Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59364
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิมพันธ์ เดชะคุปต์-
dc.contributor.advisorสร้อยสน สกลรักษ์-
dc.contributor.authorเบญจา วงษา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-03T15:14:06Z-
dc.date.available2018-09-03T15:14:06Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59364-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดของเอ็นนิสและเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 2)ประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยการตรวจสอบคุณภาพกระบวนการเรียนการสอนจากผู้ทรงคุณวุฒิ และทดสอบประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอนโดยนำไปใช้จัดการเรียนการสอนในนักศึกษาวิชาชีพครูระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 30 คน ใช้เวลาทดลอง 13 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอ็นนิส ซึ่งได้รับการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญมีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.6 ขึ้นไป และมีค่าความเที่ยงของแบบเท่ากับ 0.92 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่า t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยหลักการ วัตถุประสงค์ และขั้นตอนของกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย 2 ระยะคือ 1) ระยะเตรียมความพร้อม 2) ระยะเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน 2.1) ขั้นการฝึกคิด ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ( 1 ) ขั้นเสนอปัญหาจากสถานการณ์ ( 2 ) ขั้นพิจารณาปัญหาและเหตุผล ( 3 ) ขั้นสรุปผลการคิด ( 4 ) ขั้นสร้างความเข้าใจและสร้างทางเลือก ( 5 ) ขั้นตัดสินใจ 2.2) ขั้นการนำไปใช้ 2.ประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนการสอน พบว่า 2.1 มีคุณภาพจากผลการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 2.2 มีประสิทธิผลจากการนำไปใช้จัดการเรียนการสอน นักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณร้อยละ 80en_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to 1) develop an instructional process based on Ennis approach and peer coaching technique, and 2) evaluate the effectiveness of this developed instructional process by two means; the quality of this developed process was evaluated by experts, and its productivity was investigated by mean of implementing in classroom. Thirty freshman students of Sisaket Rajabhat University were selected as subjects of this 13 week experimental period. The instrument was the critical thinking test, which were developed by using Ennis’s approach. Its quality was approved by experts with 0.06 IOC index and its validity was at 0.92. The collected data were analyzed by using t-test. The result of this research were as follows: 1. The developed instructional process consisted of principles, objectives and instructional procedures, which comprised of two main phases i.e. 1) the preparation phase and 2) the critical thinking skills enhancing phase. There were two main steps of the second phase, which were 1) step of thinking skills practices and 2) step of application. The first step of this second phase was comprised of 5 sub-steps i.e. (1) identifying problems from situations, (2) considering problems and reasoning, (3) summarizing the result of thinking, (4) understanding and generating solutions, and (5) making decision. 2. The effectiveness of this developed process could be reported as follows: 2.1 The quality of this developed process was approved by the experts. 2.1 This result of this developed process implementation showed that the subjects’ post test mean score in critical thinking ability was significantly higher than those of the pre-test at 0.05 level of significant.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1573-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectระบบการเรียนการสอน -- การออกแบบen_US
dc.subjectความคิดอย่างมีวิจารณญาณen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏ -- นักศึกษาen_US
dc.subjectInstructional systems -- Designen_US
dc.subjectCritical thinkingen_US
dc.subjectRajabhat University -- Studentsen_US
dc.titleการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดของเอ็นนิสและเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏen_US
dc.title.alternativeDevelopment of an instructional process based on Ennis approach and peer assisted learning techniques to enhance critical thinking ability of Rajabhat University studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNo information provided-
dc.email.advisorSoison.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1573-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bencha Wongsa.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.