Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61398
Title: | ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์ที่มีต่อความรู้และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
Other Titles: | Effects of organizing mathematics learning activities using Stein's model on mathematical knowledge and reasoning ability of ninth grade students |
Authors: | ทรรศมน วินัยโกศล |
Advisors: | ไพโรจน์ น่วมนุ่ม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | ความสามารถทางคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) การอ้างเหตุผล Mathematical ability Mathematics -- Study and teaching (Secondary) Reasoning |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ตามโมเดลของสไตน์เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์ และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้ทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์มีความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were: 1) to compare the mathematical knowledge of ninth grade students after being taught by organizing mathematics learning activities using STEIN’s model with the criteria of 60% 2) to compare the mathematical reasoning abilities of ninth grade students before and after being taught by organizing mathematics learning activities using STEIN’s model and 3) to compare the mathematical reasoning ability of ninth grade students after being taught by organizing mathematics learning activities using STEIN’s model with the criteria of 60%. The subjects were ninth grade students of extra-large school in muang district, Yasothon province. In Secondary Educational Service Area Office 28 who studied in first semester of academic year 2018. There were 46 students. The instruments used in the experiment were lesson plans using STEIN’s model. The research instrument for data collection were mathematical knowledge test and mathematical reasoning abilities tests. The data were analyzed by arithmetic mean, percentage, standard deviation and t-test. The results of the study revealed that: 1) the mathematical knowledge of ninth grade students after being taught by organizing mathematics learning activities using STEIN’s model was higher than minimum criteria of 60 percent at .05 level of significance. 2) the mathematical reasoning abilities of ninth grade students after being taught by organizing mathematics learning activities using STEIN’s model higher than those of student before being taught by organizing mathematics learning activities using STEIN’s model at a .05 level of significance and 3) the mathematical reasoning abilities of ninth grade students after being taught by organizing mathematics learning activities using STEIN’s model were higher than minimum criteria of 60 percent at .05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาคณิตศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61398 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.713 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.713 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5983324227.pdf | 1.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.