Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58864
Title: การศึกษาการดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study of internal supervision operation of accredited schools under Bangkok Educational Service Area Officers
Authors: จิณหธาน์ อุปาทัง
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: No information provided
Subjects: การนิเทศการศึกษา
โรงเรียน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
โรงเรียน -- การรับรองคุณภาพ
Supervised study
Schools -- Thailand -- Bangkok
Schools -- Accreditation
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนที่ได้รับรองมาตรฐานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับรองมาตรฐานศึกษา จำนวน 24 โรง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจากโรงเรียนทั้ง 24 โรง โดยเลือกโรงเรียนที่มีการจัดโครงสร้างการดำเนินงานนิเทศภายในโดยเฉพาะ 3 โรง และโรงเรียนที่มีการจัดโครงสร้างการดำเนินงานนิเทศภายในกลุ่มสาระ 3 โรง จากเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 เขต รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 6 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารที่รับผิดชอบ กรรมการและเลขานุการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียน จากทั้ง 6 โรง รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำเสนอในรูปแบบความเรียง และตารางประกอบคำบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1. การเตรียมการนิเทศภายใน พบว่า โรงเรียนทั้งสองกลุ่มทุกโรงเรียน มีการสำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการการนิเทศภายใน มีการกำหนดและแจ้งนโยบายการนิเทศภายใน มีการเตรียมบุคลากร มีการวางแผนการนิเทศ มีการจัดทำแผนงาน/โครงการ มีการเตรียมเครื่องมือและมีการเตรียมการประเมินผลและสรุปผลการนิเทศภายใน ส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายในนั้น พบว่า โรงเรียนที่มีการจัดโครงสร้างการดำเนินงานนิเทศภายในโดยเฉพาะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายใน โรงเรียน ผู้มีส่วนร่วมในการเตรียมการ ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้างานนิเทศ หัวหน้ากลุ่มสาระ คณะกรรมการนิเทศ และครู ปัญหาที่พบในขั้นนี้ คือ ครูไม่ให้ความสนใจในการกำหนดและแจ้งนโยบาย ครูไม่เต็มใจในการรับหน้าที่ในแต่ละแผนงาน ส่วนโรงเรียนที่มีการจัดโครงสร้างการดำเนินงานนิเทศภายในกลุ่มสาระมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานนิเทศภายใน ผู้มีส่วนร่วมในการเตรียมการประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระ และครู ปัญหาที่พบ คือ ความร่วมมือของครู ภาระงานและระยะเวลาที่ไม่เพียงพอ 2. การดำเนินการนิเทศภายใน พบว่า โรงเรียนทั้งสองกลุ่มทุกโรงเรียน มีการกำหนดวิธีการเลือกกิจกรรมนิเทศมาใช้ในการดำเนินงานนิเทศภายใน มีการกำกับ ติดตามการดำเนินการนิเทศภายใน และมีการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ดำเนินงาน โดยผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการนิเทศของโรงเรียนที่มีการจัดโครงสร้างการนิเทศภายในโดยเฉพาะ ประกอบด้วย หัวหน้างานนิเทศ หัวหน้ากลุ่มสาระ และครูปัญหาที่พบ คือ ภาระงานที่เพิ่มขึ้นและเวลาที่ไม่เพียงพอ สำหรับโรงเรียนที่มีการจัดโครงสร้างการดำเนินงานนิเทศภายในกลุ่มสาระ ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ ประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มสาระและครู ในการดำเนินการไม่พบปัญหา 3. การประเมินผลการนิเทศภายใน พบว่า โรงเรียนทั้งสองกลุ่มไม่มีการประเมินผลในขั้นเตรียมการนิเทศภายใน แต่ทุกโรงเรียนมีการประเมินในขั้นการดำเนินงาน ผู้มีส่วนร่วมในการประเมินของโรงเรียนที่มีการจัดโครงสร้างการดำเนินงานนิเทศภายในโดยเฉพาะ ประกอบด้วย หัวหน้างานนิเทศและหัวหน้ากลุ่มสาระ ส่วนโรงเรียนที่มีการจัดโครงสร้างการดำเนินงานนิเทศภายในกลุ่มสาระ ผู้มีส่วนร่วม ประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มสาระ ไม่พบปัญหาในการประเมินผลทั้งสองกลุ่ม
Other Abstract: The purposes of this study were to study the state and problems of the internal supervision operation of accredited schools under Bangkok Educational Service Area Offices. Population consisted of twenty-four certified schools under Bangkok Educational Service Area Offices bywhich sample were selected by using cluster random sampling technique which could be categorized into two group : three schools with specific supervisory structured and the other three with supervisory structure within strands. Data were gathered from supervisory members through an interviewed together with documentary analysis, they were analyzed by using content analysis. Research findings were as follows: At the preparation stage; data indicated that schools in both categories conducted need assessment study, informed supervisory policies and plan, prepared supervisory tools, documents, and assigned personnel incharge and committee members in schools with specific supervisory. Problems found were less cooperation among teachers. For schools with supervisor structure within strands chief of the strands were assigned and problems found were teacher's uninterest and irresponsibilities. At the operational stage; data showed that schools in both groups designed and selected their supervisory activities, monitored and follow-up the results, incentives also designed. Problems founded in schools with specific supervisory structure was over workload for teachers whereas problem did not found in schools another group. At the evaluation state ; data revealed that there was no evaluation at the preparation stage but there were evaluation at the operation state in all schools bywhich supervisory chiefs and chief of stands were responsible in schools with specific supervisory structure whereby chief of strands were responsible in schools another group. There was no problem at this stage in any school.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58864
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.943
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.943
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JinhathaUpatang.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.