Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62510
Title: รัฐและอุดมการในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (2500-2506)
Other Titles: State and ideology in the field Marshal Sarit Regime (1957-1963)
Authors: ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา
Advisors: ฉัตรทิพย์ นาถสุภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สฤษดิ์ ธนะรัชต์, จอมพล, 2451-2506
รัฐ
ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2500-2506
ศักดินา -- ไทย
ทุนนิยม
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชนชั้นศักดินาซึ่งเป็นชนชั้นครอบงำเหนือโครงสร้างเศรษฐกิจ-สังคมไทย ภายใต้ วิถีการผลิตแบบศักดินา สามารถกุมอำนาจรัฐได้อย่างเด็ดขาดตลอดมานับแต่มีการก่อตัวทางชนชั้นและการสถาปนารัฐขึ้นจากชุมชนบุพกาล โดยการอ้างความเป็นเจ้าของที่ดินทั่วประเทศมาขูดรีดแรงงานและผลผลิตส่วนเกินจากชนชั้นไพร่-ทาส โดยอาศัยอุดมการณ์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดความยอมรับและยอมจำนนเป็นเครื่องสนับสนุน ประกอบกับการที่ชุมชนหมู่บ้านซึ่งเป็นหน่วยผลิตสำคัญของสังคมศักดินาไทย สามารถดำรงตนอยู่ได้ด้วยการผลิตแบบพอยังชีพ ทำให้ไม่เกิดการแบ่งงานกันทำระหว่างชุมชนหมู่บ้าน ผลก็คือการค้าไม่อาจพัฒนาขึ้นได้ และการค้ากับต่างประเทศก็ถูกผูกขาดไว้กับชนชั้นศักดินา ดังนั้นการก่อตัวของชนชั้นกฎุมพีในสังคมศักดินาไทยจึงถูกจำกัดอย่างมาก เป็นเหตุให้ชนชั้นศักดินาสามารถกุมอำนาจรัฐได้อย่างเด็ดขาดโดยปราศจากการท้าทายจากชนชั้นอื่นๆ ในสังคมอย่างมีผล แม้จะมีการช่วงชิงราชบัลลังก์ให้เห็นอยู่ไม่น้อยในประวัติศาสตร์ไทย แต่ทว่าการช่วงชิงอำนาจรัฐดังกล่าวถูกจำกัดไว้เฉพาะในหมู่ชนชั้นศักดินาเท่านั้น จึงไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบศักดินา กระทั่งการแทรกตัวของจักรวรรดินิยมตะวันตกในช่วงปลายของรัตนโกสินทร์ตอนต้นอำนาจรัฐของชนชั้นศักดินาจึงเริ่มสั่นคลอน จักรวรรดินิยมซึ่งมีอำนาจทั้งทางทหารและเศรษฐกิจที่เข้มแข็งเป็นฐานรองรับ สามารถใช้อิทธิพลข่มขู่จนเป็นผลให้ชนชั้นปกครองไทยจำต้องดัดแปลงกลไกรัฐบางส่วนให้เกิดประโยชน์ต่อจักรวรรดินิยม พร้อมกับการเข้ามาของจักรวรรดินิยมความคิดแบบเสรีนิยมก็ได้ก่อตัวขึ้นและเริ่มปฏิเสธและท้าทายอุดมการศักดินาดั้งเดิม แม้จะมีการปรับโครงสร้างอำนาจครั้งใหญ่ของชนชั้นปกครองศักดินา แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงได้ ในที่สุดชนชั้นศักดินาก็ได้ถูกถอนออกจากอำนาจรัฐเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แต่คณะราษฏรซึ่งเข้ายึดอำนาจรัฐไว้ได้นั้น สมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนในระบบราชการ ไร้ฐานะทางชนชั้นเศรษฐกิจที่แน่นอน คณะราษฎรต่อต้านทั้งศักดินา กฎุมพีไทยเชื้อสายจีน และจักรวรรดินิยมโดยอาศัยระบบราชการเป็นฐานอำนาจ ขณะเดียวกันก็พยายามสร้างฐานทาเศรษฐกิจของตนเองโดยการสถาปนาระบบทุนนิยมโดยรัฐขึ้น รัฐประหารปี 2490 เป็นการยุติบทบาทของคณะราษฎรลง กลุ่มนายทหารบกสามารถเข้ากุมอำนาจรัฐไว้ได้ โดยมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้นำ แม้คณะผู้ปกครองชุดนี้จะยังคงรักษาระบบทุนนิยมโดยรัฐไว้ แต่ก็ได้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ขึ้นสองประการสำคัญคือ กลุ่มทหารซึ่งกุมกลไกรัฐส่วนสำคัญบางส่วนไว้ได้หันไปดำเนินธุรกิจอย่างจริงจังและสถาปนาตนเองขึ้นเป็น “นายทุน-ขุนศึก” ขณะเดียวกันอเมริกาก็ได้พยายามที่จะเข้ามาผลักดันให้ไทยปรับโครงสร้างของสังคมให้เป็นทุนนิยม กระทั่งปี 2500 กลุ่มนายทุน—ขุนศึก ภายใต้การนำของจอมพลสกฤษดิ์ ธนะรัชต์ สามารถทำรัฐประหารโค่นอำนาจรัฐของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และกลุ่มนายทุน-ขุนศึกซอยราชครูลงได้ หลังจากนั้นหนึ่งปีก็ได้มีการสมคบกับสหรัฐอเมริการสถาปนาอำนาจรัฐเผด็จการขึ้น ปรับกลไกรัฐให้รองรับการแสวงหาผลประโยชน์ของกลุ่ม “นายทุน-ขุนศึก” และวางรากฐานให้กับการลงทุนของนักลงทุนไทยและต่างชาติในระยะยาว อุดมการที่ถูกสร้างขึ้นในยุคนี้มีเป้าหมายเพียงให้ยอมรับอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของรัฐภายใต้การนำของจอมพลสฤษด์ ธนะรัชต์ แม้จอมพลสฤษดิ์ จะถึงอสัญกรรมในปี 2506 แต่อำนาจรัฐยังคงตกอยู่กับ “นายทุน-ขุนศึก” กลุ่ม “ถนอม-ประภาส” อีก เป็นเวลานานถึง 10 ปี กระทั่งเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จึงสามารถถอดถอน “นายทุน-ขุนศึก” ออกจากการกุมอำนาจรัฐอย่างเด็ดขาดได้ และเป็นช่วงที่นายทุนสามารถเข้าสู่อำนาจรัฐได้อย่างจริงจังเป็นครั้งแรก โดยอาศัยระบบรัฐสภา
