Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62285
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นงนิตย์ ศิริโภคากิจ | - |
dc.contributor.author | ศรีสุภา สหชัยเสรี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2019-06-26T09:05:51Z | - |
dc.date.available | 2019-06-26T09:05:51Z | - |
dc.date.issued | 2524 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62285 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยาลัยเอกชนได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มของผู้ที่เห็นความสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นระดับการศึกษาที่รัฐยังไม่สามารถให้ได้บริการเพียงพอกับความต้องการ แม้ว่าจะมีมหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแล้วก็ตาม แต่วิทยาลัยเอกชนยังคงเป็นที่ต้องการอย่างมาก วิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ที่จะประสิทธิประสาทวิชาความรู้แก่นักศึกษาโดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์ทางก้านการค้าแต่ประการใด แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องอาศัยกำไรเพื่อความอยู่รอด วิทยาลัยเอกชนจึงสามารถมองในแง่ธุรกิจที่ให้บริการทางด้านการศึกษาแก่สังคมและสามารพใช้ทฤษฎีทางการตลาดในแง่องค์การที่ไม่แสวงหากำไร (Marketing for Non Profit Organization) การที่จะใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเข้ามาช่วยก็เพราะวิทยาลัยเอกชนมีการแข่งขันมากขึ้น จึงจำเป็นอยู่เองที่วิทยาลัยเอกชนจะต้องมีการปรับปรุงอยู่เสมอ การกำหนดนโยบาย การวางแผน ตลอดจนการดำเนินงานภายในวิทยาลัยเอกชนสามารถใช้แนวความคิดที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Societal Marketing Concept) และวิทยาลัยเอกชนก็ได้ใช้แนวความคิดนี้มาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ (Product) คือ การจัดการศึกษา และทางด้านราคา (Price) คือการเก็บค่าเล่าเรียนซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดเพื่อปรับปรุงให้เข้ากับตลาดแต่ละส่วน (Market Segmentation) การจัดการศึกษาจะให้ได้มาตรฐานที่ดีจะต้องประกอบด้วย ผู้ให้และผู้รับ ผู้ให้คือความพร้อมทางด้านคณาจารย์ การบริหารงานและปัจจัยอื่นๆ เช่น บรรยากาศทางวิชาการ ห้องสมุด อาคารสถานที่ ตลอดจนอุปกรณ์การศึกษา ยังไม่พร้อมนัก ทั้งนี้เพราะต้องอาศัยเงินทุนสูง และวิทยาลัยเอกชนต้องหาเงินให้ได้เพียงพอ ทางด้านผู้รับ (Customer) คือตัวนักศึกษา แม้ว่านักศึกษาในวิทยาลัยเอกชนจะเป็นนักศึกษาที่เหลือจากการคัดเลือกจากสถาบันอุดมศึกษาปิดของรัฐ แต่ก็ยังมีความรู้ ความสามารถศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถหางานและศึกษาต่อในระดับปริญญาโทได้ จึงนับว่าการจัดการศึกษาในวิทยาลัยเอกชนประสบความสำเร็จพอควร การเก็บค่าเล่าเรียนจากนักศึกษาวิทยาลัยเอกชน ส่วนใหญ่คำนึงถึงตลาดและเศรษฐกิจ เพราะการเก็บค่าเล่าเรียนในอัตราที่ยุติธรรม และการจัดการศึกษาที่ได้มาตรฐานจะช่วยสร้างภาพพจน์และชื่อเสียง (Promotion) ของวิทยาลัยเอกชนโดยทางอ้อมโดยผ่านสื่อต่างๆ คือ ตัวบุคคลไม่ว่าจะเป็น นักศึกษา ผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่นๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง (Place) และการคมนาคมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญน้อยที่สุดของกลยุทธ์ทางการตลาดในการดำเนินงานในวิทยาลัยเอกชน เพื่อที่จะให้ได้ส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ที่ต้องการ ต้องมีการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสม การเรียนการสอนในวิทยาลัยเอกชน นับว่าประสบความสำเร็จพอควรในระยะแรกนี้และในระยะต่อไปต้องมีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางการตลาด และมีส่วนผสมทางการตลาดที่เหมาะสม ก็คาดว่าในอนาคตวิทยาลัยเอกชนจะสามารถเจริญได้ถึงขั้นที่ต้องการ คือการขยายเป็นมหาวิทยาลัยและขยายการให้การศึกษาในระดับปริญญาโทได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการควบคุมดูแลและนโยบายของทบวงมหาวิทยาลัยด้วย นโยบายของทบวงมหาวิทยาลัยด้วย ในการจัดการศึกษาวิทยาลัยเอกชนในแง่การตลาด (Marketing Management) วิทยาลัยจะต้องมีความสัมพันธ์อันดีกับทบวงมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพราะทบวงมหาวิทยาลัยเป็นตัวแทนของรัฐในอันที่จะควบคุมดูแลวิทยาลัยเอกชนในการดำเนินงานอย่างถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้ ปัญหาที่เกิดขึ้นควรจะได้มีการปรึกษาหารือกันเพื่อความเข้าใจและเพื่อแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปด้วยดี วิทยาลัยเอกชนสามารถใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการดำเนินงานได้โดยยึดถือแนวความคิดที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ก่อให้เกิดประโยชน์ในการบริหารงานในวิทยาลัย และเพื่อการแข่งขัน โดยเฉพาะเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศ | en_US |
