Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59184
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริเดช สุชีวะ-
dc.contributor.advisorพิศาล สร้อยธุหร่ำ-
dc.contributor.authorพูลพงศ์ สุขสว่าง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-06-22T10:34:54Z-
dc.date.available2018-06-22T10:34:54Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59184-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้กระบวนการคิดระดับสูง และ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวิทยาศาสตร์ของรัฐแห่งหนึ่ง จำนวน 241 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี 1. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น เป็นแบบทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ จำนวน 28 ข้อ ประกอบด้วยแบบเติมคำตอบที่มีลักษณะเป็นแบบไขว้ (มิติด้านเนื้อหา X มิติด้านกระบวนการ) จำนวน 25 ข้อ และแบบอัตนัย (เน้นกระบวนการคิดระดับสูง) จำนวน 3 ข้อ โดยมีการให้คะแนนพิเศษในมิติด้านเวลา และความยากของข้อสอบ 2. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น มีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหาอยู่ ในช่วง 0.57-1.00 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันระหว่างคะแนนที่ได้จากแบบวัดที่สร้างขึ้นกับแบบทดสอบมาตรฐาน เท่ากับ 0.80 และมีความตรงตามโครงสร้างเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 3. ได้เกณฑ์การแปลความหมายรายข้อ 28 เกณฑ์ ด้านเนื้อหา 5 เกณฑ์ ด้านกระบวนการ 5 เกณฑ์ ด้านทักษะการคิดขั้นสูง 1 เกณฑ์ และความสามารถทางคณิตศาสตร์ 1 เกณฑ์ รวม 40 เกณฑ์ 4. ผลการประเมินความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์พบว่า 2.90% มีความสามารถในระดับยอดเยี่ยม 31.12% มีความสามารถในระดับเยี่ยม 39.83% มีความสามารถในระดับสูง 14.11% มีความสามารถในระดับปานกลาง และ 12.03% มีความสามารถในระดับเล็กน้อยen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this dissertation were (1) to develop a mathematics achievement test for gifted mathematics students in grade 10-12 by using higher level of thinking processes, and (2) to assess the quality of the mathematics achievement test. The samples were 241 grade 10 students of a government secondary school specialized in science and mathematics study program. The researching findings were summarized as follows: 1. The mathematics achievement test for gifted mathematics students in grade 10-12 by using higher level of thinking processes were composed of 28 items including 25 gap-filling items, designed in the cross-dimensional test, (content dimension x process dimension) and 3 essay-typed questions (being focused on measuring advanced thinking skills). The test was implemented by computers and giving extra score in time dimension and difficulty dimension. 2. The mathematics achievement test had an index of item objective congruence ranking from 0.57 to 1.00. Pearson’s product-moment correlation coefficient between score of the mathematics achievement test and standardize mathematics test was 0.80. The construct validity was approved as specified criterion. 3. 40 criteria were developed including 28 criteria for item interpretation, 5 criteria for content, 5 criteria for process, 1 criterion for advanced thinking skills, and 1 criterion for mathematics ability. 4. The assessment results in terms of mathematics ability were found out that 2.90% of the samples showed the extreme ability, 31.12% of the samples showed the exceptional ability, 39.83% of the samples showed the high ability, 14.11% of the samples showed the moderate ability, and 12.03% of the samples showed the mild ability.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.775-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen_US
dc.subjectเด็กปัญญาเลิศen_US
dc.subjectMathematics -- Study and teaching (Secondary)‬en_US
dc.subjectAcademic achievementen_US
dc.subjectGifted childrenen_US
dc.titleการพัฒนาแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้กระบวนการคิดระดับสูงen_US
dc.title.alternativeDeveloping a mathematics achievement test for gifted mathematics students in grade 10-12 by using higher level of thinking processesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiridej.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.775-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poonpong Suksawang.pdf58.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.