Other Abstract: The Sakdina class played the dominant position in the Thai socio-economic formation through the Sakdina mode of production. It had maintained its dominant role by not only controling over land and labour and surplus appropriation, but also by the ideoloty which made the people submissive. Moreover, production units, sush as villages, were self-sufficient; therefore, the process of division of labour and trade could not develop. The so called “foreign trade” were monopolized by the Sakdina group so that the bourgeois class could not develop enough to play are important role in the society. Thus, the Sakdina class could maintain its absolute power without any challenge from other classes. Contraditions were within its own class. As a consequence, there was no change in Sakdina relations of production. In 1855 the Sakdina class was challenged by the Western powers backed by their military and economic power. Facing the threat of western powers, the Thai ruling class had to adjust itself to respond to the western interests. Along with the western economic powers, the liberal ideology peretrated the Thai Society and that new ideology began to challenge the existing Sakdina ideology. Although the ruling class had been aware of this trend and tried to “reform” the social structure, but they could not resist the change. On June 24, 1932 the absolute monarchy was overthrown by Khana Rasadorn. Members of Khana Rasadorn mostly consisted of bureaucrats who did not belong to any of the economic classes. By utilizing bureaucratic system, Khana Rasadorn resigted, the Sakina group, the Chinese bourgeoisie and slso imperialism. At the same time they tried to build up their economic base by establishing state capitalism. The Coup d’Etat in 1947 terminated the roles of Khana Rasadorn, The army group, led by Marshall P. Pibulsongkram, seized the power. Though, there was attempt to maintain state capitalism system, but some of the armed-group began to seriously run business by themselves and later on, they became a so-called “militarist capitalists” Parallel to this, the United states tried to push the Thai ruling class to reform the social structure to correspond with capitalism. Up to 1957, the “militarist capitalist” group, led by Marshall Sarit Dhanaratch, made a coup and overthrew Marshall P.Pubulsongkram and the Ratchakru group. After that, there had been a smooth collaboration between the Thai ruling class and the United States. The dictatorial state was established. Social reformation was arranged to respond to capitalism as well as the ruling class interests. Investment promotion policy was put as the national policy in order to attract foreign investors. Ideology by that time was created only to support Sarit’s dictatorial regime. Though Sarit was dead in 1963, his dictatorial state still persisted for ten years afterward under the control of Thanom-Prapas, another militarist capitalist group. The absolute dictatorial regime of Thanom-Prapas was overthrown by the 14 October 1973 uprising. From then on, the real capitalists could play more important and direct roles in polities. They came to power though the election process.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62510
ISBN: 9745621269
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakdina_ch_front_p.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open
Sakdina_ch_ch1_p.pdf7.91 MBAdobe PDFView/Open
Sakdina_ch_ch2_p.pdf25.13 MBAdobe PDFView/Open
Sakdina_ch_ch3_p.pdf24.13 MBAdobe PDFView/Open
Sakdina_ch_ch4_p.pdf28.48 MBAdobe PDFView/Open
Sakdina_ch_ch5_p.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open
Sakdina_ch_back_p.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.