dc.description.abstractalternative | Private colleges have been established by groups of individuals who realize the significant roles of under-graduate education which the government could not sufficiently provide. Al though an open university, Ramkhamhaeng, has been founded, private colleges are still in great demand. Private colleges have emphasized their goals in providing education to their students. Though does not seen to maximize profit, it does have to maintain adequate returns in order to continue growing. Consequently, private colleges can be viewed as a kind of educational institute and an organization at the same time. They can exercise theory of marketing for non profit organization. The reason marketing strategy has been utilized is due to more competition among private colleges. As a result, private colleges need to develop themselves all the time. Objective, planning and administration in private colleges can be based on societal marketing concept and private colleges have applied this concept with their product i.e., education management, and with their price, i.e., tuition fee which is the most important factor, in order to adapt themselves to market segmentation. Standard education management should be one of 2-way communication. The giver is standardized by its staff readiness, administration and other factors, for example, academic atmosphere, libraries, facilities, including teaching aids. Private colleges in general have high quality teaching staff. However other factors, i.e., library facilities and teaching aids do not adequately meet students demand. This is due to high cost. Private college customers or students are sently those who have already tried the state universities entrance examination but could not past it due to limited seats and high competition. These students however are able to learn and complete their studies. The graduates from private colleges are well accepted in the job market some of them enter state graduate schools. It can be assumed that college education administration is satisfactorily successful. The rate of tuition fee in private colleges is mostly based on the market and the economy. A season able rate of tuition fee and standard education management will indirectly promote goodwill of private colleges through media, i.e., individuals like students and their parents or persons concerned. Location and transportation are the least important factor of marketing strategy in administrating private colleges. In order to get the needed market share, appropriate marketing strategy must be used. At this first, teaching and learning in private colleges can be considered successful. In the future, the existing problems need to be solved by utilizing education management which complies with marketing strategy and which has proper marketing mix. It is expected that, in the future, private colleges will become full – fledged universities. However, this must be under the control and the policy of the Office of University Affairs. Concerning the administration of private colleges in connection with marketing management, private colleges need to have good relationship with the Office of University Affairs is considered the state representative who control private colleges to properly administer in accordance with the certain Acts. Any existing problems should be discussed for mutual understanding and possible solutions. Private colleges can utilize the society marketing concept which will be beneficial to their administration competition and especially to the state higher education. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สถาบันอุดมศึกษาเอกชน | en_US |
dc.title | การใช้กลยุทธทางการตลาดในการดำเนินงานของวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | Application of marketing strategy to the operation of private colleges in Bangkok Metropolis | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | บริหารธุรกิจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Srisupa_Sa_front.pdf | 432.77 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisupa_Sa_ch1.pdf | 356.55 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisupa_Sa_ch2.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisupa_Sa_ch3.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisupa_Sa_ch4.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisupa_Sa_ch5.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisupa_Sa_ch6.pdf | 736.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisupa_Sa_back.pdf | 5.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.