Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62625
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมน พฤติกรรม และโครงสร้างทางสังคมของลิงหางยาวเพศเมียในที่จำกัดบริเวณ |
Other Titles: | Hormones and behaviours related to social organization of female macaca fascicularis in captivity |
Authors: | วิไลลักษณ์ ราชพิบูลย์ |
Advisors: | อุษณีย์ ยศยิ่งยวด |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ลิงหางยาวเพศเมีย -- พฤติกรรมในที่จำกัดบริเวณ |
Issue Date: | 2531 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ระดับฮอร์โมน (อีสตราไดออล โปรเจสเตอโรน และคอร์ติซอล) และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคมก่อนและหลังการสร้างกลุ่มทางสังคมของลิงเพศเมียปกติที่ไม่ได้ตัดรังไข่ จากหน่ายวิจัยไพรเมต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 4 ตัว อายุ 5-6 ปี น้ำหนัก 3-4.5 กิโลกรัม ขังไว้ด้วยกันในกรงขนาด 80 นิ้ว × 121 นิ้ว × 65 นิ้ว ได้ถูกติดตามและบันทึกไว้หลังจากมีการสร้างกลุ่มทางสังคม โดยใช้ทิศทางของพฤติกรรมก้าวร้าวระหว่างสมาชิกภายในกลุ่มเป็นเกณฑ์ตัดสิน พบว่าลิงเหล่านี้มีการจัดลำดับความสำคัญทางสังคมในลักษณะเป็นเส้นตรง และแสดงพฤติกรราทางสังคมในแต่ละระยะของวงจรการสืบพันธุ์ไม่แตกต่างกัน ลิงที่มีตำแหน่งทางสังคมสูงประจำเดือนจะขาดหายไปพร้อมกับระดับเฉลี่ยฮอร์โมน อีสตราไดออลและโปรเจสเตอโรนลดลง การประสบผลสำเร็จทางการสืบพันธุ์จึงต่ำลง ในขณะที่ลิงที่มีตำแหน่งทางสังคมต่ำสุดมีประจำเดือนสม่ำเสมอ อย่างไรก็ดี ในที่สุดลิงที่มีตำแหน่งทางสังคมสูงจะมีประจำเดือนกลับคืนสู่สภาพปกติ ระดับฮอร์โมนคอร์ดิซอลมิได้สะท้อนถึงตำแหน่งทางสังคมภายในกลุ่ม แต่สัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าวที่ได้รับ |
Other Abstract: | Hormone levels (oestradiol, progesterone and cortisol) and behaviours related to social organization before and after group formation, of four, 5 – 6 years old, 3 – 4.5 kilogram intact female monkeys, selected from Chulalongkorn Primate Center Colony, put together in a 80 inches x 121 inches x 65 inches cage, were monitored and recorded. After the group was established, these monkeys organized themselves in linear hierarchy, judging by direction of aggression among members of the group. Social behaviours performed by these monkeys were consistent through different stages of their menstrual cycles. During group formation dominant monkeys stopped menstruating with declining oestradiol and progesterone; so had lesser chance to reproduce while the lowest rank animal regularly menstruated. However they soon resumed their normal conditions. Cortisol levels did not reflect their positions in the group but closely related to the amount of aggression received. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สรีรวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62625 |
ISBN: | 9745695416 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wilailux_ra_front.pdf | 8.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wilailux_ra_ch1.pdf | 9.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wilailux_ra_ch2.pdf | 21.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wilailux_ra_ch3.pdf | 30.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wilailux_ra_ch4.pdf | 7.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wilailux_ra_back.pdf | 47.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.