Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61277
Title: ความเครียดกับแรงสนับสนุนของพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Stress and social support of single parents in Bangkok
Authors: วรรชนก ปิ่นเจริญ
Advisors: ปริชวัน จันทร์ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: parichawan.c@chula.ac.th
Subjects: ความเครียด (จิตวิทยา)
บิดามารดาที่เป็นโสด -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Stress (Psychology)
Single parents -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากพ่อแม่เลี้ยง เดี่ยวในจังหวัดกรุงเทพมหานครจำนวน 95ราย โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ซึ่งประกอบไป          ด้วย 1.แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2.แบบวัดความเครียดสำหรับคนไทย (Thai Stress Test) 3.แบบสอบถามด้านปัจจัยทางสังคมและครอบครัว ดัดแปลงมาจาก The Personal Resource Questionnaire: PRQ Part II ของ Brand and Weinert วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ 1.วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา 2.วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด 3.คำนวณ สถิติเชิงอนุมานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับแรงสนับสนุนทางสังคมของพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว โดยใช้สถิติ Chi-square ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว มีช่วงอายุ Mean±SD = 40.7±9.9 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช. รายได้เฉลี่ย10,001-20,000บาท อาศัยอยู่กับลูกของตนเอง การเป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่เกิดจากการหย่าร้าง พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่มี ความเครียดในระดับเล็กน้อย ร้อยละ68.4 ระยะเวลาการเป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวมีความสัมพันธ์กับความเครียด ด้านแรงสนับสนุนทางสังคมของพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ70.5 ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับแรงสนับสนุน ได้แก่ ด้านการได้รับความช่วยเหลือแนะนำ (P<0.002) ด้านความผูกพันใกล้ชิด (P<0.042)
Other Abstract: This research is a cross-sectional descriptive research. Data was collected from 95 single parents in Bangkok. They were asked to complete 3 questionnaires, namely : 1)Personal information questionnaire ; 2)Thai stress test ; 3)The Personal Resource Questionnaire: PRQ Part II of Brand and Weinert. The SPSS were used to analysis to find the descriptive. The following data analysis methods are applied –1)Descriptive statistics to explain the basics of the sample ; 2)Analysis with stress factor ; 3)Compute statistics for correlation with stress and social support. The study indicated that The majority of the population is single parents. Has a lifespan is Mean±SD=40.7±9.9, graduating from high school, The median income for 10,001-20,000 baht, living with their own children and mainly due to a divorce. Most single parents with minor stress levels in 68.4 percent of single parents  duration is associated with stress. Social support of single parents are moderate 70.5 percent. The relationship between stress and support are available to helping guide (P <0.002), close relationship (P <0.042)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61277
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1432
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1432
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974042830.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.