Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59590
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณรงค์เดช สรุโฆษิต | - |
dc.contributor.author | วโรดม บุญมั่น | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-14T05:09:00Z | - |
dc.date.available | 2018-09-14T05:09:00Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59590 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงสภาพปัญหาของการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลภาครัฐเพื่อการตรวจสอบการทุจริต และการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐแบบเปิด (Open Government Data) โดยศึกษาถึงบทบัญญัติกฎหมาย คำวินิจฉัยของศาลและองค์กรวินิจฉัยข้อพิพาท การบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และนโยบายของรัฐ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับบทบัญญัติกฎหมายในระดับสนธิสัญญาระหว่างประเทศ กฎหมายของประเทศสหราชอาณาจักรและกฎหมายระดับสหรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐเพื่อการตรวจสอบการทุจริตของประเทศไทย พบว่า มีปัญหาดังต่อไปนี้ ประการแรก เนื้อหาของบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ อาทิ ประเด็นผู้มีสิทธิในการขอให้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ, ข้อมูลข่าวสารที่กำหนดให้เปิดเผยยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่สุ่มเสียงต่อการทุจริต, หลักเกณฑ์การเปิดเผยที่ไม่เป็นเอกภาพ เนื่องจากมีกฎหมายหลายฉบับเกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร, รูปแบบและวิธีการเปิดเผยข้อมูลยังไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ประการที่สอง ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายยังขาดกลไกในการเปิดเผยผ่านเว็บไซต์, ขาดกลไกในการตรวจสอบ และมีหลักเกณฑ์การพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่ชัดเจนเพียงพอ นอกจากนี้ องค์กรหลักในการบังคับใช้กฎหมาย คือ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการยังไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมตรวจสอบ กำกับดูแลให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเต็มที่ และที่สำคัญ ประการสุดท้าย ยังไม่มีกฎหมายที่ครอบคลุมหลักการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐแบบเปิด (Open Government Data) ที่มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ ประการแรก ควรมีการปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ให้ครอบคลุมหลักการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐแบบเปิด (Open Government Data) โดยมีการกำหนดรายละเอียดและประเภทของข้อมูลที่เปิดเผย กล่าวคือ ต้องมีการเปิดเผย ข้อมูล เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การอนุญาต การให้สัมปทาน การให้สิทธิ การถือครองกรรมสิทธิ์ การให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือประโยชน์อื่น ๆ โดยมี รูปแบบ การเปิดเผยข้อมูลที่จะต้องเน้นการเปิดเผยข้อมูลตามเว็บไซต์ที่ค้นหาได้อย่างอิสระ สะดวก รวดเร็ว ดาวน์โหลดได้ไม่จำกัด มีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน มีความเชื่อมโยงกันระหว่างข้อมูลที่มีการเปิดเผย ครอบคลุมการดำเนินกิจกรรมของรัฐ และสอดคล้องกับหลักการทางบัญชีที่เกี่ยวข้อง สำหรับ การขอข้อมูลเฉพาะราย นั้น ต้องสามารถทำคำขอทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานได้ง่าย มีหลักเกณฑ์และระยะเวลาพิจารณาคำขอที่ชัดเจน และสามารถเผยแพร่ข้อมูลที่ได้รับต่อไปได้ ประการสุดท้าย การกำกับดูแล จะต้องให้ความเป็นอิสระ อำนาจ วิธีการ หลักเกณฑ์การควบคุมตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพแก่องค์กรหรือเจ้าหน้าที่กำกับดูแล และมีบทลงโทษสำหรับกรณีที่มีการไม่เปิดเผยข้อมูลตามที่กฎหมาย หรือคำวินิจฉัยกำหนด | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis is to study problems of permitting people to have access to public information in order to inspect corruption and to assess the efficiency and effectiveness of current Open Governmental Data. Acts, Laws, Jurisprudences of courts and dispute settlement bodies, and Law enforcement practice of relevant law enforcement agencies are the matters of analysis. The study also compares those of Thailand with both international treaties and domestic laws of the United Kingdom and of the United State of America. From the study of Open Governmental Data for inspecting corruption in Thailand, the findings are as follows: firstly, the relevant legal provisions do not cover some important issues e.g. the rights of holders to request for disclosure of official information, the disclosed information still lacks activities leading to risks of corruption, disclosure rules are not unified due to varieties of legal documents, information and disclosure process do not meet the public needs; secondly, the lack of effective mechanisms such as website for disclosing and reviewing information, appellate rules and procedures are not quite clear, the law enforcement agency – the official information commission- does not control, monitor, and regulate governmental agencies to fully abide by law. Last, Thailand does not have Open Government Data law that reaches an international standard. Based on the major findings, my recommendations are as follows: firstly, Thailand should improve the current law to cover Open Government Data principles. It should specify details, and types of disclosed information such as information concerning budgetary, procurement, permission, concession, giving ownership rights, rights of using natural resources, public domain of state or other kinds of benefits. The disclosure of information should be published and searched freely on the website, conveniently and rapidly unlimited downloaded, showing real time and linkage among governmental agencies, and conformed to the relevant accountancy principles. For individual request for information, online applicance must be available. Rules and time limitation for consideration should clearly be announced, and also such information should be able to be revealed. Lastly, regulating system should be independent. Adequate authority, procedure, monitoring rules for agency or public officials should be given. Sanctions for violation of information disclosure law should be prescribed. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.967 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ | - |
dc.subject | การเปิดเผยข้อมูล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | - |
dc.subject | Disclosure of information -- Law and legislation | - |
dc.title | การให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลภาครัฐเพื่อการตรวจสอบการทุจริต | - |
dc.title.alternative | OPEN GOVERNMENT DATA FOR ANTI-CORRUPTION | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Narongdech.S@Chula.ac.th,narongdechs@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.967 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5786018634.pdf | 24.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.