Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59231
Title: การบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นต่ำโดยระบบเอเอสบีอาร์ขนาดทดลองใช้งาน
Other Titles: Treatment of low strength wastewater using pilot scale asbr
Authors: อภิโชค เลิศล้ำ
Advisors: ศรัณย์ เตชะเสน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarun.T@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด
น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการนำระบบเอเอสบีอาร์ (Anaerobic Sequencing Batch Reactor) ระดับทดลองใช้งาน (Pilot Scale) ขนาด 2 ลบ.ม. มาใช้ในการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์จากนมถั่วเหลืองที่ความเข้มข้นซีโอดีเริ่มต้นต่ำได้แก่ 333±109 1,021±71 2,428±91 และ 4,450±354 มก./ล. โดยใช้ความเข้มข้นตะกอน 10,720±264 มก./ล. ผลการทดลองพบว่าซีโอดีที่ย่อยสลายง่ายมีประมาณ 50% เมื่อทำการจำลองโดยสมการโมนอด พบว่ามีค่า km เท่ากับ 10.96±5.52 มก.-ซีโอดี มก.-ของแข็งแขวนลอย-1 ชม.-1 KS เท่ากับ 1,683±1540 มก./ล. เมื่อเปลี่ยนความเข้มข้นของตะกอนลดลงเป็น 4,790±151 2,954±198 และ 1,780±85 มก./ล. โดยใช้ค่าซีโอดีเริ่มต้น 1,814±143 มก./ล. พบว่ามีการลดลงของซีโอดีอย่างรวดเร็วเป็น 2 ช่วง โดยเป็นช่วงแรกของการทดลองและช่วงหลังที่ก๊าซชีวภาพส่วนใหญ่ได้ระบายออกแล้ว แต่มีการเกิดก๊าซขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เปอร์เซ็นต์มีเทนในก๊าซที่เกิดขึ้นเท่ากับ 52±4.24% และสัดส่วนของการเกิดก๊าซมีเทนเท่ากับ 0.24±0.07 ลบม.ก๊าซมีเทน/กิโลกรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด ในการทดลองการตกตะกอนพบว่าช่วงระยะเวลาการตกตะกอนที่เหมาะสมคือ 4-8 ชม. โดยสามารถแยกตะกอนออกจากระบบได้ 40 - 60% สำหรับการนำไปใช้พบว่าการใช้ปั้มสูบน้ำหมุนเวียนในระบบทั้งแบบจ่ายด้านล่างและจ่ายด้านบนเป็นการกวนที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้มีตะกอนบางส่วนรวมตัวอยู่ที่ผิวน้ำและก้นถัง น่าจะทำให้ประสิทธิภาพของระบบลดลง เมื่อเปลี่ยนมาเป็นการใช้ใบกวนที่ความเร็ว 75 รอบต่อนาที พบว่ามีค่าอัตราการย่อยสลายจำเพาะเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่าและไม่เกิดการสะสมของตะกอนที่ผิวหน้าน้ำ แต่การลดลงของซีโอดียังเป็น 2 ช่วงเช่นเดิมและมีการเปลี่ยนแปลงของพีเอชไม่สอดคล้องกันการลดลงของซีโอดี แสดงให้ทราบว่าความเร็วรอบนี้ไม่มากพอที่จะสามารถไล่ก๊าซที่เกิดขึ้นออกมาได้หมด และมีผลยับยั้งต่อการลดลงของซีโอดี
Other Abstract: This research studied an Anaerobic Sequencing Batch Reactor (ASBR) in pilot scale with volume of 2.0 m3 for treatment of soy milk synthesized wastewater at low COD concentrations, which were 333±109, 1,021±71, 2,428±91, and 4,450±354 mg /L, with sludge concentrations of 10,720±264 mg /L. Results showed that easily degraded COD were about 50% of total COD. Degradation rates were modeled with Monod’s equation using SPSS program found that km was 10.96±5.52 mg-COD/(mgSS-hr) and KS was 1,683±1540 mg/L. After that sludge concentrations were reduced to 4,790±151, 2,954±198, and 1,780±85 mg /L, using initial COD of 1,814±143 mg/L. COD reduction happened in 2 stages, first at the beginning of the experiments and then another stage after most of biogases were released from reactor, but biogas was released constantly. Methane percentage in biogas was 52±4.24%, and ratio of methane production was 0.24±0.07 m3/kg COD removed. Solids separation experiments showed that the suitable time was 4-8 hrs, resulting in 40% - 60% solids removal efficiency. Experiment with mixing methods found that using recirculation pump of both bottom and above water feeding resulted in incomplete mixing, having sludge accumulation in either top or bottom layer, which would reduce the reactor efficiency. When using a 75 rpm agitator, the COD degradation rate was about 3 times higher and sludge was completely mixed, but COD degradation was still happened in 2 stages and pH trend was still not according to COD reduction. These results showed that this agitator speed was not enough to drive the biogas out and inhibited the COD degradation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59231
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apichoke Lertlum.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.