Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61829
Title: | การผลิตเอทานอลจากกากตะกอนน้ำเสียโรงงานเยื่อกระดาษโดยเอนไซม์เซลลูเลสและยีสต์ |
Other Titles: | Ethanol production from pulp mill wastewater sludge by cellulase enzyme and yeast |
Authors: | กุลชาดา สง่าสินธุ |
Email: | ไม่มีข้อมูล |
Advisors: | เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Petchporn.C@Chula.ac.th,petchporn.c@gmail.com |
Subjects: | เชื้อเพลิงเอทานอล เยื่อกระดาษ Ethanol as fuel Wood-pulp |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้กากตะกอนเยื่อกระดาษเพื่อการผลิตเอทานอล โดยทำการทดลองหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างเอนไซม์เซลลูเลสกับกากตะกอนเยื่อกระดาษเพื่อการผลิตน้ำตาลซึ่งใช้เป็นสับสเตรท หรือ สารตั้งต้นในการผลิตเอทานอล จากผลการวิเคราะห์กากตะกอนเยื่อกระดาษพบปริมาณโฮโลเซลลูโลส อัลฟาเซลลูโลส เบต้าเซลลูโลส แกมมาเซลลูโลสและลิกนิน เท่ากับ 73.3, 67.1, 4.7, 1.4 และ 6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลการทดลองหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างเอนไซม์เซลลูเลสกับกากตะกอนเยื่อกระดาษพบว่า ที่อัตราส่วน 1:15 ให้ผลผลิตน้ำตาลสูงสุดเท่ากับ 33.99 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ในวันที่ 6 ของการทดลองจากการทดลองทั้งหมด 7 วัน ทดลองโดยใช้อัตราส่วนที่เหมาะสมมาใช้เพื่อการผลิตเอทา-นอลแบบรวมปฏิกิริยาเปรียบเทียบกับการผลิตเอทานอลแบบแยกปฏิกิริยา ผลการทดลองพบว่าการผลิตเอทานอลแบบรวมปฏิกิริยาให้ผลผลิตเอทานอลที่สูงกว่าการผลิตเอทานอลแบบแยกปฏิกิริยา การผลิตเอทานอลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามระยะเวลา และพบว่าให้ผลผลิตเอทานอลแบบรวมปฏิกิริยาสูงสุดเท่ากับ 7.26 กรัม/ลิตร ในวันที่ 7 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการทดลอง เมื่อการผลิตเอทานอลถูกขยายขนาดโดยทำการทดลองในถังหมักขนาด 5 ลิตร โดยใช้อัตราส่วนที่เหมาะสมและเพิ่มระยะเวลาในกระบวนการหมัก ผลการทดลองพบว่า สามารถผลิตเอทานอลได้สูงสุดเท่ากับ 9.15 กรัม/ลิตร ผลการทดลองแสดงให้เห็นได้ว่าเซลลูโลสจากกากตะกอนเยื่อกระดาษสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลเพื่อเป็นทางเลือกของการผลิตพลังงานในอนาคตได้ |
Other Abstract: | The objective of this study aimed to evaluate the potential of pulp mill wastewater sludge as substrate for ethanol production. The experiment was carried out in order to determine the appropriate proportion between the cellulase and the pulp mill wastewater sludge for sugar production. The pulp mill wastewater sludge has an average content of 73.3% holocellulose, 67.1% alpha cellulose, 4.7% beta cellulose and 1.4% gamma cellulose and 6% lignin. The experiment was investigated at various proportions of cellulase and pulp mill wastewater sludge. The results indicated that the highest sugar production volume was at the proportions of 1:15 (ml of enzyme/gram of dried sludge) which gave the maximum amount of sugar 33.99 mg/ml on the 6th day of the total 7 days. This proportion was then applied to the ethanol production under simultaneous saccharification and fermentation compared with the separated saccharification and fermentation process. The results indicated that the simultaneous saccharification and fermentation gave ethanol volume more than the separated saccharification and fermentation process. The ethanol volume was likely to increase with time and the maximum volume was at 7.26 g/l on the 7th day, the last day of the experiment. The ethanol production was scaled up to 5 L fermentor under optimum proportion and increased the fermentation period. It was found that the ethanol production gave the maximum volume of 9.15 g/l. These results showed that the cellulose from pulp mill wastewater sludge was as effective raw material for ethanol production and alternative energy for the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61829 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5170226521_2553.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.