Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62271
Title: ลักษณะของนิสิตหอพักจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Characteristics of Chulalongkorn University resident students
Authors: วิภา พงษ์พิจิตร
Advisors: สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- นักศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- หอพัก
หอพัก
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะของนิสิตหอพักจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะของนิสิตหอพักจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีภูมิหลังต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกคนที่พักอาศัยอยู่ในหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2528 รวมทั้งสิ้น 893 คน จำแนกเป็นนิสิตชาย 433 คน และนิสิตหญิง 460 คน ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจลักษณะของนิสิตหอพักซึ่งดัดแปลงและสร้างขึ้นใหม่ มี 4 ด้าน คือ ด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความเอื้อเฟื้อ และด้านความมีวินัยในตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลได้คำนวณหาค่าตัวกลางเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การกระจาย วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางและทดสอบภายหลังด้วยวิธีของเชฟเฟ ข้อค้นพบมีดังนี้คือ 1. ลักษณะของนิสิตหอพักจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1.1 นิสิตหอพักโดยส่วนรวมรับรู้ว่าตนเองมีมนุษยสัมพันธ์และความรับผิดชอบอยู่ในระดับสูง ส่วนความเอื้อเฟื้อและความมีวินัยในตนเองมีอยู่ในระดับปานกลาง 1.2 ทั้งนิสิตชายและนิสิตหญิงรับรู้ว่าตนเองมีมนุษยสัมพันธ์และความรับผิดชอบอยู่ในระดับสูง ส่วนความเอื้อเฟื้อและความมีวินัยในตนเองมีอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นนิสิตหญิงรับรู้ว่ามีวินัยในตนเองอยู่ในระดับสูง 1.3 นิสิตหอพักที่พักอยู่ในหอพักด้วยระยะเวลาที่ต่างกันรับรู้ว่าตนเองมีมนุษยสัมพันธ์และความรับผิดชอบอยู่ในระดับสูง ส่วนความเอื้อเฟื้อและความมีวินัยในตนเองมีอยู่ในระดับปานกลาง 1.4 นิสิตหอพักที่ศึกษาต่างคณะกันรับรู้ว่าตนเองมีมนุษยสัมพันธ์และความรับผิดชอบอยู่ในระดับสูง ยกเว้นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพียงคณะเดียวที่รับรู้ว่าตนเองมีอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความเอื้อเฟื้อและความมีวินัยในตนเองมีอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากคณะนิเทศศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ และแพทยศาสตร์ ที่รับรู้ว่าตนเองมีวินัยในตนเองอยู่ในระดับสูง 1.5 นิสิตหอพักที่มีภูมิลำเนาต่างกัน รับรู้ว่าตนเองมีมนุษยสัมพันธ์และความรับผิดชอบอยู่ในระดับสูง ส่วนความเอื้อเฟื้อและความมีวินัยในตนเองมีอยู่ในระดับปานกลางยกเว้นนิสิตหอพักที่อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกที่รับรู้ว่าตนเองมีวินัยในตนเองอยู่ในระดับสูง 1.6 นิสิตหอพักที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวต่างกันรับรู้ว่าตนเองมีมนุษยสัมพันธ์และความรับผิดชอบอยู่ในระดับสูง ส่วนความเอื้อเฟื้อและความมีวินัยในตนเองมีอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นนิสิตหอพักที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวอยู่ในระดับต่ำรับรู้ว่าตนเองมีวินัยในตนเองอยู่ในระดับสูง 2. ผลการเปรียบเทียบลักษณะของนิสิตหอพัก พบว่า 2.1 ความแตกต่างของการรับรู้ตนเอง ด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ ด้านความรับผิดชอบ และด้านความมีวินัยในตนเอง ระหว่างนิสิตชายและนิสิตหญิง ไม่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่พักอยู่ในหอพัก คณะที่ศึกษา ภูมิลำเนา และฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว 2.2 นิสิตหญิงรับรู้ว่าตนเองมีมนุษยสัมพันธ์ มีความรับผิดชอบ และมีวินัยในตนเองมากกว่านิสิตชาย ส่วนด้านความเอื้อเฟื้อการรับรู้ไม่แตกต่างกัน 2.3 นิสิตหอพักที่มีภูมิหลังต่างกันในเรื่อง ระยะเวลาที่พักอยู่ในหอพัก คณะที่ศึกษา ภูมิลำเนา และฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว รับรู้ว่าตนเองมีมนุษยสัมพันธ์ ความเอื้อเฟื้อ และความรับผิดชอบไม่แตกต่างกัน ยกเว้นนิสิตหอพักที่มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกรับรู้ว่าตนเองมีความรับผิดชอบมากกว่านิสิตหอพักที่อยู่ภาคกลาง 2.4 นิสิตหอพักที่มีภูมิหลังแตกต่างกันในเรื่อง คณะที่ศึกษา ภูมิลำเนา และฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว รับรู้ว่าตนเองมีวินัยในตนเองแตกต่างกัน โดยนิสิตหอพักที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวอยู่ในระดับต่ำรับรู้ว่าตนเองมีวินัยในตนเองมากกว่านิสิตหอพักที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวอยู่ในระดับสูง