Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58924
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิตติ กันภัย-
dc.contributor.authorพิมพร สุนทรวิริยกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-05-28T02:09:27Z-
dc.date.available2018-05-28T02:09:27Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58924-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและวิเคราะห์อุดมการณ์ที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ไทยว่ามีลักษณะอย่างไร และผู้ผลิตมีกระบวนการประกอบสร้างอุดมการณ์ในละครโทรทัศน์ไทยในช่วงภาวะวิกฤตทางการเมืองอย่างไร โดยทำการศึกษาจากละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยทำการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่าอุดมการณ์ที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ไทยในช่วงภาวะวิกฤตทางเมืองมีทั้งสิ้น 16 อุดมการณ์ แบ่งเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง 2 อุดมการณ์ อุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ 4 อุดมการณ์ และอุดมการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม 10 อุดมการณ์ ดังนี้ อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) ได้แก่ อุดมการณ์ชาตินิยม อุดมการณ์อำนาจนิยม อุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ (Economic Ideology) ได้แก่ อุดมการณ์ทุนนิยม อุดมการณ์วัตถุนิยม – บริโภคนิยม อุดมการณ์เงินตรานิยม และอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง อุดมการณ์ทางสังคม วัฒนธรรม (Social and Cultural Ideology) ได้แก่ อุดมการณ์ชนชั้น อุดมการณ์ศักดินา อุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ อุดมการณ์สตรีนิยม อุดมการณ์ท้องถิ่นนิยม อุดมการณ์พุทธศาสนา อุดมการณ์ไสยศาสตร์ อุดมการณ์ธรรมชาตินิยม อุดมการณ์ความรัก และอุดมการณ์ทางคุณธรรม ศีลธรรม จากการศึกษา พบว่า อุดมการณ์หลัก (Dominant Ideology) และอุดมการณ์ต่อต้าน (Counter Ideology) ที่ปรากฏอย่างชัดเจน คือ การต่อสู้กันระหว่างอุดมการณ์ทุนนิยม อุดมการณ์วัตถุนิยม-บริโภคนิยม อุดมการณ์เงินตรานิยมที่เป็นอุดมการณ์หลัก และอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง อุดมการณ์ท้องถิ่นนิยมที่มักถูกนำเสนอเป็นอุดมการณ์ต่อต้าน นอกจากนี้อุดมการณ์ชนชั้น อุดมการณ์ทุนนิยม อุดมการณ์วัตถุนิยม-บริโภคนิยม และอุดมการณ์เงินตรานิยมมักถูกนำเสนอบ่อยครั้ง และเป็นอุดมการณ์ที่ถูกใช้เป็นสาเหตุของความขัดแย้ง (Conflict) ในละครโทรทัศน์เสมอ โดยมีอุดมการณ์ความรัก เป็นตัวทลายความขัดแย้งทั้งหมดในท้ายที่สุด แต่อย่างไรก็ตามอุดมการณ์ที่ปรากฏทั้งหมดนั้นล้วนอยู่ภายใต้การควบคุมของอุดมการณ์จิตนิยม (Idealism) ซึ่งเป็นตัวควบคุมการกระทำของตัวละครจนก่อเกิดเป็นอุดมการณ์ โดยอุดมการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นล้วนเกิดจาก “จิต” ของแต่ละบุคคลที่จะสั่งให้ร่างกายตั้งมั่น ยึดมั่นในอุดมการณ์แต่ละอย่างที่ต่างกัน กระบวนการประกอบสร้างอุดมการณ์ในละครโทรทัศน์ไทยในช่วงภาวะวิกฤตทางการเมือง มีผลมา จากสถานีโทรทัศน์ที่ถือเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการนำเสนออุดมการณ์ โดยมีปัจจัยทางการตลาดที่เป็นตัวควบคุมระบบการทำงานที่คิดเป็นตัวเลขเรตติ้ง ซึ่งกำหนดให้เนื้อหาในละครโทรทัศน์ต้องวนเวียนอยู่กับเรื่องรัก โลภ โกรธ หลง เนื่องจากเป็นเรื่องที่นิยม โดนใจผู้ชม เข้าใจง่าย โดยมีผู้จัดละครโทรทัศน์เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมุมมองทัศนะและประสบการณ์ส่วนตัวของผู้จัดละครโทรทัศน์จะถูกส่งผ่านไปยังคนเขียนบทโทรทัศน์ที่จะนำเสนอเนื้อหาที่เป็นผลให้เกิดอุดมการณ์ผ่านละครโทรทัศน์ตามความต้องการของสถานี และผู้จัดละคร ซึ่งบทละครโทรทัศน์จะถูกนำเสนอให้มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ โดยมีสภาพทางสังคม รวมทั้งสภาวะวิกฤตทางการเมืองเป็นส่วนประกอบ แต่อุดมการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงภาวะวิกฤตทางการเมือง เช่น อุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง จะถูกนำเสนออย่างฉาบฉวยเพื่อให้ละครมีความทันสมัยเท่านั้นen_US
