Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58693
Title: กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
Other Titles: Inspection procedure of the exercise of state power under the constitutions of the Kingdom of Thailand b.e.2540 and b.e.2550
Authors: วรพชร จันทร์ขันตี
Advisors: เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Kriengkrai.C@Chula.ac.th
Subjects: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
กฎหมายรัฐธรรมนูญ -- ไทย
อำนาจ (สังคมศาสตร์)
กฎหมาย -- แง่การเมือง
ความโปร่งใสของรัฐบาล -- ไทย
ความโปร่งใสของรัฐบาล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
Constitutional law -- Thailand
Power ‪(Social sciences)‬
Law and politics
Transparency in government -- Thailand
Transparency in government -- Law and legislation -- Thailand
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่ถูกยกเลิกไปโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และระบบกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่มุ่งแก้ไขความล้มเหลวของกระบวนการตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ จากการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับ แรกที่มีกลไกและกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบบุคคลก่อนที่จะดำรงตำแหน่ง และการตรวจสอบภายหลังจากที่ดำรงตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่งแล้วซึ่ง เป็นการตรวจสอบโดยศาล องค์กรอิสระ รัฐสภา และภาคประชาชน แต่อย่างไรก็ดี มีเฉพาะบางกลไกการตรวจ สอบเท่านั้นที่ใช้ได้ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ เช่น การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่อีกหลายกลไกก็ยังมีข้อบกพร่องของการตรวจสอบที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง จนนำมาสู่ความขัดแย้งรุนแรง อันเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐นอกจากจะไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องและปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้แล้ว ยังอาจเป็นการเพิ่มปัญหาทั้งในเรื่องที่มาและกระบวนการ สรรหากรรมการในองค์กรอิสระ บทบาทของตุลาการในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และที่สำคัญคือ ปัญหาการตรวจสอบผู้ตรวจสอบ ดังนั้น เพื่อให้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ทั้งในเรื่ององค์ประกอบ กระบวนการได้มา อำนาจหน้าที่ขององค์กรตรวจสอบ รวมทั้งหลักที่ว่าตัวบุคคลที่เข้ามาใช้อำนาจรัฐทุกคนที่จะต้องถูกตรวจสอบการใช้อำนาจได้
Other Abstract: This thesis is aimed at finding out the problems about the inspection procedure of the exercise of state power under the 1997 constitution which was canceled by the junta and inspection procedure of the exercise of state power under the 1997 constitution aiming to solve its failure. After the study, the author has found out that the 1997 constitution has the most concrete inspection procedure of the exercise of state power, including checking up on the people before and after they were appointed which was conducted by court, non – government organizations, the parliament, and the public. However, there were only some of the inspection procedure which can be efficiently employed, for instant, reporting all the property and debts of the politicians. There were still some of the inspection procedure which cannot be efficient and truly freely employed so that they caused violence leading to the 2007 constitution. Not only cannot the inspection of the exercise of state power under the 1997 constitution solve the problems and weaknesses, but it also increased problems of the source, procedure of recruiting committees to non – government organizations, Judicial role in the inspection of state power, and the most important thing is problems of checking up on the checkers. To make the inspection procedure of the exercise of state power efficient, we should improve the inspection procedure, together with the components, source, power, principle of being checked up.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58693
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.34
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.34
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worapach Chankhanti.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.