศัย ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ (1) (2) แบบสอบถามที่ 3 มีเนื้อหาเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวในเรื่องการบริหารจัดการแหล่งพักอาศัยแบบโฮมสเตย์ ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ (3) ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนท่าคายังคงรักษาความเป็นชุมชนบ้านสวนริมน้ำไว้ได้ดี ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวสวน สิ่งที่สะท้อนความเป็นชุมชนริมน้ำได้ดีโดยมี "ตลาดน้ำท่าคา" เป็นแห่งเดียวที่ยังเหลืออยู่ ที่ยังคงความเป็นธรรมชาติของวิถีชีวิตชาวบ้าน มีเฉพาะวันขึ้นหรือแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ 12 ค่ำเท่านั้น และเคยเป็นเส้นทางเสด็จประพาสต้นสมัย ร.5 ที่พักโฮมสเตย์มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมทรงไทยพื้นถิ่นภาคกลางมีเอกลักษณ์เด่นชัด มีอายุกว่า 100 ปี การบริหารจัดการโฮมสเตย์ใช้ความร่วมมือของคนในชุมชน เน้นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตั้งแต่ปี 2543-2549 เป็นเวลา 6 ปีแล้ว มีที่พักโฮมเสตย์จำนวน 11 หลัง และมีแนวโน้มนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของที่อยู่อาศัยให้เป็นโฮมสเตย์พบว่า มี 4 ลักษณะ คือ (1) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวน 1 หลัง (2) มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยคือ มีบ้านพัก 10 หลัง ใช้พื้นที่โถงปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่สำหรับให้นักท่องเที่ยวนอน และบ้านพัก 3 หลังปรับเปลี่ยนห้องว่างให้เป็นห้องนอนสำหรับนักท่องเที่ยว (3) มีการปรับปรุงคือ มีบ้านพัก 3 หลัง ปรับปรุงห้องน้ำ ห้องส้วม เพราะไม่เพียงพอต่อนักท่องเที่ยว (4) มีการต่อเติม ลักษณะของการต่อเติมมี 3 ลักษณะ คือ 4.1 ต่อเติมห้องครัว 6 หลัง เพราะไม่เพียงพอ 4.2 ห้องนอน 3 หลัง เพราะนักท่องเที่ยวต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้นและจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น 4.3 ห้องครัว 2 หลัง เพราะห้องครัวเดิมไม่สะดวกต่อการใช้งาน ความรู้ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบที่อยู่อาศัยพบว่ามี 3 ลักษณะ (1) ไม่มีความรู้เลย ส่งผลให้ลักษณะการปรับเปลี่ยนขัดแย้งกับที่อยู่อาศัยเดิม (2) มีความรู้ด้านการก่อสร้างเท่านั้น (3) มีความรู้ด้านการก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ความรู้ข้อ 2 และ 3 ทำให้ลักษณะการปรับเปลี่ยนมีความสอดคล้องกับที่อยู่อาศัยเดิม ส่วนการบริหารจัดการการบริหารจัดการแหล่งพักอาศัยแบบโฮมสเตย์ พบว่า (1) การจัดการองค์การมีการบริการจัดการที่เป็นรูปธรรม ใช้ความมีส่วนร่วมของคนในชุมชน แต่ยังมีจุดอ่อนเรื่องของการบริหารในลักษณะเครือญาติ ทำให้เกิดความเสียผลประโยชน์ต่อสมาชิกคนอื่น (2) การจัดการด้านการตลาดพบว่า ยังไม่ดีเท่าที่ควรเพราะการประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่มอบความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานรัฐ (3) การจัดการด้านกิจกรรมพบว่า เน้นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนซึ่งสืบทอดกันมา นำมาเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว (4) การจัดการด้านโฮมสเตย์พบว่า ที่พักอาศัยโฮมสเตย์มีความเป็นเอกลักษณ์ทางด้านสถาปัตยกรรมภาคกลางอย่างเห็นได้ชัด จึงใช้เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว (5) การจัดการด้านการเงิน การทำโฮมสเตย์ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ภาครัฐได้ให้การสนับสนุนเงินทุนและชุมชนมีการจัดตั้งกลุ่มโฮมสเตย์ขึ้น เพื่อบริหารเงินในการทำโฮมสเตย์ในการใช้สอยเรื่องต่างๆ (6) ขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว ยังสามารถรองรับได้ขึ้นอยู่กับที่พักโฮมสเตย์ แต่ต้องคำนึงถึงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการจัดเก็บขยะ น้ำเสียในชุมชนด้วย ข้อเสนอแนะอื่นๆ ได้แก่ เจ้าของโฮมสเตย์ที่ต้องการปรับปรุงต่อเติมอาคาร ควรมีการขออนุญาตจากภาครัฐ และคอยให้คำแนะนำความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมก่อนนำมาก่อสร้าง ควรธำรงรักษาตลาดน้ำให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนต่อไป องค์การบริหารส่วนตำบลควรให้การสนับสนุน ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความเป็นชุมชน
Other Abstract: To study the physical alterations of homes participating in the homestay in the Taka district between the years 2000-2006, and also the management of the homestay and its role in eco-tourism. The study focuses on the Bann Taka, moo 2, Amphawa district, Samut Songkhram province. The scope of the study covers 1) the physical transformations of homes into homestays in the Taka community between 2000-2006; and 2) the process and style of homestay management for tourism in relation to of 6 aspects : organizational management, marketing management, activity management, homestay management, financial management and environmental management. The study uses interviews, observations, questionnaires, photographs and sketches of areas surveyed. Three methods of data collection were used according to sample groups. These sample groups consisted of: 1) 100% of the 11 homestay owners, who were asked about the conversion of homes to homestays, and about homestay management for tourism; 2) the two community leaders : the village headsman and the