Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61605
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดุลยพงศ์ วงศ์แสวง | - |
dc.contributor.advisor | สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ | - |
dc.contributor.author | กุลนันทน์ ภูประสิทธิ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-02-26T14:08:27Z | - |
dc.date.available | 2019-02-26T14:08:27Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61605 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | - |
dc.description.abstract | ได้ศึกษาผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์ไดอิเล็คทริคแบร์ริเออร์ดิสชาร์ตพลาสมาแบบหัวฉีดละออง โดยทำการแบ่งการศึกษาออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นการสร้างระบบจ่ายไฟเพื่อก่อให้เกิดพลาสมา โดยสามารถจ่ายแรงดันไฟฟ้าได้สูงถึง 15 kV จ่ายกระแสไฟฟ้าได้สูงถึง 100 mA และปรับความถี่ได้ในช่วง 20 – 20,000 Hz โดยระบบประกอบด้วยเครื่องกำเนิดสัญญาณ (Signal generator), เครื่องขยายสัญญาณ (Signal amplifier), หม้อแปลงขึ้น (Step-up transformer) และหม้อแปลงนีออนไลท์ (Neon sign transformer) 5 ตัวต่อขนานกัน ซึ่งระบบจ่ายไฟที่สร้างขึ้นนี้จะสามารถก่อให้เกิดพลาสมาที่ความดันบรรยากาศ และส่วนที่สองเป็นการศึกษาการนำระบบจ่ายไฟที่สร้างขึ้นเพื่อก่อให้เกิดพลาสมาแบบไดอิเล็คทริค โดยนำมาทำปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน (Transesterification) โดยปรับอัตราส่วน เมทานอล:น้ำมันพืช ให้อยู่ในช่วง 3:1 – 10:1 โดยโมล ใช้น้ำมันพืช 100 ml ที่อุณหภูมิห้อง ทำการหมุนเวียนระบบด้วยปั๊มรีดท่อ (Peristaltic pump) ระยะห่างระหว่างขั้วแคโทด (Cathode) และแอโนด (Anode) 3 มิลลิเมตร และฉีดพ่นสารผสมโดยใช้หัวฉีดละออง (Atomizing nozzle) เป็นเวลา 2 ชั่วโมงพบว่าค่าผลผลิตไบโอดีเซล (Biodiesel yield) น้อยกว่า 1 % ของทั้ง 3 อัตราส่วน คืออัตราส่วน 3:1, 6:1 และ 10:1 ต่อโมล อีกทั้งไม่เกิดกลีเซอรอลในระบบ เนื่องจากสารผสมเมื่อสัมผัสกับแผ่นขนานระหว่างขั้วจะประพฤติตัวเป็นฉนวนทำให้พลาสมาที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยลงจึงทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้น้อย แต่ระบบจ่ายไฟที่สร้างขึ้นนี้สามารถก่อให้เกิดพลาสมาได้จริง | - |
dc.description.abstractalternative | Biodiesel production from used vegetable oil was studied using the electroplate barrier discharge plasma reactor with an atomizing nozzle. The study was divided into two parts. The first part was to create the power supply system to generate plasma, which can supply high voltage up to 15 kV and current up to 100 mA with adjustable frequency in the range 20 – 20,000 Hz. The system consisted of a signal generator, a signal amplifier, a step-up transformer and 5 neon sign transformers connected in parallel. The constructed system can generate plasma at atmospheric pressure. The second part was to use the constructed power supply system to generate plasma to assist the transesterification reaction. The studied methanol : vegetable oil molar ratio was in the range 3:1 – 10:1. The vegetable oil volume was 100 ml. The reaction was performed at room temperature. A peristaltic pump was used for circulation. The cathode-anode gap was 3 mm. An atomizing nozzle was used to spray the methanol-oil mixture and the reaction time was 2 hours. It was found that the biodiesel yield was less than 1% for the three ratios (3:1, 6:1, and 10:1 by mol) and that no glycerol was present in the system. This is because when the methanol-oil mixture was in contact with the parallel plates, it behaved as an insulator, resulting in reduction of plasma generation and reduced reaction. However, it was shown that the constructed power supply system was able to successfully generate plasma. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1277 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | เชื้อเพลิงไบโอดีเซล | - |
dc.subject | ทรานเอสเทอริฟิเคชัน | - |
dc.subject | Biodiesel fuels | - |
dc.subject | Transesterification | - |
dc.subject.classification | Engineering | - |
dc.title | การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วโดยใช้เครื่องไดอิเล็คทริคแบร์ริเออร์ดิสชาร์ตพลาสมาแบบหัวฉีดละออง | - |
dc.title.alternative | Biodiesel production from used vegetable oil using dielectric barrier discharge plasma reactor with atomizing nozzle | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมนิวเคลียร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.keyword | ไบโอดีเซล | - |
dc.subject.keyword | ไดอิเล็กทริคแบริเออร์ดิสชาร์จพลาสมา | - |
dc.subject.keyword | Power supply system | - |
dc.subject.keyword | ปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน | - |
dc.subject.keyword | Dielectric barrier discharge plasma | - |
dc.subject.keyword | Transesterification | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.1277 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6070402821.pdf | 2.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.