Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60603
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์-
dc.contributor.authorชาญณรงค์ ไม้เกตุ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-11-23T07:24:11Z-
dc.date.available2018-11-23T07:24:11Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60603-
dc.descriptionเอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractปัจจุบันประเทศไทยได้ลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และจากทุน (อนุสัญญาภาษีซ้อน) กับรัฐต่างๆ โดยละเว้นหลักการ Force of attraction ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้ประเทศแหล่งเงินได้ไม่สูญเสียผลประโยชน์จากการจัดเก็บภาษีจากการค้าระหว่างประเทศ พบว่ามีอนุสัญญาภาษีซ้อนเพียง 15 ฉบับ จาก 61 ฉบับเท่านั้นที่ประเทศไทยได้นำหลักการ Force of attraction มาปรับใช้ เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความเหมาะสมที่ประเทศไทยจะปรับใช้หลักการ Force of attraction ในอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ร่วมลงนามกับรัฐต่างๆ ให้มากขึ้น ตลอดจนศึกษาแนวทาง และประโยชน์จากการปรับใช้หลักการ Force of attraction ในทุกอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ประเทศเคนยาได้ร่วมลงนามกับรัฐต่างๆ เพื่อให้เป็นกลไกช่วยเหลือประเทศเคนยาในการจัดเก็บภาษีจากนักลงทุนต่างชาติได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเนื่องจากปัจจุบันประเทศเคนยาเป็นประเทศกำลังพัฒนา และมักเป็นประเทศแหล่งเงินได้เป็นหลัก หลักการ Force of attraction นี้จึงเป็นกลไกที่ดีที่ช่วยรักษาผลประโยชน์ของประเทศเคนยาเอาไว้ ซึ่งเป็นสถานภาพที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย และมีความเหมาะสมที่จะศึกษาเพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย โดยงานศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นอาศัยการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นสำคัญ จากการศึกษาหลักการ Force of attraction สามารถสรุปผลได้ว่าประเทศไทยสมควรที่จะกลับมาพิจารณาความเป็นไปได้ในการปรับใช้หลักการ Force of attraction เช่นเดียวกับการปรับใช้ในประเทศเคนยา เพื่อลดช่องโหว่การหลบเลี่ยงภาษีของนักลงทุนต่างประเทศ โดยลดความกังวลที่จะสูญเสียฐานการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากประเทศไทยยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นจุดช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยยังคงมีความน่าสนใจเข้ามาลงทุนมากกว่าการเชิญชวนนักลงทุนด้วยการใช้นโยบายทางภาษี ปัจจัยทดแทนอื่น เช่น ความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์การคมนาคม ความได้เปรียบในแรงงานฝีมือที่มีคุณภาพสูง จากปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ ที่ประเทศไทยมี อีกทั้งเป็นปัจจัยที่สามารถเข้ามาทดแทนการเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติด้วยนโยบายภาษี ย่อมเป็นจุดที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยสามารถที่จะนำหลักการ Force of attraction เข้ามาปรับใช้ในอนุสัญญาภาษีซ้อนได้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศไทย และเพื่อความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีในประเทศไทยen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.33-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอนุสัญญาภาษีซ้อนen_US
dc.subjectการเลี่ยงภาษีen_US
dc.titleความเหมาะสมของการใช้หลักการจัดเก็บภาษีระหว่างประเทศตามหลักแหล่งดึงดูดความสนใจ (Force of Attraction) ในประเทศไทยen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subject.keywordการจัดเก็บภาษีen_US
dc.subject.keywordนโยบายทางภาษีen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.33-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 61676 34.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.