Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59402
Title: การพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ด้วยพูลลูแลนสำหรับผลิตภัณฑ์กาแฟ
Other Titles: Development of innovative packaging with pullulan for coffee products
Authors: พรเดช แจ้งแสง
Advisors: สีหนาท ประสงค์สุข
อัจฉรา จันทร์ฉาย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sehanat.P@Chula.ac.th
Chandrachai@yahoo.com
Subjects: บรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์อาหาร
นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
Containers
Food containers
Technological innovations
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แนวคิดนวัตกรรมที่ถูกคัดเลือกเพื่อนำมาพัฒนาคือแนวคิดบรรจุภัณฑ์รับประทานได้ โดยในการทดลองทางวิทยาศาสตร์พบว่าสูตรการเตรียมฟิล์มรับประทานได้ที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์รับประทานได้ คือสูตรที่มีอัตราส่วนพูลลูแลน ต่อ โซเดียมอัลจิเนต ที่ 90 ต่อ 10 มีกลีเซอรอลที่ 10 %(v/v) ซึ่งฟิล์มที่เตรียมได้มีคุณสมบัติ คือ สามารถละลายหมดในน้ำร้อนที่เวลา 13.84±0.74 วินาที มีค่าการดูดซับความชื้นที่ร้อยละ 5.60±1.33 และสามารถผนึกติดกันได้ด้วยความร้อน จึงนำเอาฟิล์มที่สูตรดังกล่าวมาใช้สร้างต้นแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ แล้วนำต้นแบบที่ได้ไปทดสอบด้านการตลาดกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคผลิตภัณฑ์กาแฟจำนวน 50 ราย ผลการทดสอบพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมต่อต้นแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์มากกว่าผลิตภัณฑ์กาแฟ 3-in-1 แบบเดิม อีกทั้งยังพบว่าร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่าง ตั้งใจว่าจะซื้อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แน่นอน และร้อยละ 62 ของกลุ่มตัวอย่าง คาดว่าจะซื้อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ จากการวิเคราะห์ทางธุรกิจพบว่านวัตกรรมผลิตภัณฑ์นี้มีความโดดเด่นในด้านความสะดวกสบายในการบริโภค ประโยชน์ต่อสุขภาพ และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกับขั้นตอนการผลิตที่ไม่ยุ่งยากแต่มีความใหม่ในระดับประเทศ ทำให้มีความเป็นไปได้ทั้งในด้านการตลาด การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา การผลิต และการเงิน โดยการลงทุนในระดับอุตสาหกรรมจะใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 12,640,144 บาท หากมียอดขายตามที่คาดการณ์ จะมีระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) อยู่ที่ 2 ปี โดยที่ระยะเวลาโครงการ 5 ปี จะมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิในการลงทุน (Net Present Value; NPV) ที่อัตราคิดลด (Discount rate) ร้อยละ 20 เท่ากับ 61,846,327.64 บาท และมีอัตราผลตอบแทนของโครงการ (Internal Rate of Return; IRR) จากการลงทุนคิดเป็นร้อยละ 115.79
Other Abstract: The basic idea of the innovation is to develop an edible packaging. In scientific experiment, it was found that making the edible packaging was possible and formulation for forming edible film was pullulan/sodium alginate at ratio 90/10 with 10 %(v/v) glycerol. The properties of prepared film were being able to dissolve in hot water at 13.84±0.74 seconds, absorb moisture at 5.60±1.33% and seal by heating. The prototype was made accordingly and the marketing feasibility was conducted. In marketing research, 50 sampling subjects who drink coffee, it was found that the subjects prefer the innovative edible packaging to ordinary 3 in 1 coffee sachet. When exploring the buying intention, 30% of the sampling groups stated their clear intention to buy the coffee in edible packaging while 62% of them were likely to make a purchase. The commercial analysis shows that this innovation is distinctive for it promotes ease of drinking, health benefit and eco-friendliness. The manufacturing process was simple, yet it was a new innovation to the country. Therefore the product was commercially ready in term of marketability, manufacturing, and Intellectual property protection. For financial projection, the project was estimated to use 12,640,144 Baht for initial investment. The payback period was expected to be 2 years. The NPV of 5 years project with 20% discount rate was 61,846,327.64 Baht with IRR as high as 115.79%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59402
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1606
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1606
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Porndech Changsang.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.