Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59219
Title: | มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้รับงานไปทำที่บ้าน |
Other Titles: | Legal measures on protection for safety, health and working environment of home worker |
Authors: | สรวิศ เริ่มสุกรี |
Advisors: | สุดาศิริ วศวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sudasiri.W@Chula.ac.th |
Subjects: | ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมการทำงาน กฎหมายแรงงาน -- ไทย Home labor Industrial safety Industrial hygiene Work environment Labor laws and legislation -- Thailand |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะมีกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2547 แต่กฎกระทรวงดังกล่าวก็ไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง เนื่องจากมีปัญหาหลายประการ เช่น ผู้ว่าจ้างหลีกเลี่ยงโดยทำเป็นสัญญารับจ้างทำของแทน ผู้ว่าจ้างหรือผู้รับงานไปทำที่บ้านต่างไม่ทราบว่ามีกฎกระทรวงซึ่งได้ประกาศใช้แล้ว ผู้รับงานไปทำที่บ้านไม่มีอำนาจต่อรองกับผู้ว่าจ้าง นอกจากนี้ ผู้รับงานไปทำที่บ้านยังไม่ได้รับการคุ้มครองความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามกฎหมายอย่างเพียงพอ เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ไม่มีบทบัญญัติเพื่อป้องกันการประสบอันตรายของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในการป้องกันตนเองของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ไม่มีเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจตราดูแล ไม่มีการกำหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัย ไม่มีการคุ้มครองสภาพแวดล้อมในการทำงาน จึงเป็นผลให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านไม่ได้รับการคุ้มครองด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานมากเพียงพอ ผู้เขียนจึงได้ศึกษาวิจัยถึงสภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยในการทำงานของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้รับงานไปทำที่บ้านยังมีปัญหาด้านความไม่ปลอดภัย อาชีวอนามัยที่ไม่ดี และมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งยังได้รับอันตรายจากการทำงานหลายประการ เช่น โรคที่เกิดจากการทำงาน เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ทำงานไม่ได้มาตรฐาน มีความเสี่ยงจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน และเมื่อพิจารณาจากอนุสัญญาฉบับที่ 155 อนุสัญญาฉบับที่ 177 อนุสัญญาฉบับที่ 187 และอนุสัญญาอีกหลายฉบับขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะมีกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2547 แต่กฎกระทรวงดังกล่าวก็ไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง เนื่องจากมีปัญหาหลายประการ เช่น ผู้ว่าจ้างหลีกเลี่ยงโดยทำเป็นสัญญารับจ้างทำของแทน ผู้ว่าจ้างหรือผู้รับงานไปทำที่บ้านต่างไม่ทราบว่ามีกฎกระทรวงซึ่งได้ประกาศใช้แล้ว ผู้รับงานไปทำที่บ้านไม่มีอำนาจต่อรองกับผู้ว่าจ้าง นอกจากนี้ ผู้รับงานไปทำที่บ้านยังไม่ได้รับการคุ้มครองความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามกฎหมายอย่างเพียงพอ เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ไม่มีบทบัญญัติเพื่อป้องกันการประสบอันตรายของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในการป้องกันตนเองของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ไม่มีเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจตราดูแล ไม่มีการกำหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัย ไม่มีการคุ้มครองสภาพแวดล้อมในการทำงาน จึงเป็นผลให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านไม่ได้รับการคุ้มครองด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานมากเพียงพอ ผู้เขียนจึงได้ศึกษาวิจัยถึงสภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยในการทำงานของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้รับงานไปทำที่บ้านยังมีปัญหาด้านความไม่ปลอดภัย อาชีวอนามัยที่ไม่ดี และมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งยังได้รับอันตรายจากการทำงานหลายประการ เช่น โรคที่เกิดจากการทำงาน เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ทำงานไม่ได้มาตรฐาน มีความเสี่ยงจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน และเมื่อพิจารณาจากอนุสัญญาฉบับที่ 155 อนุสัญญาฉบับที่ 177 อนุสัญญาฉบับที่ 187 และอนุสัญญาอีกหลายฉบับขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประกอบกับกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านของประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเวียดนามแล้ว พบว่า บทบัญญัติดังกล่าวได้คุ้มครอง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้รับงานไปทำที่บ้านไว้อย่างชัดเจนและครอบคลุม เช่น ให้ผู้ว่าจ้างและผู้รับงานไปทำที่บ้านมีหน้าที่ในการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน สิทธิของผู้รับงานไปทำที่บ้านในการป้องกันตนเอง ให้มีความปลอดภัยในการทำงาน อำนาจตรวจตราสถานที่ทำงานที่รับไปทำที่บ้านของพนักงานตรวจแรงงาน และบทกำหนดโทษสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ผู้เขียนเห็นว่าเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ในเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงาน จึงควรมีการบัญญัติกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านไว้โดยเฉพาะ ตามลักษณะและ สภาพการทำงานของผู้รับงานไปทำที่บ้านที่มีลักษณะแตกต่างจากลูกจ้างทั่วไป เพื่อให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยมากที่สุด |
Other Abstract: | Although Thailand has had the Ministerial regulation of Labour Protection and Welfare Law for work to be done at home since 2004, the Ministerial regulations have not been effective regarding several issues for instance; employers who ignored and avoided by contracting a work piece engagement. Employer or the recipient who work at home did not aware that the Labour Protection and Welfare Law has already been announced. Recipient has no bargaining power with employers. Otherwise they have never been covered by safety security, occupational health and working environment because those laws have no provisions. This law has no provisions to prevent the dangers of having the recipient to do at home, no provisions about rights in the defense of the recipient to do at home, no official monitoring visit, no set way to safety and no protection in the work environment. Moreover, work to be done at home is not covered by occupational health and safety in the workplace environment sufficiently. Hence the research about environment of insecurity problems in the work of the recipient to do at home is needed. This thesis found that recipients work improperly safety, occupational health was not good, workplace environment and the dangers of diseases caused by work was not appropriate, the working tools has not reached standard, and there are some hazardous chemical risks. After studied the convention no.155, 177 and 187 and several editions of the International Labour Organization’s conventions armed with the protection of security, occupational health and working environment, and the roast protection act to do recipients of the home of England, Japan and Vietnam, this thesis found that such provisions clearly protect the safetiness, occupational health and working environment in the recipient’s work to do at home. For example, the employer and the home worker were responsible to protect for the safety while working, there are human rights to protect oneself of the home worker, the officer has an authority to inspect the workplace and there are the penalties for one who broke the law. This thesis concluded that even though the conditions and working environment of the home workers are different from general workers, the home workers should have good quality of life and work with the utmost safety. Therefore, the government should be governed by a particular legislation to protect the safety health and working environment of the home workers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59219 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1247 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.1247 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Soravit Roemsukree.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.