Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59384
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์-
dc.contributor.advisorเอกชัย กี่สุขพันธ์-
dc.contributor.authorอัญชลี ประกายเกียรติ-
dc.contributor.authorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-05T04:19:33Z-
dc.date.available2018-09-05T04:19:33Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59384-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อการศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเทียบเคียงกับข้อกำหนดของเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของบัลดริจ 2) เพื่อพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของบัลดริจเป็นฐาน โดยมีขั้นดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน คือ1) การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) การวิเคราะห์ระบบ 3) การออกแบบระบบ 4) การตรวจสอบระบบ 5) การประเมินระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร การสอบถามความคิดเห็น การสัมภาษณ์ และการประชุมสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติบรรยาย ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษา ในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล เมื่อเทียบเคียงกับข้อกำหนดของเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของบัลดริจ มีระดับการปฏิบัติตามองค์ประกอบคุณภาพรายองค์ประกอบ อยู่ในระดับมากในทุกองค์ประกอบเรียงลำดับดังนี้ 1) การนำองค์กร (ค่าเฉลี่ย = 4.30) 2) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (ค่าเฉลี่ย = 4.27) 3) การมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ค่าเฉลี่ย = 4.15) 4) การจัดการกระบวนการ (ค่าเฉลี่ย = 4.09) 5) การมุ่งเน้นครูและบุคลากร(ค่าเฉลี่ย = 4.08) 6) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (ค่าเฉลี่ย = 4.07) 7) ผลลัพธ์ (ค่าเฉลี่ย = 3.98) 2. ระบบการบริหารคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของบัลดริจเป็นฐาน ที่พัฒนาขึ้นคือ “ระบบการบริหารคุณภาพเพื่อความเป็นเลิศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน” มีสาระสำคัญ 8 ประการ 1) หลักการของระบบการบริหารคุณภาพ 2) แนวคิด และค่านิยมหลักของระบบการบริหารคุณภาพ 3) วัตถุประสงค์ของระบบการบริหารคุณภาพ 4) โครงสร้างการบริหารระบบการบริหารคุณภาพ 5) เกณฑ์คุณภาพของระบบการบริหารคุณภาพ 6) แนวทางการดำเนินงานของระบบการบริหารคุณภาพ 7) การให้คะแนนของระบบการบริหารคุณภาพ 8) การประเมินและการจัดทำรายงานประเมินตนเอง จากผลการวิจัยที่พบว่า ระบบการบริหารคุณภาพนี้ครอบคลุมระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และยังมีเกณฑ์คุณภาพที่สูงกว่าโดยมุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศระดับมาตรฐานสากล ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงควรจัดนำร่องใช้ระบบการบริหารคุณภาพนี้กับสถานศึกษาที่มีระดับผลการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) อยู่ในระดับดีเพื่อยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากลen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were: 1) To study the present condition of internal quality management of basic education schools based on Baldrige education criteria for performance excellence. 2) To develop an internal quality management system of basic education schools based on Baldrige education criteria for performance excellence. The research procedures consisted of 5 steps: 1) Conceptual framework definition, 2) System analysis,3) System design, 4)System verification, and 5)System evaluation. The researcher collected the data from 4 sources: content analysis, asking opinions, interviewing, and focus group . The data was analyzed by the descriptive statistics. The findings revealed the following : 1. The present condition of an internal quality management system of basic education schools based on Baldrige education criteria for performance excellence. We found that the performances in extra large school, the large school and the medium school were at a high performance level in every quality factors in the following order:1)Leadership( =4.30) ,2) Strategic Planning(Mean = 4.27), 3) Student and Stakeholder Focus(Mean = 4.15), 4) Process Management(Mean = 4.09), 5) Workforce Focus(Mean = 4.08), 6) Measurement, Analysis and Knowledge Management,(Mean = 4.07) and 7) Results(Mean = 3.98). 2. The internal quality management system for basic education schools based on Baldrige education criteria for performance excellence developed as “The Quality Management System for Performance Excellence of Basic Education Schools“ (QMS for PEBES) consisted of 8 factors: 1) principles of quality management system, 2) the core values and concepts of quality management system, 3) objectives of quality management system, 4) structure management of quality management system, 5) quality criteria of quality management system, 6) guidelines for operation of quality management system, 7) scoring of quality management system, 8) evaluation and self-evaluation report. The findings additionally implied that QMS for PEBES can be covered the internal quality assessment system of basic education schools and has higher quality factor criteria by focusing performance excellence at the level of international standards. Therefore, Office of Basic Education Commission should implement QMS for PEBES as pilot projects in schools were have been evaluated at good level of external quality assessment by the Office for National Education Standards and Quality Assessment (ONESQA) to upgrade their quality level to international standards.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1590-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรงเรียน -- การควบคุมคุณภาพen_US
dc.subjectโรงเรียน -- การบริหารen_US
dc.subjectการบริหารคุณภาพโดยรวมทางการศึกษาen_US
dc.subjectSchools -- Quality controlen_US
dc.subjectSchool management and organizationen_US
dc.subjectTotal quality management in educationen_US
dc.titleการพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของบัลดริจเป็นฐานen_US
dc.title.alternativeThe development of an internal quality management system for basic education schools based on Baldrige education criteria for performance excellenceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpruet.s@chula.ac.th-
dc.email.advisorNo information provided-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1590-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anchalee Prakaikiate.pdf5.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.