dc.description.abstractalternativeThis study aimed at searching for and analyzing types of ideological themes in Thai television series and the processes that television program producers have used in reflecting ideology in these series during the political crisis. The study was conducted on 15 sampled television series aired from September 2006 to December 2007. The study found 16 ideological themes in Thai television series during the political crisis period. These include 2 political, 4 economic and 10 social and cultural ideologies as follows: Political ideologies: Nationalism and Authoritarianism Economic ideologies: Capitalism, Materialism/Consumerism, Monetarianism and Self-Sufficiency Social and Cultural ideologies: Social Classism Ideology, Feudalism, Patriarchy, Feminism, Localism, Buddhism, Occultism, Naturalism, Romanticism and Moralism. It was found that the dominant ideologies and counter ideologies appeared in the struggle between Capitalism, Materialism/Consumerism, and Monetarianism on one side, which were the principal ideologies; and Self-sufficiency and Localism, which were portrayed as opposing ideologies. Moreover, Classism, Capitalism, Materialism/ Consumerism and Monetarianism were frequently portrayed as causes of conflicts in the television series, with Romanticism eventually solving all conflicts. However, all the ideologies shown were controlled by Idealism, which governed the behaviors of all characters and therefore framed their different ideologies. All ideological beliefs held by the characters dictated their actions within the plot of the series. Ideological themes in Thai television series during the political crisis period were influenced by television stations in a position to control their inclusion with marketing ratings as the controlling factor. This was the controlling force of the television series, making them focus on love, greed, anger and obsession. These themes appeal to the audience as they are easy to understand and relate to. Television series managers are the persons in charge of setting the theme of the series. Their personal viewpoints, attitudes and experience are passed on to the scriptwriters who in turn create stories that contain the desired theme. The scripts are up-to-date and modern, having social and political crisis conditions as components, although ideologies expressed during the political crisis period such as economic Self-Sufficiency was presented only superficially to give the series a modern feel.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.37-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectละครโทรทัศน์en_US
dc.subjectละครโทรทัศน์ -- แง่การเมืองen_US
dc.subjectละครโทรทัศน์ไทย -- อุดมการณ์ทางการเมืองen_US
dc.subjectละครโทรทัศน์ไทย -- แง่การเมืองen_US
dc.subjectTelevision playsen_US
dc.subjectTelevision plays -- Political aspectsen_US
dc.subjectTelevision plays, Thai -- Political ideologiesen_US
dc.subjectTelevision plays, Thai -- Political aspectsen_US
dc.titleกระบวนการประกอบสร้างอุดมการณ์ในละครโทรทัศน์ไทยในช่วงภาวะวิกฤตทางการเมืองen_US
dc.title.alternativeIdeology construction in Thai television series during the political crisis perioden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorkitti.g@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.37-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimporn Soontornviriyakul.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.