Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59867
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชญาพิมพ์ อุสาโห-
dc.contributor.authorกนิน แลวงค์นิล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T05:23:19Z-
dc.date.available2018-09-14T05:23:19Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59867-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามแนวคิดการพัฒนาครูโดยโรงเรียนเป็นฐาน และ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามแนวคิดการพัฒนาครูโดยโรงเรียนเป็นฐาน ประชากร คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 52 โรงเรียน ตัวอย่าง คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 46 โรงเรียน และผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานบุคลากร และครูผู้ช่วย รวมผู้ให้ข้อมูลจำนวน 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนแบบประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามแนวคิดการพัฒนาครูโดยโรงเรียนเป็นฐานโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลางและมากที่สุด ตามลำดับ (สภาพปัจจุบัน Mean = 3.36 และสภาพที่พึงประสงค์ Mean = 4.55) สมรรถนะหลักของครูใหม่ที่มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงที่สุด คือ ความสัมพันธ์กับชุมชน (PNIModified = 0.445) รองลงมาคือ การพัฒนาสถานศึกษา (PNIModified = 0.386) สมรรถนะหลักของครูใหม่ที่มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาต่ำที่สุด คือ การพัฒนาทางวิชาการ (PNIModified = 0.299) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามแนวคิดการพัฒนาครูโดยโรงเรียนเป็นฐาน มีดังนี้ 1) พัฒนาสมรรถนะของครูใหม่ด้านความสัมพันธ์กับชุมชนที่เน้นการสร้างความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ เป็นรายบุคคล โดยวิธีโปรแกรมโค้ช (Coaching Program) 2) พัฒนาสมรรถนะของครูใหม่ด้านการพัฒนาสถานศึกษาที่เน้นการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นรายบุคคล โดยวิธีโปรแกรมโค้ช (Coaching Program) 3) พัฒนาสมรรถนะของครูใหม่ด้านการพัฒนาผู้เรียนที่เน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ผู้เรียน เป็นกลุ่ม โดยวิธีการพัฒนาผ่านการสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน (Job Rotation) และ 4) พัฒนาสมรรถนะของครูใหม่ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เป็นรายบุคคล โดยวิธีการพัฒนาผ่านสถานการณ์จำลอง (Simulation)-
dc.description.abstractalternativeThis study was descriptive research. The purpose of this research were 1) to study the present state and the desirable state of the competency development of novice teacher under the secondary educational service area office 2 according to the concept of school-based teacher development. 2) to present approaches for the competency development of novice teacher under the secondary educational service area office 2 according to the concept of school-based teacher development. The population was 52 schools under the secondary educational service area office 2. The sample was 46 schools under the secondary education service area office 2 included school director, deputy director of human resources and assistant teacher; 184 in total. The research instrument used in this study was a rating scale questionnaire and a rating scale appropriability and possibility of evaluation form. The data was analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, Modified Priority Needs Index (PNImodified), mode and content analysis. The results were as follow: The present and the desirable state of the competency development of novice teacher under the secondary educational service area office 2 according to the concept of school-based teacher development were at an overall moderate level and highest level respectively (The present state Mean = 3.36 and the desirable state Mean = 4.55). The first priority needs index of the competency development of novice teachers was community relation (PNI modify = 0.445). The second priority needs index was school development (PNImodified = 0.386). And the last priority needs index was academic development (PNImodified = 0.299). There are 4 approaches for the competency development of novice teachers under the secondary educational service area office 2 according to the concept of school-based teacher development. Firstly, approaches of competency development on community relation for learning management by individual coaching program. Secondly, approaches of competency development on school development which emphasize education quality assurance by individual coaching program. Third, approaches of competency on student development which emphasize moral and ethics awareness by group job rotation. Lastly, approaches of competency development on learning management which emphasize classroom research by individually simulation.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.992-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectครู -- การฝึกอบรม-
dc.subjectสมรรถนะ-
dc.subjectTeachers -- Training of-
dc.subjectPerformance-
dc.titleแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามแนวคิดการพัฒนาครูโดยโรงเรียนเป็นฐาน-
dc.title.alternativeAPPROACHES TO THE COMPETENCY DEVELOPMENT OF NOVICE TEACHERS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2 ACCORDING TO THE CONCEPT OF SCHOOL-BASED TEACHER DEVELOPMENT-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorChanyapim.U@Chula.ac.th,chayapim.u@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.992-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5983801227.pdf6.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.