Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59081
Title: ความรู้ แรงจูงใจ ความตระหนัก พฤติกรรมเพื่อสุขภาพและพฤติกรรมการสื่อสารเชิงสุขภาพของผู้บริโภค
Other Titles: Consumer's Health Knowledge, Motivation, Consciousness, Behavior and Communication Behavior
Authors: แพรไพลิน ศุกลรัตนเมธี
Advisors: วิฏราธร จิรประวัติ, ม.ล.
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: chirapra@chula.ac.th
Subjects: พฤติกรรมสุขภาพ
การสื่อสาร
การสื่อสารทางการแพทย์
Health behavior
Communication
Communication in medicine
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ แรงจูงใจ ความตระหนัก และพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ 2) ความสัมพันธ์ของความรู้ แรงจูงใจ ความตระหนักกับพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ 3) การเปิดรับสื่อทั่วไปและสื่อเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค และ 4) ทัศนคติต่อสื่อและรูปแบบของสารเพื่อสุขภาพที่มีความเหมาะสมในการเผยแพร่ข้อมูล โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 433 คน ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 20-54 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริโภคมีความรู้เรื่องสุขภาพเฉลี่ย 3.46 มีแรงจูงใจเพื่อสุขภาพเฉลี่ย 3.16 มีความตระหนักในเรื่องสุขภาพเฉลี่ย 3.78 และมีพฤติกรรมเพื่อสุขภาพเฉลี่ย 3.34 2. ความรู้ แรงจูงใจ ความตระหนัก และพฤติกรรมเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 3. ผู้บริโภคได้รับข้อมูลข่าวสารทั่วไปทางโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต และหนังสือพิมพ์มากที่สุด และได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสุขภาพทางโทรทัศน์ สมาชิกในครอบครัว และหนังสือพิมพ์มากที่สุด 4. ผู้บริโภคมีทัศนคติต่อสื่อเพื่อสุขภาพที่มีความเหมาะสมในการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพมากที่สุดคือ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต และผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพ และมีทัศนคติต่อรูปแบบสารเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมในการเผยแพร่ความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพมากที่สุดคือ สารที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ต่อสุขภาพ
Other Abstract: The purposes of this research were to examine: 1) consumer’s health knowledge, motivation, consciousness and behavior 2) the correlation of consumer’s health knowledge, motivation, consciousness and behavior 3) consumer’s general media and health media exposure and 4) consumer’s attitude toward health message. The methodology of this study was survey research, using questionnaires to collect data from 433 male and female consumers, 20-54 years old and living in Bangkok. The research was conducted in February 2010. The results were as follows: 1) Consumers had health knowledge average at 3.46, had health motivation average at 3.16, had health consciousness at 3.78 and had health behavior average at 3.34 2) Consumer’s health knowledge, motivation, consciousness and behavior were significantly positively correlated at 0.01 3) Consumers receive general information mostly from television, internet and newspaper and receive health information mostly from television, family members and newspapers. 4) Consumer’s attitude toward media that suitable for health information were television, internet and health specialists. Health message patterns that is suit for health information was health informative message.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การโฆษณา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59081
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2120
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.2120
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Praepailin Sukolrattanametee.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.