Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62002
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติของนักศึกษาวิชาทหารในกรุงเทพมหานคร ต่อการเรียนวิชารักษาดินแดน กับมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย |
Other Titles: | Relationship between attitude towards learning territorial deffence of the reserve officer training students in Bangkok Metropolis and their concepts of citizenship within a democratic system |
Authors: | พิษณุ โชติวงษ์ |
Advisors: | ประคอง กรรณสูต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ทัศนคติ -- การวัด หน้าที่พลเมือง การฝึกวิชาทหาร การศึกษาวิชาการทหาร |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติของนักศึกษาวิชาทหารต่อการเรียนวิชารักษาดินแดนกับมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชารักษาดินแดน และเปรียบเทียบมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย ระหว่างนักศึกษาวิชาทหารชายและหญิง ตัวอย่างประชากรทั้งหมด 520 คน เป็นนักศึกษาวิชาทหารชาย 261 คน นักศึกษาวิชาทหารหญิง 259 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชารักษาดินแดน ซึ่งผู้วิจัยสร้างตามมาตราวัดเจตคติใช้สเกลตามแบบของลิเคอท และใช้แบบวัดมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยของ วารี แสนสุข ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้นำแบบวัดทั้งสองชุดไปทดสอบนักศึกษาวิชาทหารที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง แล้วนำผลที่ได้มาตรวจและวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการเรียนวิชารักษาดินแดน กับมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดีของนักศึกษาวิชาทหาร โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การเปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชารักษาดินแดน และการเปรียบเทียบมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดี ระหว่างนักศึกษาวิชาทหารชายและหญิง ใช้วิธีทดสอบความแตกต่างของค่ามัชฌิมเลขคณิต ชนิดข้อมูลที่ตัวอย่างประชากรไม่สัมพันธ์กัน โดยการทดสอบค่าสถิติที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. เจตคติต่อการเรียนวิชารักษาดินแดนของนักศึกษาวิชาทหารมีความสัมพันธ์ทางบวก กับมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rₓᵧ = 0.3327) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถทำนายได้ประมาณร้อยละ 11 เจตคติต่อการเรียนวิชารักษาดินแดนของนักศึกษาวิชาทหารชาย และนักศึกษาวิชาทหารหญิง มีความสัมพันธ์ทางบวก กับมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rₓᵧ = 0.3940 และ 0.2096 ตามลำดับ) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทั้งสองดังกล่าว สามารถทำนายได้ประมาณร้อยละ 15 และร้อยละ 4 ตามลำดับ 2. นักศึกษาวิชาทหารหญิงมีเจตคติต่อการเรียนวิชารักษาดินแดน ดีกว่านักศึกษาวิชาทหารชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. นักศึกษาวิชาทหารยิงมีมโนทัศน์ความเป็นพลเมืองดี ดีกว่านักศึกษาวิชาทหารชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Other Abstract: | This research was conducted to study the relationships between attitude towards learning territorial defense of the reserve officer training students and their concepts of citizenship within a democratic system, to compare the attitude towards learning territorial defence and the concept of citizenship between male and female students. The total samples were 520 reserve officer training students, 261 male students and 259 female students. The attitude test was developed by using the likert Type Scales and the conceptual test used in Valee Sansuk’s study. The collected data were statistically tested in separated sex by using t-test. The correlation coefficient between the attitude scores and the concept scores of the reserve officer training students was calculated by using Pearson’s Method. The findings are as follows: 1. The attitude towards learning territorial defence of the reserve officer training students had significantly positive correlation with the concepts of citizenship (r rxy = 0.3327), and its percentage of predictabitity was about 11.00. The attitude towards learning territorial defence of the male students and female students had significantly positive correlation with the concepts of citizenship (rxy = 0.3940 and 0.1096), and their percentage of predictability were about 15.00 and 4.00 respectively. 2. The female students had significantly higher positive attitude towards learning territorial defence than the male students. 3. The females students had significantly higher possive concepts of citizenship than the male students. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62002 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.188 |
ISBN: | 9745676454 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1987.188 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pisanu_Ch_front.pdf | 300.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisanu_Ch_ch1.pdf | 317.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisanu_Ch_ch2.pdf | 892.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisanu_Ch_ch3.pdf | 246.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisanu_Ch_ch4.pdf | 235.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisanu_Ch_ch5.pdf | 331.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pisanu_Ch_back.pdf | 638.95 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.