Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59348
Title: | การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของแรงจูงใจในการสอบและคะแนนสอบ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
Other Titles: | Development of a causal model of test-taking motivation and test scores of grade nine students |
Authors: | ประวีนา เอี่ยมยี่สุ่น |
Advisors: | ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง สุวิมล ว่องวาณิช |
Other author: | ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nuttaporn.L@Chula.ac.th Suwimon.W@Chula.ac.th |
Subjects: | การสอบ การวัดผลทางการศึกษา การสอบ -- การให้คะแนน การจูงใจในการศึกษา Examinations Educational tests and measurements Examinations -- Scoring Motivation in education |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการสอบ และคะแนนสอบของนักเรียนที่ได้รับเงื่อนไขการสอบแตกต่างกัน (2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของแรงจูงใจในการสอบและคะแนนสอบของนักเรียน (3) ประมาณค่าอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลทางอ้อมของตัวแปรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการสอบและคะแนนสอบของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 2,077 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย สุรินทร์ ราชบุรี และพัทลุง ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แรงจูงใจในการสอบ ความคาดหวังในการสอบ คุณค่าของการสอบ ความวิตกกังวลในการสอบ เจตคติที่มีต่อวิชาภาษาไทย และวิชาคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดแรงจูงใจในการสอบ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เงื่อนไขการสอบ ประกอบด้วย การส่งเสริมแรงจูงใจ และการใช้คะแนนจากการสอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย วิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ความแปรปรวน เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของแรงจูงใจในการสอบและคะแนนสอบ ด้วยโปรแกรม SPSS 16.0 for Windows วิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล ด้วยโปรแกรม Mplus 5.21 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนสอบวิชาภาษาไทยของนักเรียน อยู่ในระดับปานกลาง คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน อยู่ในระดับต่ำ ระดับแรงจูงใจในการสอบวิชาภาษาไทย และวิชาคณิตศาสตร์ วัดจากแบบวัดมาตรประมาณค่า อยู่ในระดับมาก วัดจากแบบวัดเกณฑ์การให้คะแนน อยู่ในระดับดี ในภาพรวมนักเรียนที่ได้รับการส่งเสริมแรงจูงใจ มีค่าเฉลี่ยแรงจูงใจในการสอบและคะแนนสอบ สูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการส่งเสริมแรงจูงใจ 2. โมเดลเชิงสาเหตุของแรงจูงใจในการสอบและคะแนนสอบของนักเรียนสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าดัชนีความสอดคล้องของโมเดล จำแนกตามรายวิชาและแบบวัดที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีดังนี้ 1) วิชาภาษาไทย แบบวัดมาตรประมาณค่า X² = 152.315, df = 48, P =.000, CFI = .988, TLI = .978, RMSEA = .032, SRMR = .020 2) วิชาภาษาไทย แบบวัดเกณฑ์การให้คะแนน X² = 207.513, df=59, P =.000, CFI = .971, TLI = .956, RMSEA = .035, SRMR = .026 3) วิชาคณิตศาสตร์ แบบวัดมาตรประมาณค่า X² = 131.911, df = 49, P =.000, CFI = .992, TLI = .986, RMSEA = .029, SRMR = .023 และ 4) วิชาคณิตศาสตร์ แบบวัดเกณฑ์การให้คะแนน X² = 134.791, df = 54, P = .000, CFI = .987, TLI = .978, RMSEA = .027, SRMR = .023 3. คะแนนสอบวิชาภาษาไทยของนักเรียน ได้รับอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลรวมสูงสุด จากความวิตกกังวลใน การสอบ คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ได้รับอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลรวมสูงสุด จากเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ แรงจูงใจในการสอบวิชาภาษาไทย และวิชาคณิตศาสตร์ ได้รับอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลรวมสูงสุด จากคุณค่าของการสอบ |
Other Abstract: | The objectives of this research were (1) to examine levels and compare the averages of test-taking motivation, levels of test scores of students under various test conditions; (2) to develop and validate a causal model of test-taking motivation and test scores; (3) to estimate direct and indirect effects of variables toward to test-taking motivation and test scores. The samples were 2,077 grade nine students. Samples were drawn from schools under the Office of the Sukhothai Educational Service Area, Surin, Ratchaburi and Phatthalung. The research instruments were: (1) the test-taking motivation scale and (2) the achievement test. Statistical analysises were conducted by using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, and two-way ANOVA. The causal model analysis was employed using Mplus version 5.21. Major findings were as follow: 1. The averages of Thai language, and Mathematics test scores were moderate, low, respectively. The averages of test-taking motivation measured by rating scales was high, whereas the averages of test-taking motivation measured by scoring rubrics was good. It was also found that averages of test-taking motivation and test scores for autonomy support group were higher than non-autonomy support group. 2. The causal model of test-taking motivation and test scores was fitted to the empirical data. The model indicated that 1) Thai language subject - rating scales had X² = 152.315, df = 48, P =.000, CFI = .988, TLI = .978, RMSEA = .032, SRMR = .020; 2) Thai language subject - scoring rubrics had X² = 207.513, df = 59, P =.000, CFI = .971, TLI = .956, RMSEA = .035, SRMR = .026; 3) Mathematics-rating scales X² = 131.911, df = 49, P =.000, CFI = .992, TLI = .986, RMSEA = .029, SRMR = .023; and 4) Mathematics- scoring rubrics had X² = 134.791, df = 54, P = .000, CFI = .987, TLI = .978, RMSEA = .027, SRMR = .023. 3. Thai language test scores of students received the highest direct effect and total effect from test anxiety. Mathematics test scores of students received the highest direct effect and total effect from attitude towards Mathematics, and test-taking motivation of students received the highest direct effect and total effect from values of tests. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59348 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1569 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1569 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Praweena Aiemyeesoon.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.