Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6252
Title: การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บแบบมีส่วนร่วม ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง สำหรับบุคลากรขององค์กรธุรกิจ
Other Titles: A development of the participatory Web-based training model based on a self-directed learning approach for business corporation staff
Authors: รังสรรค์ สุกันทา
Advisors: อาชัญญา รัตนอุบล
อมรวิชช์ นาครทรรพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Archanya.R@Chula.ac.th
Amornwich.N@chula.ac.th
Subjects: การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง
การเรียนรู้ของผู้ใหญ่
การศึกษาผู้ใหญ่
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บแบบมีส่วนร่วม ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสำหรับบุคลากรขององค์กรธุรกิจ และเพื่อทดลองใช้และประเมินรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้น การทดลองใช้ได้ใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรขององค์กรธุรกิจที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน ได้ทดลองฝึกอบรมผ่านเว็บตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. การศึกษาสภาพการจัดการฝึกอบรมผ่านเว็บ พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้มากที่สุดคือ การเรียนรู้ที่มีวิทยากรเป็นผู้สอนและการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง องค์กรธุรกิจได้ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการทำงานในองค์ธุรกิจ การติดตามข้อมูลข่าวสาร การฝึกอบรมทักษะและการเรียนรู้อิสระตามที่สนใจ ตามลำดับ 2. การออกแบบและพัฒนาโครงการฝึกอบรมผ่านเว็บพบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิได้ประเมินเว็บไซต์การฝึกอบรมผ่านเว็บโดยรวมคุณภาพในระดับมาก และแนะนำให้ปรับปรุงในเรื่องสี ตัวอักษรและกิจกรรมเชิงโต้ตอบ 3. การทดลองใช้โครงการฝึกอบรมผ่านเว็บพบว่า กลุ่มทดลองที่มีความสามารถระดับกลางและระดับต่ำ มีผลสัมฤทธิ์ พฤติกรรมการเรียนส่วนใหญ่ และความพึงพอใจด้านการมีส่วนร่วมในขั้นการออกแบบและขั้นการพัฒนา สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การวิเคราะห์ปัจจัยและปัญหาจากการทดลองใช้โครงการฝึกอบรมผ่านเว็บพบว่า ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ผู้เรียนเห็นคุณค่าและสนใจการฝึกอบรม ระบบของการฝึกอบรมผ่านเว็บได้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการฝึกอบรมทุกขั้นตอน และวิทยากรสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน สำหรับปัญหาสำคัญ ได้แก่ ผู้เรียนมีข้อจำกัดเรื่องเวลาและปัญหาเฉพาะบุคคล ผู้สอนตอบสนองกลับช้า และระบบของเว็บไซต์ขัดข้องทางเทคนิคบางช่วง 5. รูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บแบบมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 2 ส่วน คื อ 1) องค์ประกอบของการฝึกอบรมผ่านเว็บ 12 องค์ประกอบ 2) การมีส่วนร่วมของผู้เรียนในกระบวนการฝึกอบรมผ่านเว็บทั้ง 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นการออกแบบ ขั้นการพัฒนา ขั้นการนำไปใช้และการประเมินผล จากผลการทดลองใช้รูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บแบบมีส่วนร่วม ได้สนับสนุนให้ผู้เรียนซึ่งเป็นบุคลากรขององค์กรธุรกิจเกิดการพัฒนาทักษะ และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง โดยผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ผ่านทางเว็บไซต์อื่นๆ อ่านหนังสือ ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในที่ทำงาน บางคนได้ศึกษาเพิ่มเติมจากหลักสูตรที่เปิดสอนแบบชั้นเรียนปกติ และผู้เรียนยังเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องต่อไป แม้ว่าสิ้นสุดการฝึกอบรมผ่านเว็บแล้ว
Other Abstract: To develop the participatory web-based training model (PWBT) based on a self-directed learning approach for business corporation staff and to implement and evaluate the model. The model was implemented with the quasi-experiment. The volunteered samples were 40 business corporation staffs. They were divided into 2 groups that were experimental group and control group, 20 members for each. The subjects participated in the developed WBT program for 6 weeks. The research findings were as follows: 1. In the content analysis of WBT web sites, the most popular learning types were instructor-led learning and self-directed learning. Business organizations used Internet/Intranet for business activities, information updating, skill training, and independent learning. 2. At the design and development phase of the WBT program, the experts evaluated the quality of the WBT web site at a high level and suggested that the web site should be improved in color, letter size, and an interactive activity respectively. 3. The implementation of the developed WBT program indicated that the experimental group with the medium and low scores had higher significant of achievement, the most of learning behaviors and the satisfactions in design and development participation than those in the control group at the .05 level. 4. In the analysis of factors and problems found in the implementation of WBT program, the important factors were learners' interest in the training, WBT system that allowed learners participate throughout the process, and the instructor's roles in facilitating and motivating the learners. On the contrary, the main problems were time constraints and personal problems, delayed feedback from the instructor, and technical problems of WBT server system. 5. The model comprised of two parts. 1) PWBT consisted of 12 components. 2) Learner participated in 3 steps of PWBT: design, development, and implementation with evaluation. According to the results of the implementation, PWBT supported skills and attitudes towards self-directed learning among learners, who were business corporation staffs. The learners acquired knowledge through other web sites, reading, and advice from experts in their workplace. Some learners furthered their skills by attending the courses. Learners continued their own learning with regard to their interest although they had completed the WBT course.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6252
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.872
ISBN: 9741740514
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.872
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungson.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.