ส่วนนิสิตหอพักที่อยู่หอพักในระยะเวลาที่ต่างกันรับรู้ว่าตนเองมีวินัยในตนเองไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purposes of this research were to study the Chulalongkorn University resident student’s characteristics and to compare these characteristics according to their different backgrounds. The samples included 433 male and 460 female students who stay at the university dormitory during the second semester of the academic year 1985. The data were collected by the questionnaire which was developed by the researcher and composed of 4 main parts: human relationship, responsibility, altruism, and self-discipline. The arithmetic mean, the standard deviation, the coefficient of variation and the two-way analysis of variance with the Scheffe’s post hoc were used to analyzed the data. The findings were us follow : 1. For C.U. resident students’ characteristics: 1.1 All students perceived their human relationship and responsibility at high level while altruism and self-discipline at moderate level. 1.2 Both male and female students perceived their human relationship and responsibility at high level while altruism and self-discipline at moderate level but male perceived their self-discipline at [high] level. 1.3 The students who stayed at the dormitory for different periods perceived their human relationship and responsibility at high level while altruism and responsibility at moderate level. 1.4 The students from the faculty of architecture perceived their human relationship and responsibility at moderate level but students from the others perceived them at high level. The students from the Faculty of Communication Arts, Fine and Applied Arts, Economics, Pharmacy, Veterinary Science and Medicine perceived their self-discipline at high level but the other perceived their altruism and self-discipline at moderate level. 1.5 The students with different domicile perceived their human relationship and responsibility at high level while altruism at moderate level. For self-discipline, almost student, except from the East and the Northeast who perceived it at high level, perceived it at moderate level. 1.6 The students from different socio-economic status perceived their human relationship and responsibility at high level while altruism at moderate level. For self-discipline, the students with low socio-economic status perceived it at high level but the others perceived it at moderate level. 2. The characteristics comparisons: 2.1 For human relationship, responsibility altruism, and self-discip[l]ine, the differences of male and female perceptions did not depend on the length of residence, faculties, domicile, nor socio-economic status. 2.2 Female students perceived their human relationship, responsibility and self-discipline at higher than male students but no significant difference in altruism. 2.3 For human relationship, responsibility, and altruism, no significant differences existed among the perceptions of students with different length of residence, faculties, domicile and socio-economic status. But for responsibility, the Eastern and Northeastern students’ perceptions were higher than the students from the central part. 2.4 For self-discipline, significant differences existed among the perceptions of students with different faculties, domicile, and socio-economic status: the students with low socio-economic status perceived their self discipline at higher than the ones with high socio-economic status, and the students who stayed at the dormitory for different period perceived their self-discipline at the same level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62271
ISBN: 9745672491
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vipar_po_front.pdf8.03 MBAdobe PDFView/Open
Vipar_po_ch1.pdf6.2 MBAdobe PDFView/Open
Vipar_po_ch2.pdf15.35 MBAdobe PDFView/Open
Vipar_po_ch3.pdf6.43 MBAdobe PDFView/Open
Vipar_po_ch4.pdf10.09 MBAdobe PDFView/Open
Vipar_po_ch5.pdf6.14 MBAdobe PDFView/Open
Vipar_po_back.pdf17.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.