village fund chairman were interviewed about homestay management for tourism; and 3) The 69 tourists visiting between October-December 2006.Three sets of questionnaires were designed. The first, covering the aspects of physical alteration, was used on the first sample group (1) The second questionnaire, dealing with the aspect of homestay management, was used with the sample groups (1) and (2). The third questionnaire, which sought the tourists' opinions on homestay management, was used with the sample group (3). The results of the study show that the Taka community has managed to effectively maintain its unique characteristics as a riverside orchard community. Most residents are farmers, and one feature that reflects the unique characteristics of the riverside community is the 'Taka floating market', the only remaining floating market that preserves the local way of living. The market is held only on the 2nd, 7th and 12th days of the waning and waxing moon. This used to be where King Rama V made his journey. The 100-year-old homestay prominently displays the distinctive characteristics of the traditional central region architecture. The management of the homestay requires the cooperation of the people in the community and the focus has been placed on eco-tourism since 2000-for 6 years now. There are altogether 11 homestays and it is likely that the number of tourists will increase. The survey results showed 4 physical changes. These were: 1) No changes were found in one homestay; 2) 10 homestays have turned their parlors into sleeping areas, and 3 turned unused rooms into bedrooms; 3) 3 homestays have renovated bathrooms and toilets as the number was insufficient for tourists; 4) 3 types of extensions were made; 4.1) 6 homes expanded their kitchen; 4.2) 3 homes added more bedrooms as tourists need more privacy and the number of household members increased; 4.3) 2 homes renovated their kitchens to make them more convenient for use. In terms of the levels of home improvement know-how, it was found that the owners can be divided into three categories. 1) The owners have no know-how at all, making the new extension at odds with the existing building; 2) the owners only have know-how of construction; and 3) the owners have know-how of both construction and architecture. The knowledge of (2) and (3) helps make the conversion go well with the existing buildings. Regarding the homestay management, it was found that 1) the community has a concrete organizational management system, pulling on the participation of people in the community, yet a weak point is that the management is only run by a certain family, and this causes other community members to lose benefits; 2)the marketing management is not as effective as most PR activities are placed upon government agencies; 3) as for the management of activities, it was found that what attracts tourists are the simple lifestyle, natural tourist attractions, and local culture and traditions unique to the community; 4) regarding the management of homestay, it is found that the homestays reflect distinctive characteristics of the traditional Thai central region architecture which appeals to tourists; 5) financial management-wise, running a homestay business does not require a large amount of money, and the government has provided funding which is managed by the local homestay committee; 6) in terms of its capacity to cater to tourists, the community is still capable, yet consideration must be given to the conservation of natural sites, garbage collection and waste management in the community. Other suggestions include the following: homestay owners wishing to renovate or extend their buildings ought to seek permission from the government agencies and seek advice on architectural know-how before starting construction, and that the floating market should be preserved as a unique feature of the community, and the local administration should provide support in creating local products which reflect the characteristics of the community.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58604
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.102
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.102
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
surachet_bo_front.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
surachet_bo_ch1.pdf962.09 kBAdobe PDFView/Open
surachet_bo_ch2.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open
surachet_bo_ch3.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
surachet_bo_ch4.pdf8.9 MBAdobe PDFView/Open
surachet_bo_ch5.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
surachet_bo_ch6.pdf795.96 kBAdobe PDFView/Open
surachet_bo_back.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.