Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58817
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรรณระพี สุทธิวรรณ-
dc.contributor.authorพิมพิชา สุพพัตกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2018-05-21T14:39:32Z-
dc.date.available2018-05-21T14:39:32Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58817-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ข้ามคืนของวัยรุ่นตอนปลายในกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเหตุผลหลักของพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ข้ามคืนของวัยรุ่นตอนปลาย และเปรียบเทียบความแตกต่างของการเห็นคุณค่าในตนเอง และความรู้เรื่องโรคเอดส์ระหว่างวัยรุ่นตอนปลายที่มีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ข้ามคืนกับวัยรุ่นตอนปลายทั่วไปที่ไม่มีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ข้ามคืน กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นตอนปลายที่มีอายุระหว่าง 18 – 22 ปี และอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 40 คน แบ่งเป็นเพศชายและเพศหญิงกลุ่มละ 20 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เพื่อจำแนกเหตุผลหลักของวัยรุ่นหญิงและชายในการมีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ข้ามคืน 3 ด้าน คือ 1) เหตุผลที่มาจากปัจจัยภายในบุคคล (Intrapersonal Domain) 2) เหตุผลที่มาจากปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Domain) และ3) เหตุผลที่มาจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Domain) และเปรียบเทียบความแตกต่างของการเห็นคุณค่าในตนเองและความรู้เรื่องโรคเอดส์กับกลุ่มวัยรุ่นตอนปลายทั่วไปที่ไม่มีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ข้ามคืนโดยใช้สถิติ t-test ผลการศึกษาพบว่า 1.วัยรุ่นตอนปลายที่มีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ข้ามคืนและวัยรุ่นตอนปลายทั่วไปที่ไม่มีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ข้ามคืนมีการเห็นคุณค่าในตนเองไม่แตกต่างกัน 2.วัยรุ่นตอนปลายที่มีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ข้ามคืนและวัยรุ่นตอนปลายทั่วไปที่ไม่มีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ข้ามคืนมีความรู้เรื่องโรคเอดส์ไม่แตกต่างกัน 3.เหตุผลหลักในการมีพฤติกรรมทางเพศแบบเพศสัมพันธ์ข้ามคืนที่วัยรุ่นตอนปลายเพศชายส่วนใหญ่รายงาน คือ เหตุผลหลักจากปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (ร้อยละ 60) เช่น ความยั่วยวนของคู่นอน ในขณะที่เหตุผลหลักที่วัยรุ่นตอนปลายเพศหญิงส่วนใหญ่รายงาน คือ เหตุผลหลักจากปัจจัยภายในบุคคล (ร้อยละ 60) เช่น ความภาคภูมิใจในเสน่ห์ทางเพศของตน 4.ปัจจัยที่น่าจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ข้ามคืนของวัยรุ่นตอนปลายทั้งหญิงและชาย คือ การมีค่านิยมและทัศนคติที่ดีต่อการมีเพศสัมพันธ์ข้ามคืน การขาดการสื่อสารในครอบครัว การเคยมีประสบการณ์ทางเพศในอดีต ความพึงพอใจในตัวคู่นอนข้ามคืน การเห็นแบบอย่างในสังคม การตามแบบอย่างกลุ่มเพื่อน การแยกจากครอบครัวมาพักอาศัยคนเดียวหรืออยู่กับเพื่อน และการดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์en_US
dc.description.abstractalternativeThe present research study examined one-night stand behavior of late adolescents in Bangkok with the purposes to identify reasons for their one-night stand behavior and to compare the self-esteem scores and AIDS knowledge scores of adolescents with and without this behavior. Participants were 20 late adolescent males and 20 late adolescent females. Data were collected through in-dept interviews which were content analyzed into 3 domains of reasons for such behavior in each gender group: 1) intrapersonal domain, 2) interpersonal domain, and 3) environmental domain. t-tests were conducted to compare the self-esteem scores and AIDS knowledge scores of late adolescents with one-night stand behavior and those without such behavior. Findings were as follows: 1) Late adolescents with and without one-night stand behavior were not different in their self-esteem scores. 2) Late adolescents with and without one-night stand behavior were not different in their AIDS knowledge scores. 3) The main reasons for one-night stand behavior reported by the majority of late-adolescent males were in the interpersonal domain (60%); for instance, the attractiveness of their partner. In contrast, the main reasons for one-night stand behavior reported by the majority of late-adolescent females were in the intrapersonal domain (60%); for instance, their pride in their sexual attractiveness. 4) Reasons that appeared to be related to one-night stand behavior of late adolescents of both genders were: their positive values and attitude toward such behavior, their lack in familial communication, their having past sexual experiences, their attraction toward their one-night stand partners, their witnessing social modeling of such behavior, their following their peer norm in such behavior, their being separated from their families to live alone or with their friends, and their alcohol consumption.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2009-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรคเอดส์en_US
dc.subjectความนับถือตนเองในวัยรุ่นen_US
dc.subjectวัยรุ่น -- ทัศนคติen_US
dc.subjectวัยรุ่น -- พฤติกรรมทางเพศen_US
dc.subjectAIDS (Disease)en_US
dc.subjectSelf-esteem in adolescenceen_US
dc.subjectAdolescence -- Attitudesen_US
dc.subjectAdolescence -- Sexual behavioren_US
dc.titleการเห็นคุณค่าในตนเอง ความรู้เรื่องโรคเอดส์ และเหตุผลของวัยรุ่นตอนปลายที่มีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ข้ามคืนen_US
dc.title.alternativeSelf-esteem, AIDS knowledge, and reasons of late adolescents with one-night stand behavioren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาพัฒนาการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPanrapee.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.2009-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimpicha Supphatkul.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.