Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59216
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ | - |
dc.contributor.advisor | ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ | - |
dc.contributor.author | ศุภวรรณ ถิระโสภณ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-06-25T07:18:42Z | - |
dc.date.available | 2018-06-25T07:18:42Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59216 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาการนำเศษแก้วรีไซเคิลมาทดแทนวัตถุดิบในการผลิตกลาสเซรามิก ศึกษาการเพิ่มความแข็งของกลาสเซรามิกด้วยการใช้ไททาเนียมไดออกไซด์เป็นสารก่อผลึก เศษแก้วที่ใช้ทำการศึกษามี 4 สี คือ เศษแก้วสีเขียว สีชา สีใสและสีน้ำเงิน บดและคัดเลือกขนาดของเศษแก้ว 3 ขนาดคือ 4-16 เมช (1-4 มิลลิเมตร) 16-32 เมช (0.5-1 มิลลิเมตร) และ 32-100 เมช (0.15-0.5 มิลลิเมตร) ทำการหาขนาดของเศษแก้วและอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการหลอมแก้วเพื่อผลิตเป็นกลาสเซรามิกโดยนำมาหลอมที่ 1200-1450 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง พบว่า ขนาดของเศษแก้วและอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการหลอมแก้ว คือ 0.5-1 มิลลิเมตร และ 1250 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ศึกษาการผลิตกลาสเซรามิกจากเศษแก้วทั้ง 4 สีโดยใช้ขนาด 0.5-1 มิลลิเมตร มาผสมไททาเนียมไดออกไซด์ที่อัตราส่วนร้อยละ 0 5 7 และ 9 โดยน้ำหนัก หลอมวัตถุดิบที่อุณหภูมิ 1250 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ศึกษาอุณหภูมิที่ใช้ในการเกิดผลึกของกลาสเซรามิกด้วยเครื่องมือการวิเคราะห์ความแตกต่างทางความร้อน ตรวจสอบการเกิดเฟสและโครงสร้างทางจุลภาคของผลึกด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ดิฟแฟรกโตมิเตอร์และเครื่องออปติคอลไมโครสโคป ทดสอบลักษณะสมบัติทางกายภาพของแก้วหลังการหลอมและกลาสเซรามิก ได้แก่ ความหนาแน่น ความพรุนตัว การดูดซึมน้ำ และความแข็ง พบว่าที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็นอุณหภูมิที่ทำให้เกิดผลึกมากที่สุด กลาสเซรามิกที่ได้เกิดผลึกของเฟสวอลลาสโตไนท์และผลึกเกิดบนผิวหน้าเล็กน้อย ผลการทดสอบลักษณะสมบัติทางกายภาพ พบว่า กลาสเซรามิกที่เหมาะสมที่จะนำไปประยุกต์ใช้เป็นโมเสกประดับตกแต่งฝาผนัง คือ กลาสเซรามิกที่ได้จากการผสมเศษแก้วและไททาเนียมไดออกไซด์ที่ร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก มีค่าความหนาแน่นประมาณ 2.59 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร มีค่าความแข็งประมาณ 677 กิโลกรัม/มิลลิตารางเมตร มีค่าความพรุนตัวและการดูดซึมน้ำที่ต่ำ การนำเศษแก้วมาทดแทนวัตถุดิบในการผลิตกลาสเซรามิกจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการจัดการของเศษประเภทแก้ว | en_US |
dc.description.abstractalternative | Utilization of recycling glass cullet as raw material for glass ceramic production was studied in this research. Increasing the hardness of glass ceramic with the addition of titanium dioxide (TiO2) acted as a nucleating agent. The four colors of glass cullet were used for example as green, amber, flint and blue. The glass cullet was milled and sieved to various 3 particle size fractions, namely 4-16 mesh (1-4 mm.), 16-32 mesh (0.5-1 mm.) and 32-100 mesh (0.15-0.5 mm.). The samples were melted in the range of 1200–1450•C for 1 hour. The optimum particle size and melting temperature in order to produce the glass ceramics were 16-32 mesh and 1250◦C, respectively. The four colors of glass cullet were milled and sieved to 16-32 mesh with the addition of 0, 5, 7 and 9 wt % TiO2, respectively. The samples were melted at 1250•C for 1 hour. Determination of the crystallization temperature was performed by differential thermal analysis. Glass ceramic products were examined by X-ray diffraction and optical microscopy. The physical properties of as-melted glasses and glass ceramics such as density, porosity and water absorption were determined. The result indicated that the crystallization temperature at 800•C exhibited maximum the crystalline growth. The crystalline structure of the glass ceramics products was the wollstonite phase and grown on the surface area of the glass ceramic samples. The optimum composition in order to produce glass ceramic from recycling glass cullet was at 7 wt% TiO2 which can be used for mosaic. The density of glass ceramic sample was about 2.59 g/cm3 with very low porosity and water adsorption. The hardness value was about 677 kg/mm2. The utilization of glass cullet to produce glass ceramic is an alternative way to reduce glass waste. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2152 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กลาสเซรามิก | en_US |
dc.subject | แก้ว -- การนำกลับมาใช้ใหม่ | en_US |
dc.subject | ไทเทเนียมไดออกไซด์ | en_US |
dc.subject | Glass-ceramics | en_US |
dc.subject | Glass -- Recycling | en_US |
dc.subject | Titanium dioxide | en_US |
dc.title | การผลิตกลาสเซรามิกจากเศษแก้วรีไซเคิล | en_US |
dc.title.alternative | Production of glass ceramic from recycling glass cullet | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Petchporn.C@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Sirithan.J@Chula.ac.th | - |
dc.description.publication | แฟ้มข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text) ชื่อเรื่องนี้เป็นแฟ้มข้อมูลของนิสิตเจ้าของวิทยานิพนธ์ที่ส่งผ่านทางบัณฑิตวิทยาลัย | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.2152 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supawan Thirasophon.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.